พุทธเศรษฐศาสตร์ : การลงทุนที่ "พอ" และ "ดี"


เมื่อจิตใจเราพอเพียง เศรษฐนั้นภายนอกนั้นย่อมเพียงพอ เมื่อเราไม่หวัง ทุกอย่างก็ "พอ" และ" ดี" อยู่ที่ภายในจิตใจของเรา...

คนให้เกิดมาเป็นมนุษย์ถือว่าเป็นผู้ที่ประเสริฐ "มนุษย์คือผู้ให้ ผู้เสียสละ"

เรามีร่างกายก็เพื่อนำร่างกายนั้นมาทำความดี เพื่อเสียสละ 

มีภาษา มีวาจา ก็เพื่อพูดในสิ่งที่ดี ๆ พูดเพราะ พูดสุภาพ พูดเพื่อให้กำลังใจซึ่งกันและกัน

ส่วนจิตใจนั้นเป็นสิ่งที่ประภัสสร แต่ด้วยกิเลสที่จรเข้ามาทำให้กายและวาจาของเราแสดงออกถึงความอยากได้ อยากมี อยากเป็น ดำเนินชีวิตเป็นไปด้วยความเห็นแก่ตัว 

จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว...

จิตเป็นนามธรรม ไม่มีตัวไม่มีตน การพัฒนาจิตใจเราต้องมาพัฒนาที่กาย พัฒนาที่คำพูด

กายดี คือทำความดี เสียสละ 

วาจาดี คือ พูดเพราะ พูดสุภาพ พูดให้กำลังใจซึ่งกันและกัน

เมื่อกายดี วาจาดี จิตใจเราย่อมดี เพราะเรามีน้ำที่สะอาดมาชะล้างความเศร้าหมองแห่งจิตใจ

หากเราทำไม่ดี พูดไม่ดี ก็เปรียบเสมือนเพิ่มเมฆหมอก เพิ่มความเศร้าหมองที่มาครอบครัวพื้นที่ของจิตใจ

การชำระสิ่งสกปรกต้องใช้น้ำที่สะอาด ฉันใด 

การชำระจิตใจที่เศร้าหมอง ต้องใช้การกระทำดี วาจาดี เป็นเครื่องชะล้าง ฉันนั้น

พุทธเศรษฐศาสตร์ เป็นศาสตร์แห่งการให้ การเสียสละ

นำร่างกายมาทำความดีให้แก่กันและกัน

นำความรู้ความสามารถมาทำประโยชน์ให้ส่วนรวม

นำคำพูด ภาษา วาจา มาสื่อสารให้คนที่ได้รับฟังเกิดความสุขใจ สบายใจ

หากสังคมเรามีแต่การให้แต่สิ่งที่ดี ๆ ชีวิตของเรานี้ย่อมพบกับความสุขที่แท้จริง...

การลงทุนเพื่อทำสิ่งใด ๆ หากจิตใจของเรามุ่งการให้เป็นเบื้องต้นโดยไม่หวังผลอะไรตอบแทน จิตใจของผู้ลงทุนนั้นย่อมมีความสุข

เราจะผลิตสินค้าก็ดี ให้บริการก็ดี หากเรามุ่งหวังให้ผู้บริโภคได้ใช้สอยสิ่งที่ดี ๆ หวังให้ผู้รับบริการได้รับไมตรีที่ดี ธุรกิจของเรานั้นย่อมดำเนินไปสู่กระบวนการที่ดี นั้นคือ หนทางแห่ง "ธรรมาภิบาล (Good Governance)"

ธรรมาภิบาล คือ การรักษาและเยียวยาสังคมนี้ด้วย "ธรรมะ"

ธรรมะ คือ ธรรมชาติ คือ ธรรมชาติแห่งจิตที่ประภัสสร คือ ใส สะอาด สว่าง บริสุทธิ์ ปราศจากความเห็นแก่ตัว

ทำลงทุนใด ๆ ที่เริ่มต้นจากจิตใจของผู้ให้ คือการลงทุนให้ใจไปทั้งใจ การลงทุนนั้นไซร้ย่อมประสบความสำเร็จ ณ เวลาที่ลงทุนนั้นเอง

การลงทุนที่หวังประโยชน์ ย่อมเกิดโทษแก่จิตใจของผู้ที่ลงทุนนั้น เพราะโทษนั้นเกิดจากความหวัง ความหวังนั้นแลคือความทุกข์แห่งชีวิต



"คนเรานั้นถ้ามีความปรารถนาสิ่งใด แล้วไม่ได้สิ่งนั้นย่อมก็เป็นทุกข์ หวังมากก็ทุกข์มาก หวังน้อยก็ทุกข์น้อย การไม่หวังย่อมไม่เป็นทุกข์"

การพอใจในสิ่งที่มี คือ การพอใจในการได้ให้นั้นแล คือ แก่นแท้ของจิตใจที่พอเพียง 

เมื่อจิตใจเราพอเพียง เศรษฐนั้นภายนอกนั้นย่อมเพียงพอ

เมื่อเราไม่หวัง ทุกอย่างก็ "พอ" และ" ดี" อยู่ที่ภายในจิตใจของเรา...





หมายเลขบันทึก: 688249เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2021 19:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มกราคม 2021 19:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท