ดนตรีคลาสสิค คอนแชร์โต้ Concerto


คอนแชร์โต้ Concerto เป็นดนตรีที่ใช้วงดุริยางค์ขนาดใหญ่ (Orchestra) บรรเลง เช่นเดียวกับซิมโฟนี

คอนแชร์โต้ ต่างจากซิมโฟนี ตรงที่คอนแชร์โต้ มี3ท่อน (movements) ส่วนซิมโฟนีมี4ท่อน (movements)

คอนแชร์โต้ มีผู้บรรเลงดนตรีนำ ถ้าเป็นเปียโน เรียกว่า Piano Concerto

ถ้าผู้บรรเลงดนตรีนำเป็นไวโอลิน เรียกว่า Violin Concerto

นอกจากนี้ยังมี Cello Concerto, Oboe Concerto, Clarinet Concerto, Horn Concerto

วงดุริยางค์จะบรรเลงคลอ ประสานเสียงพร้อมกันไปกับผู้เล่นนำ

อาจมีบางช่วง มีการบรรเลงแทรก โต้ตอบ ในช่วงผู้บรรเลงนำหยุด

Mozart - Piano Concerto No. 24 in C minor (1786)

วงดุริยางค์รอยัลฟิลฮาร์โมนิคแห่งกรุงลอนดอน บรรเลง

André Previn วาทยกรและเล่นเปียโน (33:39 นาที)
https://youtu.be/4hdoIip0zkA

มีเรื่องเล่ากันว่า

ปี1787 บีโธเฟนเดินทางจากกรุงบอนน์ ไปกรุงเวียนนา เพื่อฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของโมสาร์ท

โมสาร์ท ให้บีโธเฟนแสดงฝีมือ

บีโธเฟนได้เล่นเพลง Piano Concerto No. 24 in C minor ของโมสาร์ท

เล่นได้สักครู่ ยังไม่ทันจบ โมสาร์ทก็ขัดขี้นว่า ไม่เอาเพลงนี้ ใครๆก็เล่นได้ ขอเป็นเพลงอื่นที่เธอเล่นได้ดีที่สุด

หลังจากบีโธเฟนได้เล่นเพลง ซึ่งไม่ได้บันทึกว่าเป็นเพลงใด โมสาร์ทก็ยินดีรับไว้เป็นศิษย์ และเอ่ยปากชมว่ามีแววเป็นนักดนตรีมีชื่อเสียง

บีโธเฟนอยู่ที่เวียนนา ได้2-3 สัปดาห์ ก็ต้องเดินทางกลับเมืองบอนน์ เนื่องจากมารดาป่วยหนัก

บีโธเฟนเดินทางมาที่เวียนนาอีกครั้ง เมื่อพฤศจิกายน 1792 เมื่อโมสาร์ทได้สิ้นชีวิตไปแล้ว

Beethoven - Piano Concerto No.3 (1803)

เพลงที่ได้รับแรงบันดาลใจจาก Mozart's Piano Concerto No. 24 in C minor

Alfred Brendel เปียโน

Lucerne Festival Orchestra บรรเลง Claudio Abbado วาทยกร (38:32 นาที)
https://youtu.be/-Tm0Phjiouk

Tchaikovsky Piano Concerto No.1 (1888)

Daniel Barenboim เปียโน วงดุริยางค์มิวนิคฟิลฮาร์โมนิค บรรเลง (43:23 นาที)

https://youtu.be/yYOOoba2zvU

Freddy Martin นักแต่งเพลงชาวอเมริกัน นำมาดัดแปลงเป็นเพลงTonight We Love

Caterina Valente ขับร้อง (แผ่นเสียงปี1959) (2:54 นาที)

https://youtu.be/tgJfo3Wv9z4

Tchaikovsky - Violin Concerto in D major, Op 35 (1878)

Joshua Bell ไวโอลิน วงดุริยางค์เยาวชนแห่งสหรัฐอเมริกา บรรเลง (36:28 นาที)

https://youtu.be/cbJZeNlrYKg

พ.ศ.2495 (ค.ศ.1952) สุทิน เทศารักษ์  นำมาดัดแปลงทำนองเป็นเพลงม่านไทรย้อย ไสล ไกรเลิศ แต่งคำร้อง

เพ็ญศรี พุ่มชูศรี ขับร้อง (3:51 นาที)

https://youtu.be/q1Z1lD3_9Qg

ม่านไทรย้อย เดี่ยวไวโอลิน (3:58 นาที)

https://youtu.be/bgjLJA8C9DM

Mendelssohn - Violin Concerto in E minor, Op. 64 (1844) (28:59 นาที)

https://youtu.be/K67o86CS5uo&t=14s

เป็นบทเพลงบรรเลงถวาย ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ณ สุสานโกลเดอร์สกรีน (Golders Green) ซึ่งอยู่ทางเหนือของกรุงลอนดอน 3 มิถุนายน พ.ศ. 2484 (ค.ศ.1941)

Rachmaninov - Piano Concerto No. 2 (1901) (41:55 นาที)

https://youtu.be/tSvq_GnGfTI

ปี 1945 Buddy Kaye และTed Mossman นักแต่งเพลงชาวอเมริกัน นำเพลง Rachmaninov Piano Concerto No. 2 ท่อน3 มาดัดแปลงเป็นเพลง Full Moon and Empty Arms

Frank Sinatra ขับร้อง(3:10 นาที)

https://youtu.be/dKsdCtsRczY

Caterina Valente ขับร้อง (2:40 นาที)

https://youtu.be/6P74Vl2CZGo

หมายเลขบันทึก: 688251เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2021 21:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มกราคม 2021 21:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท