สะท้อนการเรียนรู้ในหัวข้อ Perspective on Health Practice in Occupational Therapy โดย ณิชกานต์ 6123001


จากที่ได้เรียนรู้ในคาบออนไลน์ โดยนักกิจกรรมบำบัดทั้ง 3 ท่าน ทำให้เข้าใจเรื่องการใช้วิธีการบำบัดด้วย Telehealth โดยเป็นการใช้เทคโนโลยีมาช่วยเพื่อบำบัดรักษาทางไกล ซึ่งเหมาะสมกับสถานการณ์โรคระบาด COVID-19 ที่เราต้องเว้นระยะห่างในการใกล้ชิดกัน เพื่อลดความเสี่ยงในการติดโรค แต่ก่อนตอนที่ยังไม่เกิดโรคระบาดนี้ ตัวฉันยังไม่รู้จักTelehealth มาก่อน แต่ก็เคยสงสัยว่า เราจะมีวิธีการยังไงถ้าเกิดเหตุการณ์ที่ไม่สามารถบำบัดรักษาผู้บริการแบบเจอตัวได้ ซึ่งในคาบนี้อาจารย์ทุกคนก็ได้ให้คำตอบหมดแล้ว โดยจริงๆแล้วในต่างประเทศได้มีการใช้เทคนิคนี้มานาน โดยไม่ได้ใช้แค่ในวิชาชีพกิจกรรมบำบัดเท่านั้น วิชาชีพอื่นก็สามารถใช้ได้ และในประเทศไทยได้มีการเอาเทคนิคนี้มาใช้ในช่วงนี้ โดยเนื่องจากเป็นออนไลน์ เราจึงต้องคำนึงถึงความเป็นส่วนตัวข้อผู้บริการและตัวเราเอง จึงต้องมีการตกลงกันก่อนเริ่มบำบัด เช่น การขออนุญาตอัดคลิปเสียงหรืออัดการทำกิจกรรมกับผู้รับบริการ และความเราต้องสามารถคงความเป็นมืออาชีพได้แม้ว่าจะไม่ได้บำบัดรักษาที่คลีนิค โดยกิจกรรมบำบัดทางโทรศัพท์หรือการวิดิโอคอล จะถูกแบ่งเป็น
1.Parent coaching
2.Teletetherapy
3.Counselling
แต่นอกเหนือจากการรักษา เราสามารถประเมิน ตั้ง Goal จากการใช้ Telehealth ได้ด้วย
ซึ่งในคาบอาจารย์ได้บอกทั้งข้อดีข้อเสียของการใช้ประโยชน์จาก Telehealth หลังจากการฟังทำให้ฉันรู้สึกว่าด้านการสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญมากในการใช้วิธีนี้ เนื่องจากเราไม่สามารถสัมผัสหรือแสดงตัวอย่างที่ชัดเจนให้ผู้รับบริการดูได้ การอธิบายเพื่อให้ผู้รับบริการเข้าใจและทำตามได้อย่างถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญ เราจึงควรฝึกทักษะด้านการสื่อสารเพื่อใช้ในการปรับตัวให้เหมาะสมกับวิธีบำบัดฟื้นฟูในปัจจุบัน และเป็นเรื่องยากกับวิชาชีพอื่นที่ต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะในการรักษา และการประเมิน เช่น การใช้ Telemedicine ของแพทย์ ที่ไม่สามารถตรวจร่างกายผู้ป่วยได้ เช่น จากการฟังเสียงปอด เสียงหัวใจ ดูลำคอ และอื่นๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจ จึงจำเป็นต้องมีเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มเติมอีก เช่น TytoCare
- ฉันคิดว่านักกิจกรรมบำบัดสามารถทำ Telehealth ได้ โดยข้อจำกัดที่มีน้อย เนื่องจากการบำบัดฟื้นฟูของเราจะเน้นการใช้สิ่งของที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น การฝึกการหยิบจับโดยใช้ขวดน้ำ ลูกบอล กุญแจ หรือจะใช้กิจกรรมที่ทำในชีวิตประจำวันจริงๆในการบำบัดเลย เช่น การฝึกใส่เสื้อ ฝึกการตักอาหาร และสามารถให้การบ้านกับผู้รับบริการไปทำเองได้ แล้วติดตามดูผล แต่กิจกรรมบำบัดในเด็ก อาจจะต้องของความร่วมมือกับผู้ปกครองในการอยู่กับเด็กขณะทำกิจกรรมบำบัด ในกรณีที่เด็กมีช่วงความสนใจสั้น อยู่ไม่นิ่ง หรือต้องใช้การ Physical prompt เพื่อการเรียนรู้ และในการใช้Telehealth กับชุมชน จะช่วยทำให้วิชาชีพกิจกรรมบำบัดของเราเข้าถึงผู้รับบริการได้ง่ายขึ้น ประหยัดเวลา ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางอีกด้วย
และจากกการหาข้อมูลเพิ่มเติมจึงทำให้รู้ว่าในทางการแพทย์ Telemedicine มีอีกหลายรูปแบบได้แก่
-ระบบการให้คำปรึกษา : วินิจฉัยและสอบถามอาการกับผู้รับบริการผ่านกล้องวิดีโอ
-ระบบเฝ้าระวัง : เป็นการนำอุปกรณ์ตรวจวัดไปไว้ที่บ้านผู้รับบริการ
-ระบบการให้ข้อมูลสุขภาพ : ขอคำปรึกษา และสอบถามความรู้เรื่องสุขภาพออนไลน์กับแพทย์
-ระบบเรียนรู้ทางการแพทย์ : เป็นการเผยแพร่ข้อมูลความรู้และให้ผู้ที่สนใจมาค้นคว้าและศึกษาได้

และจากการเรียนทำให้เกิดความสงสัยว่าความแตกต่างของtelehealth และ telemedicine คืออะไร
ซึ่งฉันก็ได้หาคำตอบที่เข้าใจได้ลงในบทความนี้แล้ว คือ
telehealth เป็นแนวคิดที่กว้างกว่า telemedicine เนื่องจากเป็น ปรากฏการณ์ที่ให้ประโยชน์กับการให้ความรู้ด้านสุขภาพการวินิจฉัยการรักษาและการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพต่างๆ ส่วนTelemedicine นั้นกำหนดเพียง การใช้เทคโนโลยีเพื่อรักษาผู้ป่วย แต่ telehealth ยังให้บริการที่ไม่ใช่คลินิกเช่นการรณรงค์ด้านสุขภาพการฝึกอบรมด้านการจัดการการศึกษาด้านสุขภาพการเฝ้าระวัง ฯลฯ

สรุป “ telemedicine ทั้งหมดคือ telehealth แต่ไม่ใช่ telehealth ทั้งหมดคือ telemedicine “

สุดท้ายจากการเรียนในคาบทำให้ฉันรู้ว่า ยังมีอะไรอีกมากที่เรายังไม่รู้และต้องศึกษา พัฒนาตัวเองต่อไปเรื่อยๆ เพราะโลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งวิธีการบำบัดรักษา รวมถึงโรคใหม่ที่สามารถเกิดขึ้นได้ในอนาคต

-ขอขอบคุณอาจารย์ทุกท่านที่ให้ความรู้ตลอดคาบกิจกรรมบำบัดในชุมชน-

: ณิชกานต์ PTOT เลขที่ 1 6123001 :

หมายเลขบันทึก: 688382เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2021 20:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มกราคม 2021 20:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

จากที่ได้อ่านบทความข้างต้น ดิฉันเห็นด้วยกับความเห็นที่ว่า นักกิจกรรมบำบัดสามารถทำ telehealth ได้โดยข้อจำกัดที่มีน้อย ด้วยการปรับใช้อุปกรณ์ต่างๆในชีวิตประจำวันมาใช้เป็นอุปกรณ์การบำบัด ซึ่งสามารถลดข้อจำกัดเรื่องอุปกรณ์หรือเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีราคาสูง สามารถยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนกิจกรรมได้ตามความเหมาะสมและอุปกณ์ที่มีอยู่ ทำให้ผู้รับบริการสามารถเข้าถึงบริการทางกิจกรรมบำบัดได้โดยง่าย

จากที่ได้อ่านบทความข้างต้น ฉันรู้สึกเห็นด้วยกับเจ้าของบทความเรื่องการให้ความสำคัญกับการสื่อสารเพราะว่าเราไม่สามารถแสดงหรือจับมือผู้รับบริการในการทำการบำบัดได้ในการทำtelehealth ดังนั้นเราจึงควรมีทักษะด้านการสื่อสารเพื่ออธิบายให้ผู้รับบริการได้เข้าใจและทำการรักษาได้อย่างถูกวิธี รวมไปถึงเราจะต้องฝึกทักษะนี้เพื่อที่เราจะได้ปรับตัวให้เหมาะสมกับการบำบัดรักษาในปัจจุบัน

จากบทความข้างต้น ดิฉันเห็นด้วยในเรื่องประโยชน์ของการใช้Telehealth กับชุมชน เนื่องจากจะช่วยทำให้วิชาชีพกิจกรรมบำบัดของเราเข้าถึงผู้รับบริการได้ง่ายขึ้น ประหยัดเวลา ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง นอกจากนี้ดิฉันอยากขอเสริมความคิดเห็นเพิ่มเติม คือ การทำ Telehealth จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยและลดความเสี่ยงจากโรคติดต่อได้

จากการอ่านบทความข้างต้น ดิฉันเห็นด้วยในเรื่องของทักษะการสื่อสารที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการบำบัดผ่าน Telehealth เนื่องจากตัวผู้บำบัดจำเป็นต้องอธิบายและสื่อสารให้ผู้รับบริการเข้าใจถึงสิ่งที่จะต้องทำ วัตถุประสงค์ และผลที่เกิดตามมา และดิฉันคิดว่าทักษะการฟังอย่างตั้งใจก็ยังเป็นอีกทักษะนึงที่จำเป็นเช่นเดียวกัน เพื่อให้เกิดการเข้าใจและเข้าถึงข้อมูลที่ผู้รับบริการต้องการจะบอกแก่ผู้บำบัด

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท