คุณสมบัติ ๕ ประการของถ่านไม้ไผ่


ท่านรู้ไหมครับ ว่าไผ่ มีความเป็นที่สุดในโลกที่น่าทึ่งมาก ๆ  

  • เป็นพืชที่มีประโยชน์มากที่สุดในโลก 
  • เป็นพืชโตเร็วที่สุดในโลก ... สูงขึ้นได้ถึงวันละ ๑ เมตร 
  • เป็นพืชที่ตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากที่สุดในโลก 
  • ถ้านำมาเผา ถ่านไม้ไผ่จะมีรูพรุนมากกว่าถ่านไม้ชนิดอื่น ๆ ถึง ๔ เท่าตัว จึงมีพื้นผิวมากกว่า ๑๐ เท่าถ่านไม้ชนิดอื่น 

บทความของ  Dwivedi และคณะ จากมหาวิทยาลัย Nirma อินเดีย เขียนสรุปทบทวนคุณสมบัติของถ่านไม้ไผ่ไว้เป็นข้อ ๆ น่าสนใจ จึงจับประเด็นมาให้อ่านสั้น ๆ ครับ ... ท่านใดสนใจอยากอ่านเองคลิกที่นี่ครับ 

๑) มีแร่ธาตุอาหารที่สำคัญจำนวนมาก ...  ในถ่านไม้ไผ่มีแร่ธาตุที่สำคัญ ๆ ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม เป็นต้น .... ถ่านไม้ไผ่ที่มีคุณภาพสามารถแช่น้ำดื่ม  ทำให้น้ำธรรมดากลายเป็นน้ำแร่ และยังดูดซับคลอรีนและสิ่งปนเปื้อนต่าง ๆ  กรดอะซิติกและเอททิวอีเทอร์สามารถฆ่าเชื้อโรค

๒) ถ่านไม้ไผ่ปลดปล่อยรังสีอินหฟราเรดไกล (far infrared, FIR) ซึ่งร่างกายมนุษย์ดูดกลืนได้ง่าย ไม่เป็นอันตราย แต่ช่วยกระตุ้นการเผาผลาญให้ดีขึ้น เลือดไหลเวียนได้ดี ทำให้สุขภาพแข็งแรง 

๓) ถ่านไม้ไผ่เป็นแหล่งกำเนิดไอออนลบ (negative ions) ที่มีคุณภาพ ... ท่ามกลางอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็คทรอนิกส์ ไอออนบวกหรือที่เรียกอนุมูลอิสระเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ก่อให้เกิดโรค เกิดความเครียด ถ่านไม้ไผ่จะปลดปล่อยไอออนลบมาจัดการอนุมูลอิสระในบริเวณรอบ ๆ ได้  ใครสนใจอยากทราบรายละเอียดคลิกที่นี่ครับ เขียนดีมาก 

๔) ถ่านไม้ไผ่สามารถสะท้อนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ... อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ เช่น เตาอบไมโครเวฟ มือถือ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ จะส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกไปรอบ ๆ  สร้างประจุบวกรอบ ๆ บริเวณนั้น  ถ่านไม้ไผ่จะส่งประจุลบออกมาชนกับประจุบวก ทำให้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากระเจิงไปและดูดซับประจุบวกไว้ในตัวถ่าน 

๕) ถ่านไม้ไผ่มีรูปพรุนขนาดเล็กกว่า ๒ นาโนเมตร (microporous)  ถือเป็นเอกลักษณ์ของถ่านไม้ไผ่ ที่มีรูพรุนเหมือนฟองน้ำจำนวนมาก ทำให้มีพื้นที่ผิวมหาศาล จึงสามารถดูดซับสิ่งต่าง ๆ เช่น สิ่งปนเปื้อน ก๊าซต่าง ๆ จึงถูกนำมาใช้ในการทำดูดซับกลิ่น เครื่องกรองน้ำ 

บทความดังกล่าวได้กล่าวถึงคุณประโยชน์ ๕ ประการสำคัญ ได้แก่ ทำความสะอาดน้ำ ทำน้ำเป็นน้ำแร่ ควบคุมความชื้น ดูดซับกลิ่น และใช้ในธุรกิจความงาม... ท่านใดสนใจเชิญบันเทิงอ่านเถิด... ผมลาไปเท่าานี้ครับ 

คำสำคัญ (Tags): #ถ่านไม้ไผ่
หมายเลขบันทึก: 687213เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2020 19:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มกราคม 2021 14:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท