เพราะมหาวิทยาลัยเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน


ล่าสุดแว่วๆ ว่ารัฐบาลมีโครงการอันสำคัญ ประหนึ่งท้าทายมหาวิทยาลัย หรือสถาบันอุดมศึกษา สู่การรับใช้สังคมอย่างแท้จริง  ในชื่อ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย

โครงการดังกล่าวฯ  น่าสนใจมาก  ชวนให้ผมอดที่จะหวนทบทวนถึงเรื่องราวที่ตนเองที่เคยได้สัมผัสมาในระยะหนึ่ง  ซึ่งผ่านพ้นมาในราว 7-8 ปี  อันเป็นโครงการบริการวิชาการแก่สังคมในชื่อ 1 หลักสูตร 1 ชุมชน (หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน) ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม


;t=96s


;t=8s

ยุคนั้น  ผมทำหน้าที่ผู้ประสานงานโครงการฯ  ในยุคบุกเบิกมีหลักสูตรเข้าร่วมในราว 60 กว่าหลักสูตร  พอสิ้นปีก็ประเมินแต่ละโครงการ  บางส่วนถูกยกระดับจากงานบริการวิชาการแก่สังคม สู่การเป็นงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น

ขณะที่บางกิจกรรม ก็ถูกหนุนเสริมขับเคลื่อนต่อยอดและต่อเนื่องในพื้นที่เดิมอีกครั้ง เพื่อก่อให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืนให้ได้มากที่สุด เท่าที่จะพึงกระทำได้

หรือแม้แต่การขยับขยายพื้นที่ไปยังที่ใหม่ เพื่อก่อให้เกิดการกระจายในวงกว้าง -

หมายเลขบันทึก: 683646เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2020 12:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 ตุลาคม 2020 12:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

หน้าหนาวมาแล้วจ้า คนทำงานก็ทำต่อไป

เห็นโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย แว๊บแรกที่คำนึงถึงก็โครงการ 1 หลักสูตร 1 ชุมชนของ มมส. ทันใด และเป็นสิ่งที่ผมมักจะยกตัวอย่างเล่าให้เพื่อน ๆ ฟังบ่อยครั้งว่า มมส. ทำงานเรื่องบริการวิชาการและกิจกรรมนิสิตผ่านโครงการนี้ได้อย่างดงาม ต่อเนื่อง ปละเกิดความยั่งยืน

ครับ พี่แก้ว..อุบล จ๋วงพานิช

ลมหนาว มันนำพาพลังบางอย่างมาเยือนชีวิตเสมอ ผมเองรู้สึกเช่นนั้น และมีแรงบันดาลใจในการขับเคลื่อนชีวิตและการงานภายใต้ฤดูกาลเช่นนี้จริงๆ (แม้บ่อยครั้งจะทำให้เราเคว้งบ้างก็เถอะ)

ขอบคุณมากๆ ครับ คุณครูยอด

ตัวโครงการ 1 หลักสูตร 1 ชุมชน ไม่ได้ต่อยอดแค่งานวิจัยท้องถิ่น หรือกิจกรรมนอกหลักสูตรของนิสิตในชื่อ 1 ชมรม 1 ชุมชนเท่านั้น หากแต่กลายเป็นวิชาเรียนในหมวดศึกษาทั่วไป โดยเป็นวิชาบังคับเลือกด้วยครับ

แต่ในรอบปีหลังๆ มีการปรับปรุงหลักสูตร ยกเลิกวิชานี้ไปแล้ว ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท