Binyalima
Binyalima น.สธ. การียา Binyalima ยือแร

สัญญานเตือน Covid-19 จากมาเลเซีย (ตอนที่ 1)


ทำไม สถานการณ์การระบาดโควิด-19 ในมาเลเซีย มีการระบาดอย่างรวดเร็ว

มาเลเซีย ประสบกับการระบาดของโควิด-19 มาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่พบชายชาวมาเลเซียวัย 41 ปี มีผลทดสอบเชื้อไวรัสเป็นบวกเมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2563 ซึ่งเขาได้เข้าร่วมการประชุมในสิงคโปร์เมื่อเดือนมกราคม 2563 และกลายเป็นผู้ป่วยชาวมาเลเซียคนแรกที่มีผลทดสอบเป็นบวกทันทีที่เดินทางกลับมายังมาเลเซีย 

ปัจจุบันสถานการณ์การระบาด ยิ่งส่อเค้าทวีความรุนแรงขึ้นทุกวัน พบผู้ป่วย และผูป่วยเสียชีวิต ทุกวัน   ข้อมูล ณ วันที่ 11 มกราคม 2564 มีจำนวนผู้ป่วยสะสม 138,224 ราย เสียชีวิตสะสม 555 ราย ปัจจุบัน มีผู้ป่วยรักษาในห้อง ICU จำนวน 187 ราย ผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ จำนวน 87 ราย และมีผู้ป่วยที่อยู่ในระหว่างการรักษา อีกไม่น้อยกว่า 29,000 ราย

ทำไม สถานการณ์การระบาดโควิด-19 ในมาเลเซีย มีการระบาดอย่างรวดเร็ว

กระทรวงสาธารณสุขมาเลเซีย ได้สรุปบทเรียนสำคัญเกี่ยวการระบาดอย่างรวดเร็ว ไว้ ดังนี้

1.สภาพการทำงานในสำนักงานต่าง ๆ ละเลย การสวมหน้ากากอนามัยในสำนักงาน เนื่องจาก มีความชะล่าใจ คิดว่า เป็นเพื่อร่วมงาน น่าจะไม่เป็นไร

2.สภาพการคบหาสมาคม กันในชุมชน ชะล่าใจ เพราะคิดว่า เป็นเพื่อนสนิทกัน ไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรการ เสมือน โดยปฏิบัติเสมือนสถานการณ์ปกติ

3. สภาพการปฏิสัมพันธ์กันระหว่าง ญาติ พี่น้อง มีความชะล่าใจ เพราะคิดว่า เป็นญาติกัน มาหา สู่กัน ตามปกติ โดยละเลยมาตรการที่กำหนด

นี่คือ พฤติกรรมหลัก ๆ ที่ก่อให้เกิดการระบาดของโควิด-19 ในมาเลเซียอย่างรวดเร็ว โดยไม่มีวี่แววว่าจะสงบลงในเร็ววัน อาจเป็นเพราะ มีการระบาดของโควิด-19 มาอย่างยาวนาน จนทำให้ ประชาชน รู้สึกล้า ที่จะปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันของภาครัฐอย่างเคร่งครัด และนี่คงเป็นบทเรียนหนึ่งของประเทศไทย ที่ควรนำมาทบทวนอย่างจริงจัง หากต้องเผชิญกับการระบาดของโควิด-19 อย่างยืดเยื้อ

หมายเลขบันทึก: 688287เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2021 13:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มกราคม 2021 14:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท