(๒) เตรียมสูงวัยอย่างมีความสุข : เริ่มจากฟันที่มี


"ระบบสุขภาพที่เชื่อมโยงกับระบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะระดับตำบล อำเภอ เป็นจุดคานงัดที่จะขยับระบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ให้ได้ทั้งคุณภาพและปริมาณพอเหมาะ พอดี อย่างสมดุลกับการร่วมใจ ร่วมมือ ร่วมคิด ตัดสินใจใช้ทรัพยากรใด ๆ ในการทำงานกับภาคส่วนที่เป็นพันธมิตรด้วยกันมา ภายในตำบลของเรา อำเภอของเรา"

คงไม่ใช่ทุกคนที่เกิดมาสมบูรณ์พร้อม ครอบครัวมีกินมีใช้ มีความรู้พอ ใช้เวลาอย่างมีคุณภาพ ให้ความรักและเอาใจใส่เพียงพอ เลี้ยงดูลูกหลานมาอย่างดี ฟันน้ำนมขาวเงางามอย่างมุกน้ำดี ครบ ๒๐ ซี่เมื่อสามขวบ แล้วทยอยหลุดตามเวลาพัฒนาการให้ฟันแท้ขึ้นมาเรียงตัวสวยงามจนครบ ๒๘ ซี่ ในช่วงอายุ ๑๒ - ๑๓ ปี

บางคนมีฟันผุตั้งแต่เด็ก เศรษฐานะดีพอมีโอกาสได้ใช้บริการทันตกรรมก็ได้อุดฟัน หลายคนไม่มีโอกาสนั้น ฟันผุเรื่อยมาจนถึงกับได้ถอนฟันแท้ ยังไม่มีโอกาสได้ใส่ฟันเทียมชนิดต่าง ๆ ฟันที่อยู่ข้าง ๆ ช่องวางมักละล้มเอียงเข้าหาช่องว่าง ฟันคู่สบมักยื่นเข้าไปในช่องว่างตรงข้าม ส่งผลถึงช่วงวัยกลางคน พอเศรษฐานะดีพอจะใส่เทียมได้ บางครั้งสภาพฟัน เหงือก กระดูกรอบรากฟัน  สันเหงือก  ก็ไม่พร้อมจะใส่ฟันเทียมแบบที่ทันตแพทย์ทั่วไปจะทำให้ได้  ต้องแสวงหาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ  มีมุมมองความจริงหนึ่งซึ่งไม่ยอมรับก็คงไม่ได้ ของฟรีไม่มีในโลก ใช่ไหมคะ

^_,^

อย่างน้อยกลุ่มบุคลากรสุขภาพ ๑๘ จังหวัด  ที่มาประชุมเชิงปฏิบัติการ  พัฒนาการจัดบริการสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ  โดยหน่วยบริการ  ช่วง ๑๑ - ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๓  ที่โรงแรมทีเคพาเลซ กทม.  เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงสำคัญของการวางระบบดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุประเทศไทย

ลองอ่านผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่ม  การสะท้อนและเสนอแนะจากภาคนโยบายและภาควิชาการนะคะ

20201122015318.pdf

^_,^

ลำพังทันตบุคลากรจะปรับกระบวนทัศน์ใช้  Health-oriented  ในการทำงานกับกลุ่มวัยทำงานก็ไม่ง่ายนัก  (ควบคู่ Disease-oriented ก็ทิ้งไม่ได้)  ในการเตรียมวัยทำงานให้มีพื้นฐานสุขภาพดีที่สุดในสิ่งที่มี  (หุ่นดี  ฟันดี  แข็งแรง  กินอิ่ม  นอนอุ่น  มีความสุขฯลฯ)  เป็นต้นทุนสำหรับช่วงวัยผู้สูงอายุต่อไป

ในช่วงวัยผู้สูงอายุทั้งกลุ่มที่สุขภาพแข็งแรง  ไปไหนมาไหน  ทำกิจวัตรได้เอง  หรือเริ่มมีโรคประจำตัวเล็กน้อย  ต้องพบคุณหมอประจำตัวคนเดียว  หรือใช้คุณหมอประจำตัวหลายคน   หรือมีภาวะสุขภาพซับซ้อนต้องพึ่งพิงลูกหลานหรือคนอื่น ๆ  ระบบสังคมที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  ภาคท้องถิ่น  เอกชน  วัด  ชมรม  มูลนิธิ ฯลฯ และระบบสุขภาพที่เชื่อมโยงกับระบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต  โดยเฉพาะระดับตำบล  อำเภอ  เป็นจุดคานงัดที่จะขยับระบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ  ให้ได้ทั้งคุณภาพและปริมาณพอเหมาะ  พอดี  อย่างสมดุลกับการร่วมใจ  ร่วมมือ  ร่วมคิด  ตัดสินใจใช้ทรัพยากรใด ๆ ในการทำงานกับภาคส่วนที่เป็นพันธมิตรด้วยกันมา  ภายในตำบลของเรา  อำเภอของเรา  ด้วยการสนับสนุนเชิงนโยบายจากระดับจังหวัด  เขต  ประเทศ

เจ้าของสุขภาพ คือ คนสำคัญ  ผู้นำ  แกนนำระดับชุมชนจะบอกเองว่าแค่ไหนพอดี  มีความสุขพอดีที่จะดูแลสุขภาพช่องปากตนเอง  คนในชุมชน   เพราะเหนืออื่นใด Self care อัตตาหิ อัตโนนาโถ  ตนนั้นแลเป็นที่พึ่งแห่งตน   จนถึงรู้ว่าเมื่อใดถึงเวลาเหมาะสมแล้ว  ที่ต้องแสวงหาความช่วยเหลือ  และมีโอกาสเลือกวิธีการรักษาได้  ตามบริบทและทรัพยากรของตนเอง  ครอบครัว  เครือญาติ  สังคมเล็ก ๆ รอบตัว  ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาล  และระบบสวัสดิการสังคมของประเทศไทย

ติดตามต่อเนื่องในระยะสั้น  กลาง  และยาว ๆ ไปละค่ะ  

ฝันดี ... ทำวันนี้ให้ฟันดี  เพื่อชีวียืนยาวกันนะคะ

ราตรีสวัสดิ์ค่ะ

^_,^

Cr : ขอบคุณช่างภาพน้องอ้อนะคะ (ชื่อนี้มักจะเป็นคนน่ารัก หุ หุ)

หมายเลขบันทึก: 687219เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2020 01:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2020 21:06 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สวัสดีค่ะ .๙๙. ขอบคุณค่ะที่มาทักทาย. … ไม่มีของกิน. ไม่พูดยาวนะคะ ? ?

…เป็นกิจกรรมที่ดี…เรื่องฟันสำคัญมากนะคะ…น่าจะมีกองทุนสุขภาพฟันผู้สูงอายุ…

-สวัสดีครับพี่หมอ-ว่างๆ วันไหนขอเชิญมาตรวจสุขภาพฟันของ”แก๊งค์ฟันน้ำนม”ที่บ้านไร่ด้วยนะครับ-ฟ.ฟันสะอาดจัง…-กิจกรรมของพี่หมอนี่สุดยอดจริงๆ คร้าบบบ

น่าจะพัฒนาไปแนวทางนั้นละค่ะ อ.Pojana. … ขอบคุณนะคะ

เมื่อไหร่จะได้ไปบ้านไร่. ฮือ ๆ ๆ … ตรวจฟัน. พาทำกิจกรรมเพื่อเด็ก ๆ ฟันดี … ที่นี่ก็ตัวเป็นเกลียว หัวเป็นน็อตอ่ะคุณเพชรฯ ^_,^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท