“ช่างสำราญ ชีวิตในโลกที่ถูกละเลย”


ปริทัศน์หนังสือ (Book Review)

วรรณกรรมรางวัลซีไรต์เรื่อง“ ช่างสำราญ”

เขียนโดย เดือนวาด พิมวนา

ปริทัศน์โดยดนยา รักวงษ์

             “ ช่างสำราญ” เป็นผลงานเขียนที่ได้รับรางวัลซีไรต์ประจำปี 2546 ประพันธ์โดย เดือนวาด พิมวนา หรือชื่อจริงว่า พิมใจ ชูกลิ่น ซึ่งเป็นนักเขียนที่มีผลงานมากมายหลายเรื่อง เช่น ผู้บรรลุ ช่างสำราญ และผลงานต่างๆอีกมาก ผลงานของเธอยังได้รับรางวัลหลายรางวัลเช่นเดียวกันนับว่าเป็นนักเขียนหญิงที่เก่งและมากความสามารถอีกคนหนึ่งในวงการนักเขียนเลยทีเดียว 

             หนังสือช่างสำราญเป็นวรรณกรรมที่เป็นการเขียนในลักษณะของเรื่องสั้นเป็นตอน ๆ ที่นำเสนออย่างต่อเนื่อง เรื่องราวในหนังสือช่างสำราญนี้ เป็นการนำเสนอผ่านตัวละครเด็กที่ชื่อ กำพล เด็กน้อยผู้ที่ต้องประสบพบเจอกับปัญหาต่างๆ มากมายอาทิเช่น สภาพครอบครัวความเป็นอยู่ ความรุนแรง การพนัน การเอารัดเอาเปรียบ ปัญหาด้านการศึกษาและความยากจนที่เด็กอย่างเขาต้องเจอ ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้สะท้อนปัญหาสังคมที่เริ่มจากจุดเล็ก ๆ ในสังคมคือสถาบันครอบครัวเมื่อครอบครัวแตกแยกพ่อแม่ทิ้งลูกให้กลายเป็นเด็กกำพร้าและเด็กกลายเป็นความรับผิดชอบของคนในสังคมในชีวิตของเด็กและความไร้เดียงสาก็ยังมีความหวังและยังคงเฝ้ารอคอยพ่อแม่ให้กลับมาหาเด็กชายกำพลใช้ชีวิตอย่างไม่มีใครมาบงการหรือถูกบังคับ แต่เด็กชายกำพลก็ไม่มีความสุขเท่ากับครั้งที่อยู่ด้วยกันพร้อมหน้าพ่อแม่ลูกเขามีความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจจากการถูกทอดทิ้งและถูกละเลยนอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงปัญหาสังคมของเด็กที่ขาดครอบครัวดูแลในสมัยนี้ได้ดีอีกด้วย

            ขณะเดียวกันเดือนวาดพิมวนายังสอดแทรกการวิพากษ์วิจารณ์สังคมลงไปในแต่ละตอนด้วยผู้เขียนแสดงนัยของเหตุการณ์เล็ก ๆ ไปสู่ปัญหาระดับใหญ่เพื่อสะท้อนให้เห็นปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นและธรรมชาติของสังคมที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของผู้คนในสังคมอย่างเห็นได้ชัด

          ลักษณะเด่นของเรื่องช่างสำราญคือสามารถอ่านแยกเป็นตอน ๆ ได้โดยไม่จำเป็นต้องอ่านต่อกันจนจบ เพราะแต่ละตอนรวบรัดจบสมบูรณ์เป็นเอกเทศในแต่ละตอนแล้ว“ ช่างสำราญจึงเป็นเหมือนกับการรวมเรื่องสั้นมากกว่าที่จะเป็นนวนิยายเพราะในความเป็นนวนิยาย“ ช่างสำราญ” ไม่มีโครงเรื่องที่เด่นชัดมี แต่โครงเรื่องรองที่ร้อยเรียงเข้าด้วยกันขาดการเรียงลำดับของเนื้อเรื่องเหตุการณ์ทั้งหมดจึงไม่มีจุดหมายอื่นใดร่วมกันนอกจากการรอคอยอย่างไม่สิ้นสุดของกำพลตอนจบของ“ ช่างสำราญ” เหมือนไม่จบคนอ่านจะรู้สึกเหมือนถูกทิ้งเช่นเดียวกับชีวิตของเด็กชายกำพลที่หมดความหวังไปเรื่อย ๆ ในสิ่งที่รอ แต่เรื่องนี้ก็ข้อคิดในหลาย ๆ เรื่องอยู่ไม่น้อยอย่างเช่นการเรียนรู้ที่จะเติบโตด้วยตัวเองการใช้ชีวิตในสังคมซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้และอยู่ในสังคมโดยพึ่งพาตนเองได้เหมือนกับเด็กชายกำพลในเรื่องช่างสำราญ

          หนังสือช่างสำราญเล่มนี้ถือว่าเป็นอีกหนึ่งในหนังสือที่ดีอีกเล่มที่เด็กและเยาวชนทุกเพศทุกวัยควรอ่านเพื่อจะได้นำไปเป็นแนวทางในการใช้ชีวิตและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมและแก้ไขปัญหาต่างๆได้อย่างมีความสุข

หมายเลขบันทึก: 688341เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2021 17:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มกราคม 2021 17:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท