ขวัญสงฆ์


เรื่อง : ขวัญสงฆ์

ผู้แต่ง : ชมัยภร แสงกระจ่าง

จำนวน ๑๕๙หน้า

            เด็กทารกคนหนึ่งถูกนำมาทิ้งอยู่หน้าวัด หลวงตาไปพบ จึงเก็บมาเลี้ยง โดยมีตายายช่วยกันเลี้ยง พร้อมตั้งชื่อให้ว่า ขวัญสงฆ์ ขวัญสงฆ์ถูกหลวงตาอบรมสั่งสอน ขัดเกลาจิตใจ ขวัญสงฆ์เป็นเด็กฉลาด แต่ขวัญสงฆ์มักจะหาเรื่องต่างๆและความวุ่นวาย มาให้หลวงตาอยู่เสมอ หลวงตาใช้วิธีการทำโทษด้วยการตี พอขวัญสงฆ์อายุได้๗ขวบ ครูใหญ่ได้มากราบและบอกกับหลวงตาว่า ขวัญสงฆ์ อายุ๗ขวบแล้วสมควรไปเล่าเรียน และขอให้ขวัญสงฆ์เข้ารับการศึกษา เพราะเห็นว่าขวัญสงฆ์เริ่มเติบโตพอที่จะเข้าโรงเรียนได้แล้ว ดังนั้นหลวงตาจึงให้ตากับยายพาขวัญสงฆ์เข้าเมืองไปซื้อชุดนักเรียน และเหตุการณ์ความวุ่นวายก็เกิดขึ้น เมื่อขวัญสงฆ์ อยากได้ของเล่น จึงใช้วิธีการขโมย หลวงตารู้แต่ไม่ทำโทษ เพราะให้ขวัญสงฆ์ได้สำนึกและยอมรับผิดเอง พอขวัญสงฆ์ยอมรับผิด หลังจากนั้นจึงให้นำของเล่นไปคืนเจ้าของร้าน และให้เจ้าของร้านทำโทษโดยการทำงานปัด กวาด เช็ด ถู เป็นเวลา๓ ชั่วโมง ขวัญสงฆ์ได้ทำของเล่นตกแตก จึงถูกเจ้าของร้านด่าด้วยคำไม่สุภาพ ขวัญสงฆ์กลัวและตกใจมากจึงวิ่งออกมา ทำให้หลงทางไปพบตาน้อม ตาน้อมสงสาร จึงชวนไปที่กระท่อมกลางทุ่งนาและหาข้าวปลาให้กิน หลังจากนั้นตาน้อมก็มาส่งขวัญสงฆ์ที่วัด พอถึงวันเปิดเรียนขวัญสงฆ์ได้ไปพบคุณครูสุดา รู้สึกถูกชะตา รักเหมือนแม่ จึงขอไปอยู่ด้วย ขวัญสงฆ์ไปอยู่กับครูสุดา และยามเช้าต้องมาเดินตามบาตรหลวงตาเช่นเคย ขวัญสงฆ์เติบโตมาโดยมีครูสุดาและหลวงตาเป็นผู้อบรมสั่งสอน อยู่มาวันหนึ่ง ครูสุดาได้แต่งงานกับครูสมเดช แต่ไม่นาน ครูสุดาได้มีลูกชาย ๑คน ชื่อแก้ว ด้วยความที่เป็นลูกคนแรก ครูสุดาจึงรักและถนุถนอม ทำให้ไม่ได้ใส่ใจขวัญสงฆ์เหมือนแต่ก่อน ขวัญสงฆ์พยายามเอาใจ เพื่อให้ครูสุดารักตนเหมือนแต่ก่อน ครูสุดาได้ออกไปทำธุระข้างนอก จึงฝากน้องแก้วไว้กับขวัญสงฆ์ แต่ขวัญสงฆ์มีสอบ จึงเอาน้องชายไปโรงเรียนด้วยเพื่อไปสอบ ระหว่างสอบน้องแก้ววิ่งซนไปทั่ว ทำให้ขวัญสงฆ์ออกจากห้องสอบมาแล้วหาไม่เจอ ครูสุดาโกรธมาก จึงไล่ขวัญสงฆ์ออกจากบ้าน ขวัญสงฆ์ได้กลับมาอยู่ที่วัดดังเดิม ตาน้อมที่เคยช่วยเหลือขวัญสงฆ์ได้เสียชีวิตลง ขวัญสงฆ์เด็กกตัญญูจึงบวชเณรหน้าศพ เพื่อตอบแทนพระคุณ แล้วไม่สึก หลวงตาจึงส่งให้ขวัญสงฆ์ไปเรียนธรรมะ เพื่อศึกษาหาความรู้ อยู่มาวันหนึ่งหลวงตาได้มรณภาพลง ขวัญสงฆ์ได้บวชเป็นพระ ซึ่งเป็นพระรูปงาม ใครๆเห็น ก็เป็นที่นับถือ กราบไหว้ ขวัญสงฆ์จึงตัดกิเลสโดยการออกธุดงค์ในป่าและศึกษาธรรมะเป็นเวลาหลายปี จึงกลับมาพัฒนาวัดที่ตนเคยอาศัยให้มีความรุ่งเรื่องดังเดิมที่อยู่กับหลวงตา

แนวคิด: คนเราเลือดเกิดไม่ได้ แต่เลือกที่จะทำในสิ่งต่างๆได้ ขึ้นอยู่กับตัวเราทั้งสิ้น! คนเราอาจเกิดมาจากครอบครัวที่ต่างกัน ต้นทุนชีวิตต่างกัน บางคนขาดการอบรมสั่งสอน และขัดเกลาจิตใจแต่ครอบครัวร่ำรวยเพียบพร้อมทุกอย่าง ก็ไม่ได้หมายความว่าคนๆนั้นจะเป็นคนดีเสมอไป แต่บางคนไม่มีต้นทุนอะไร เงินทอง ครอบครัวไม่มี แต่เมื่อได้รับการอบรมสั่งสอนและขัดเกลาจิตใจมาดี เราก็สามารถเติบใหญ่ในสังคม และเป็นคนดีได้

แสดงความคิดเห็น :หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่อ่านง่าย สนุก มีทำนองที่ไพเราะ ทำให้ผู้อ่านเกิดความประทับใจและเกิดอารมณ์คล้อยตาม ซึ่งเป็นการเล่าเรื่องผ่านตัวละครของเด็กน้อยผู้ไร้เดียงสา และซุกซนตามประสา ซึ่งกำพร้าพ่อและแม่ โดยมีหลวงตาเป็นผู้อบรมสั่งสอนให้เติบโตเป็นเด็กที่สามารถเอาตัวรอด เป็นคนดีในสังคมได้ และยังแฝงคุณธรรมและหลักธรรมของพระพุทธศาสนา ให้ผู้อ่านได้เข้าใจง่ายขึ้น

ประโยคที่ประทับใจ : “ได้สามขวบเจ้างามดั่งดวงแก้ว เจรจาเจื้อยแจ้วยินถนัด”

เพราะ: เห็นถึงการพัฒนาและกำลังเติบโตที่งดงามของเด็กชายคนหนึ่ง มันรู้สึกถึงความประทับใจของตายายและหลวงตาที่เลี้ยงดูเด็กคนนี้ได้จนเติบใหญ่ ในสังคม

หมายเลขบันทึก: 688344เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2021 18:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มกราคม 2021 18:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท