มิตรภาพต่างสายพันธ์ุ


อ่านวันละนิด เพิ่มพลังความคิดให้สมอง

วิเคราะห์สารคดีเรื่องมิตรภาพต่างสายพันธุ์

      ผู้เขียนเรื่องมิตรภาพต่างสายพันธุ์ คือ ม.ล.ปริญญากร วรวรรณ และได้กล่าวถึงภาพสัตว์ป่า แทบจะเป็นคนเดียวที่ทำงานด้านนี้มาต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า ๒๐ ปี ซึ่งหนังสือเล่มนี้ผู้เขียนมีจุดประสงค์เพื่อที่จะได้นำเสนอชีวิตผู้เขียนที่อยู่กับป่ามานาน แต่ก่อนผู้เขียนเป็นลูกหลานอดีตพรานในเทือกเขาดงพญาเย็นเขาหักเหเปลี่ยนทัศนะคติ แทนที่จะจับปืนเช่นคนรุ่นบรรพบุรุษ แต่เขากลับมีอาวุธเป็นกล้อง ปรัชญาชีวิตเปลี่ยนวิธีคิดจากการล่ามาสู่การเล่า เล่าด้วยเรื่องและภาพ ซึ่งมั่นคงแล้วในเส้นทางของตนเอง ซึ่งการบรรยายนั้นสามารถทำให้ผู้อ่านได้เห็นถึงความเป็นอยู่ของคนและสัตว์ ได้เห็นมิตรภาพในการเดินทางระหว่างคนกับคน สัตว์กับสัตว์ และคนกับสัตว์ ที่ผู้เขียนได้บรรยายเรื่องราว ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้สะท้อนให้เห็นว่าผู้เขียนนั้นมีประสบการณ์อย่างมากในการนำเอาเรื่องราวมาสื่อให้ผู้อ่านได้คิดและสามารถเข้าถึงความเป็นธรรมชาติในเรื่องนี้ได้ ซึ่งสารคดีเรื่องมิตรภาพต่างสายพันธุ์จะมีหัวข้อในการวิเคราะห์ดังนี้

เนื้อหาเรื่องมิตรภาพต่างสายพันธุ์

          เนื้อหาหลักจะกล่าวถึง “ผม” ซึ่งบุคคลนี้จะแทนเป็นตัวของผู้เขียนที่ถ่ายทอดเรื่องราวหรือประสบการณ์ที่ผ่านมา ส่วนมากเรื่องมิตรภาพจะกล่าวถึงการออกสำรวจพื้นที่ป่าไม้ ได้เห็นการดำเนินชีวิตของสัตว์ป่า และยังได้เรียนรู้วิถีชีวิตของคนชนบท ซึ่งอยู่ห่างไกลจากเมือง ได้เรียนรู้ในการใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย   ซึ่งผู้เขียนนั้นต้องการถ่ายทอดประสบการณ์ที่ได้พบเห็นมา อาจจะมีทั้งความคิดเห็นของผู้เขียน และข้อเท็จจริงที่สามารถพิสูจน์ได้ จะยกตัวอย่างดังต่อไปนี้

ยกตัวอย่างความคิดเห็นมีดังต่อไปนี้

“ถ้านึกถึงนก คงต้องคิดถึงต้นไม้” ผู้เขียนได้กล่าวมานี้ เพราะว่านกส่วนใหญ่จะอยู่บนต้นไม้ แต่ก็ไม่แน่เสมอไป เพราะผู้เขียนได้บอกว่า “นกหลายชนิดเหมือนกันที่อาศัยในพื้นดิน” ทั้งนี้ทั้งนั้นเพราะนกต้องจัดการแมลงที่มีอยู่ทุกหนแห่ง ไม่ว่าจะอยู่ในอากาศ พื้นดิน หรือต้นไม้ ที่ผู้เขียนได้กล่าวเช่นนี้ เพราะอยากให้ผู้อ่านได้รู้เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของสิ่งมีชีวิต นกนั้นไม่จำเป็นที่จะอยู่ที่ใดที่หนึ่ง เพราะนกมันจะไม่อยู่กับที่ และชอบบินไปตามใจ และนกยังมั่นใจในความแข็งแรงของปีกมันอีกด้วย ซึ่งการกล่าวของผู้เขียนนั้นย่อมสื่อให้ผู้อ่านได้เห็นลักษณะ นิสัย ร่วมถึงการดำเนินชีวิตของสัตว์ปีก ที่เรียกว่านก

“เสียงร้องของนกเงือกหัวแรดมีสำเนียงคล้าย ๆ นกกกโดยเฉพาะตอนที่ตกใจหรือเตรียมขับไล่ผู้บุกรุก ตัวผู้ตัวเมียมักส่งเสียงดังสนั่น ทำให้ผู้ไม่คุ้นเคยตื่นตระหนกกับเสียงที่ได้ยิน” ที่ยกคำกล่าวนี้มาเพราะเป็นการบอกลักษณะของเสียงนก ที่อาจทำตื้นกลัวได้ ถือว่าข้อความนี้เป็นความคิดเห็นที่ผู้เขียนต้องการให้ผู้อ่านได้เรียนรู้สิ่งที่ไม่เคยพบเห็นหรือได้ยินมาก่อน ถือว่าเป็นข้อมูลใหม่ให้กับคนที่ยังไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับนกเงือก

          ยกตัวอย่างข้อเท็จจริงมีดังต่อไปนี้

          “เป็นเรื่องราวข่าวสาร ที่น่าสลด เพราะมีช้างถึงห้าตัวถูกฆ่าในป่า เป็นป่าที่ผู้คนรู้จักมาก และไม่สมความที่จะมีสัตว์ป่าถูกฆ่าในป่าซึ่งมีมาตรการเข้มงวดในการปราบปรามอย่างป่าห้วยขาแข้ง” ซึ่งจะเห็นได้ว่าเรื่องราวนี้เป็นเรื่องจริง เพราะสามารถตรวจสอบได้ เมื่อไปค้นดูข่าวที่เกิดขึ้นในป่าห้วยขาแข้ง สถานที่ป่าห้วยขาแข้งก็มีอยู่จริง และที่นั้นก็เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอย่างที่ผู้เขียนได้บรรยายไว้ เพราะฉนั้นแล้วเหตุการณ์นี้จึงน่าเชื่อถือ

          “ราวปี พ.ศ.๒๕๓๓ ผมเคยใช้เวลาอยู่ริมบึงน้ำ ซึ่งต้องเดินจากสำนักงานเขตไปสักหนึ่งชั่วโมง อยู่กว่าสองสัปดาห์ เพื่อเฝ้ารอนกเป็ดก่า นกน้ำอีกชนิดหนึ่งซึ่งไม่เคยมีใครพบเห็นมาเนิ่นนาน” การกล่าวที่มี พ.ศ. นั้นยอมน่าเชื่อถือ เพราะสามารถอ้างอิงได้ว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจริงเมื่อหลายปีที่ผ่านมา

กลวิธีการเขียน

          ในตอนแรกจะเปิดเรื่องโดยการบรรยายให้เห็นภาพพจน์ของธรรมชาติที่อยู่ล้อมรอบตัวผู้เขียน เพื่อให้ผู้อ่านเห็นถึงเหตุการณ์ที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอ ซึ่งการเปิดเรื่องเช่นนี้ผู้เขียนต้องการให้ผู้อ่านเพลิดเพลินตามเนื้อเรื่อง และสามารถจินตนาการถึงสิ่งที่ผู้เขียนต้องการสื่อให้ผู้อ่านเข้าใจ และยังได้สังเกตเห็นกลวิธีการเขียนที่ทำให้ผู้อ่านสามารถเข้าถึงประสบการณ์ที่ผู้เขียนได้พบเห็นและถ่ายทอดออกมาเป็นตัวหนังสือ ซึ่งการที่จะทำให้ผู้อ่านได้เห็นธรรมชาติที่ผู้เขียนต้องการสื่อนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายที่ทุกคนจะเข้าถึง แต่เมื่อได้อ่านเรื่องนี้แล้วถือว่าผู้เขียนมีความสามารถในการบรรยายเรื่องราวได้อย่างละเอียด และทำให้เนื้อหาของเรื่องน่าอ่านแล้วสนุก น่าสนใจ ชวนติดตาม และไม่น่าเบื่อ แต่สิ่งที่ควรปรับปรุงคือการดำเนินเรื่องในแต่ละสถานที่ ซึ่งการที่ผู้เขียนเปลี่ยนสถานที่ไปมา อาจทำให้ผู้อ่านสับสนได้ เพราะบางทีการบรรยายที่ในแต่ละเรื่องโดยที่สลับสถานที่ไปมา อาจทำให้ผู้อ่านรู้สึกเบื่อได้

          นอกจากการบรรยายให้เห็นภาพพจน์แล้ว ยังมีการสอดแทรกคำที่มีความหมายเชิงให้ข้อคิด เพื่อให้ผู้อ่านได้คิดวิเคราะห์ถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ผู้เขียนต้องการให้ผู้อ่านได้เห็นถึงมุมมองอีกมุมมองหนึ่งที่ผู้อ่านยังไม่สามารถเข้าถึงได้อย่างชัดเจน ผู้อ่านจึงต้องคิดวิเคราะห์ถึงคำที่ให้ข้อคิด จึงถือว่าผู้เขียนได้เห็นถึงความสำคัญที่ว่าเมื่อผู้อ่าน อ่านแล้วสามารถนำข้อคิดต่าง ๆ ไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวันได้ ยกตัวอย่างเช่น ในตอนที่ผู้เขียนได้อธิบายถึงเสือที่เล่นกับผีเสื้อ ซึ่งถ้าเป็นคนธรรมดาทั่วไปที่ไม่ได้รู้เกี่ยวกับเสือมากคงคิดว่าเสือเป็นสัตว์ที่ดุร้าย และเป็นอันตรายอย่างมากกลับมนุษย์ แต่ในอีกมุมหนึ่งที่ผู้เขียนได้สะท้อนให้เห็นคือ เสืออาจจะเป็นสัตว์ที่น่ากลัวก็จริง แต่เสือก็ไม่ได้เป็นนักล่า และฆ่าเหยื่อตลอดเวลา เสือจะเป็นสัตว์ที่ล่าเมื่อหิวเท่านั้น และเสือในมุมที่ผู้เขียนถ่ายทอดมานั้นเป็นมุมที่อ่อนโยนของเสือดาวตัวหนึ่งที่กำลังวิ่งเล่นไล่ผีเสื้อ ซึ่งในมุมนี้ผู้เขียนอาจจะสื่อได้ว่า สัตว์ทุกตัวย่อมมีความแตกต่าง และเราเองต้องหัดมองเขาจากข้างในจึงจะรู้ว่า ความเป็นจริงแล้วสัตว์ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่เราคิด และเสือก็ไม่ได้เป็นดั่งเช่นที่เรานิยามให้

          การปิดเรื่องของเรื่องนี้จะมีการเล่าถึงเหตุการณ์ในอดีตที่เคยผ่านมา ในการนำรถไปลุยในการสำรวจป่า หรือการเล่าถึงอดีตก่อนที่จะได้มาเป็นนักถ่ายภาพ ผู้เขียนได้ปิดเรื่องน่าสนใจเพราะผู้เขียนได้บรรยายให้ผู้อ่านได้เห็นถึงความมานะพยายามที่จะไปศึกษาสัตว์ป่า ซึ่งผู้เขียนยังทำให้ผู้อ่านได้เห็นถึงมิตรภาพที่แท้จริงของคนและสัตว์ ทำให้เห็นได้ว่าถึงคนและสัตว์จะสื่อสารกันไม่ได้ แต่มิตรภาพที่ดีก็เกิดขึ้นได้ เมื่อเราได้ศึกษาซึ่งกันและกัน ผู้เขียนก็ยังได้ทิ้งท้ายก่อนจะจบว่า “กล้องและรถทำให้ผมรู้จักชีวิต” ซึ่งคำนี้ถือว่าเป็นคำลงท้ายที่ทำให้ตอนจบดูมีคุณค่า และยังสร้างความประทับใจให้ผู้อ่าน

ทัศนะและมุมมอง

          ผู้เขียนต้องการจะกล่าวให้ผู้อ่านได้เห็นถึงชีวิตของสัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่า ซึ่งจะมีตัวอย่างดังต่อไปนี้ จะมีในตอนหนึ่งที่ผู้เขียนได้กล่าวถึงชายคนหนึ่งที่ชื่อ แบมุ มีอาชีพหานกขาย ซึ่งผู้เขียนได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า “การหานกมาขาย ถ้าพูดให้ถูกคงต้องพูดว่า มันเป็นวิธีการที่ง่ายดายจนกระทั่งเขาลืมความรู้สึกของความเป็นพ่อ ที่พ่อนกซึ่งออกไปหาอาหารด้วยความเหน็ดเหนื่อย และกลับมาพบกับโพรงอันว่างเปล่า” การกล่าวของผู้เขียนนั้น จะสอดแทรกน้ำเสียงที่เศร้า และเห็นใจ ยังสอดแทรกข้อคิดให้ผู้อ่านได้คิดตามและนำมาปรับเพื่อประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน

          ยังมีอีกตัวอย่างหนึ่ง ซึ่งผู้เขียนได้กล่าวไว้ว่า “เสือดาวนอนไล่งับผีเสื้อตัวหนึ่ง ไม่เพียงทำให้ผมได้เห็นภาพว่าขณะไม่ได้อยู่ในหน้าที่ นักล่าตัวหนึ่งเป็นเช่นไรเท่านั้น มันยังทำให้ผมเข้าใจได้มากขึ้นอีกด้วยว่า เราต่างล้วนมีชีวิตอยู่ภายในกรง และเป็นกรงที่เราสร้างมันขึ้นมาเอง” ซึ่งการกล่าวของผู้เขียนนั้นจะสอดแทรกน้ำเสียงที่เอ็นดู มีน้ำเสียงเหมือนประชด และยังสอดแทรกคำสอนเตือนไว้ว่า “เราต่างอยู่ภายในกรง และเป็นกรงที่เราสร้างขึ้นมาเอง” หรือเปรียบอีกอย่างหนึ่งอาจพูดได้ว่า “คนเราก็มักตีกรอบให้ชีวิต ซึ่งกรอบนั้นเราก็เป็นคนตีขึ้นมาเอง”

          ส่วนอีกเรื่องคือข้างหลังช้าง “เป็นเรื่องราวข่าวสาร ที่น่าสลด เพราะมีช้างถึงห้าตัวถูกฆ่าในป่า เป็นป่าที่ผู้คนรู้จักมาก และไม่สมความที่จะมีสัตว์ป่าถูกฆ่าในป่าซึ่งมีมาตรการเข้มงวดในการปราบปรามอย่างป่าห้วยขาแข้ง” ซึ่งข้อความนี้จะเห็นได้ว่าเมื่อผู้อ่านได้อ่านแล้วจะสัมผัสได้ถึงน้ำเสียงที่เศร้า สลด เวทนา และโกรธแค้น ในเหตุการที่ไม่คิดว่ามันจะเกิดขึ้นได้

ผู้เขียนก็ยังกล่าวถึงการดำเนินชีวิตของสัตว์ที่จะอยู่กับธรรมชาติ และได้แนะวิธีการที่จะอยู่ร่วมกับสัตว์เข้าใจความเป็นอยู่ของสัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่า เพราะการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติทำให้ผู้เขียนมองเห็นว่ามันมีความสุข และด้วยจิตสำนึกของคนรักป่า และเรียนรู้สัตว์ป่าจึงได้เห็นอีกมุมมองหนึ่งว่า คนเราไม่จำเป็นต้องมีมิตรภาพกับมนุษย์เพียงอย่างเดียว แต่คนเราย่อมมีมิตรภาพที่ดีให้กันไม่ว่าสิ่งมีชีวิตนั้นจะเป็นคนหรือสัตว์ก็ตาม

แนวคิดที่ได้จากเรื่อง

แม้ว่าสัตว์บางชนิดจะมีกรงเล็บที่แหลมคม มีรูปร่างที่ดุร้าย แต่ใครจะไปรู้ว่าพวกสัตว์ที่น่ากลัวนี้ จะมีมุมที่คนธรรมดาอาจไม่มองเห็น การที่ผู้เขียนเปรียบให้เห็นเช่นนี้เพราะผู้เขียนต้องการสื่อให้เห็นว่า ไม่ว่าคนหรือสัตว์ อย่ามองเขาที่ภายนอก เพราะบางทีเปลือกนอกก็ไม่อาจบ่งบอกได้ถึงนิสัย หรือที่เรียกกันว่าจิตใต้สำนึกที่คนและสัตว์ทุกตัวมีอยู่ หรือที่เคยมีคนสอนไว้ว่ามองอะไรจงมองให้ลึก และคิดพิจารณาให้ดี ก่อนที่จะตัดสินคนอื่น อย่ามองอะไรเพียงแค่ผิวเผิน

หมายเลขบันทึก: 688353เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2021 22:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มกราคม 2021 22:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท