สะท้อนความรู้จากหัวข้อ Perspective on health practice in occupational therapy during the COVID-19 pandemic


              จากการศึกษาเรียนรู้เรื่องการบำบัดรักษาผู้รับบริการผ่านระบบออนไลน์หรือ Telehealth โดยพี่แนน พี่กีรติ และพี่โม ดิฉันได้รับความรู้มากมายเกี่ยวกับการบำบัดรักษาผู้รับบริการด้วยระบบออนไลน์ ซึ่งเป็นการบำบัดรักษาที่สามารถเข้าถึงผู้รับบริการในยุค covid-19 ได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย  เนื่องจากการบำบัดรักษาด้วย Telehealth เป็นการบำบัดรักษาที่ผู้บำบัดและผู้รับบริการพบกันผ่านวิดีโอคอลซึ่งสามารถลดความเสี่ยงการติดเชื้อ covid-19 และยังมีข้อดีอื่นๆ เช่น สามารถลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง สามารถปรับยืดหยุ่นตารางการทำกิจกรรม สามารถสังเกตการทำกิจกรรมและพฤติกรรมของผู้รับบริการในสถานที่จริงได้ ทั้งนี้การบำบัดรักษาผ่านระบบออนไลน์ก็มีข้อจำกัดในการบำบัด เช่น ไม่สามารถประเมินผู้รับบริการแบบตัวต่อตัว สิ่งแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย ไม่มีอุปกรณ์หลากหลายเท่าที่คลินิก ซึ่งนักกิจกรรมบำบัดเองจึงต้องมีไหวพริบและมีความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำกิจกรรมได้ตามสถานการณ์จริง

               การบำบัดผ่าน Telehealth นั้นจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือจากผู้ปกครองหรือผู้ดูแลในบางกรณี เช่น เด็กเล็ก เด็กที่มีความต้องการพิเศษไม่สามารถควบคุมให้จดจ่อกับกิจกรรมหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือผู้รับบริการที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และการทำกิจกรรม Telehealth ผู้บำบัดสามารถให้คำปรึกษากับผู้ดูแล ซึ่งไม่ได้ให้กิจกรรมกับผู้รับบริการโดยตรงได้ และจะเห็นได้ว่าการที่จะให้การบำบัดรักษาได้สำเร็จและมีประสิทธิภาพ จำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือและการสละเวลาจากผู้ปกครองหรือผู้ดูแลผู้รับบริการ และจากการที่พี่แนนได้ยกตัวอย่างกรณีศึกษา ทำให้เห็นถึงการที่ผู้บำบัดได้บำบัดรักษาผู้รับบริการในบริบทจริง จะสามารถสังเกตการเลี้ยงดูการเข้าหาผู้รับบริการของผู้ปกครอง การทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การรับประทานอาหาร การแต่งตัว ซึ่งผู้บำบัดจะสามารถทราบถึงสาเหตุและปัญหาที่อาจเกิดจากตัวผู้ปกครองเองและสามารถที่จะแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด อีกทั้งหากที่บ้านมีต้นแบบการทำกิจกรรมที่ดีก็สามารถส่งเสริมให้ผู้รับบริการร่วมมือในการทำกิจกรรมอีกด้วย และจากที่ได้เรียนรู้จากพี่กีรติ ทำให้เห็นว่าการทำกิจกรรมผ่านสื่อออนไลน์ควรคำนึงถึงช่วงอายุของผู้รับบริการ รวมถึงพฤติกรรมเฉพาะของเด็กแต่ละคน จึงควรจัดตารางการทำกิจกรรมที่เหมาะสมตามช่วงวัย เช่น เด็กเล็กมีสมาธิจดจ่อสั้น การจัดกิจกรรมไม่ควรเกิน 15 นาทีต่อคาบ และการที่มีการเสริมแรงทางบวกหรือการให้รางวัล ก็สามารถเป็นแรงกระตุ้นให้ผู้รับบริการร่วมมือในการทำกิจกรรม นอกจากนี้ได้เรียนรู้ถึงการใช้ Tehealth ในชุมชน ดิฉันเห็นด้วยกับการใช้ application เพื่อให้สามารถสื่อสารระหว่างทีมสหวิชาชีพและผู้รับบริการได้สะดวก แต่ผู้รับบริการบางกลุ่มอาจจะขาดโอกาสการเข้าถึงเทคโนโลยี อันเนื่องด้วยฐานะทางเศรษฐกิจ ถิ่นทุรกันดาร ระบบเทคโนโลยีเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้าไม่ถึง การขาดความรู้ในเรื่องของการใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร ซึ่งก็เป็นข้อจำกัดในการให้รักษาผ่าน telehealth ดังนั้นแล้วจึงควรมีการลงพื้นที่ชุมชนเพื่อให้ความรู้ในเรื่องของการบำบัดรักษาผ่านเทคโนโลยีการสื่อสารก่อนในเบื้องต้น เช่น การสอนใช้โทรศัพท์ การสื่อสารผ่าน application ต่างๆ  เพื่อให้ชุมชนทราบและเข้าใจถึงวิธีการบำบัดรักษา ซึ่งหากการติดต่อสื่อสารและบำบัดรักษาเป็นผลสำเร็จ จะช่วยให้ผู้บำบัดเข้าถึงชุมชนห่างไกล และทุรกันดารได้มากขึ้น สามารถลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางเข้ามาในตัวเมืองได้

              ทั้งนี้การบำบัดด้วย Telehealth ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจในสถานการณ์การแพร่ระบาด covid-19 เนื่องจากผู้บำบัดและผู้รับบริการไม่สามารถมาพบกันตัวต่อตัวได้ การให้การบำบัดผ่านระบบออนไลน์จึงทำให้สามารถทำการบำบัดรักษาได้อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้จะมีข้อจำกัดอยู่บ้าง แต่ก็สามารถให้การรักษาอย่างมีประสิทธิภาพได้ด้วยเทคนิคและวิธีการทางกิจกรรมบำบัด ซึ่งสามารถปรับและพัฒนาการบำบัดรักษาต่อไปตามการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ต่างๆในปัจจุบัน

คำสำคัญ (Tags): #telehealthOT
หมายเลขบันทึก: 688383เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2021 20:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มกราคม 2021 23:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

จากการอ่านบทความนี้ เห็นด้วยที่กล่าวไว้ว่า การรักษาทางกิจกรรมบำบัดให้ได้ผลดีนั้น ในกรณีศึกษาจะเห็นว่าการให้ความร่วมมือและการเสียสละเวลาของผู้ปกครองหรือผู้ดูแล ส่งเสริมให้การบำบัดรักษาทางกิจกรรมบำบัดได้ผลดียิ่งขึ้น

ดิฉันเห็นด้วยในเรื่องที่กล่าวว่านักกิจกรรมบำบัดต้องมีไหวพริบและมีความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำกิจกรรมได้ตามสถานการณ์จริง และในเรื่องที่ว่าการที่จะให้การบำบัดรักษาได้สำเร็จและมีประสิทธิภาพ จำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือและการสละเวลาจากผู้ปกครองหรือผู้ดูแลผู้รับบริการ นอกจากนี้ยังเห็นด้วยที่ว่า Telehealth เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจในสถานการณ์ covid-19 ถึงแม้จะมีข้อจำกัดอยู่บ้าง แต่ก็สามารถให้การรักษาอย่างมีประสิทธิภาพได้ด้วยเทคนิคและวิธีการของนักกิจกรรมบำบัด

จากที่ได้อ่านบทความดิฉันเห็นด้วยที่การรักษาทางออนไลน์ก็มีข้อจำกัด คือ ไม่สามารถประเมินผู้รับบริการแบบตัวต่อตัวได้ สิ่งแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย ไม่มีอุปกรณ์หลายหลายเท่าท่ีคลินิก นักกิจกรรมบำบัดจึงต้องมีไหวพริบและมีความยืดหยุ่นในการปรับรูปแบบการทำกิจกรรม

ดิฉันเห็นด้วยกับการที่ผู้เขียนบอกว่าการทำ telehealth นั้นมีข้อจำกัดด้านเทคโนโลยี ปัญหาเศรษฐกิจ เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้าไม่ถึง การขาดความรู้ในเรื่องของการใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร ดังนั้นถ้าในกรณีที่ไม่มีปัญหาสถานการณ์โควิด แล้วอยากพัฒนาการทำ telehealth จึงควรมีการลงชุมชน เพื่อให้ความรู้ในเรื่องด้านการใช้เทคโนโลยี และประสานงานช่วยเหลือเบื้องต้น ช่วยให้ผู้บำบัดเข้าถึงชุมชนห่างไกล และทุรกันดารได้มากขึ้น สามารถลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท