นึกถึงคำบอกเล่าจากทีม เทพธารินทร์เมื่อไปร่วมกิจกรรม เพื่อนช่วยเพื่อน ที่บอกว่าสิ่งที่ง่ายที่สุดในการดูแลเท้าผู้ป่วยก็คือ แนะนำรองเท้าที่เหมาะสมให้ผู้ป่วย ผมและทีมที่ธาตุพนมอีกหลายๆคนได้สังเกตทั้งเท้าและรองเท้าของผู้ป่วยที่ใส่มาแล้ว อย่างที่เคยเล่าไว้เลยครับ ยังไม่เห็นผู้ป่วยใส่รองเท้าแบบสวม หรือใส่ถุงเท้าเลย ก็เลยยังไม่เห็นปัญหารองเท้ากัด รองเท้าบีบ รองเท้าหัวแหลม รองเท้าส้นสูงส้นตึก อย่างที่แฟชั่นเมืองกรุง เทรนรองเท้าของที่นี่ก็เลยเป็นอย่างที่เห็นครับ(อินเทรนที่ธาตุพนม) อย่างที่ว่าดีก็เป็นแบบหนังสาน หนักสุดก็คงเป็นแบบคีบล่ะครับ แต่เดี่ยวนี้เราใส่ใจเท้ามากขึ้นครับ เลยทำสิ่งที่ทำได้ทันทีเมื่อเห็นรองเท้าผู้ป่วยก็คือ แนะนำให้ใส่รองเท้าที่นุ่มขนาดเหมาะสม อาจใหญ่กว่าเท้าเล็กน้อย(อ.สมเกียรติ บอกว่าเป็นกันชนได้ด้วย) ไม่ควรเล็กจนรัดเท้าแน่น หลีกเลี่ยงเลี่ยงรองเท้าคีบ แต่ยังไม่กล้าบอกให้ไปซื้อรองเท้าใหม่มาใช้ครับ ค่อยๆบอกดีกว่าเพราะเงินที่ซื่อรองเท้าบางครั้งใช้เป็นค่ารถมาโรงพยาบาลได้อีกหลายครั้ง เลยเอาเป็นว่า รองเท้าคู่ต่อไป ค่อยว่ากันใหม่ละกัน
เห็นรองเท้าผู้ป่วยแล้ว ช่วยชี้แนะได้นะครับ ว่าทำอย่างได้บ้าง
ผู้เล่าเรื่อง ภก.เอนก ทนงหาญ
|
แบบนี้เป็นแบบที่ผู้ชายฮิตใช้กันครับ
![]() |
ของคุณป้าท่านนี้ เก๋หน่อยตรงที่กลัวหลุดตอนเดิน เลยใช้หนังยางรัดไว้
![]() |
คู่นี้เจ้าของเป็นคุณป้าที่เท้าผิดรูปแล้ว แรงกดเลยทำให้ป็นอย่างที่เห็น
![]() |
ส่วนคุณลุง เจ้าของเท้านี้ มีแผลที่เท้าแล้ว จากการเดินเตะไม้
![]() |
คุณป้าเจ้าของรองเท้าภาพที่2 (ยางรัด) กลับมาอีกครั้งกับรองเท้าคู่ใหม่
แต่ยังคงสีนำเงิน(สงสัยชอบ) แต่คู่ใหญ่ขึ้นและใช้ยางในจักรยานรัดส้นเท้ากันหลุด
(หมายเหตุ......แต่เท้าที่ใส่เป็นของนักกายภาพบำบัดของเรานะครับ)
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Anek Thanonghan ใน เบาหวานธาตุพนม(DM That Phanom)
คุณเอนกนำของจริงมาเสนอ ดิฉันจะติดต่อทีมของอาจารย์สมเกียรติ มาให้ข้อแนะนำในบล็อกค่ะ