หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน : ๕. พัฒนาหลักสูตรในโรงเรียน


ตอนที่ ๑

ตอนที่ ๒

ตอนท ๓

ตอนที่ ๔

ในการประชุมคณะกรรมการกำกับทิศในคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ ๒/๒๕๖๓  เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๓ ผมเสนอว่าการดำเนินการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะครั้งนี้ ควรดำเนินการแบบ school-based curriculum development   และดำเนินการแบบ whole school approach   ซึ่งดูจะได้รับการตอบรับจากที่ประชุม  

ข่าวดีมาตอนปลายเดือนสิงหาคม เมื่อคุณเปาขอนัดประชุมออนไลน์    โดยได้รับคำขอร้องจาก ดร. เบญจลักษณ์ และ ดร. รัตนา แห่ง สพฐ.    ขอหารือการออกแบบวิธีทดลองใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ    นัดได้วันที่ ๔ กันยายน    เห็นแผนการดำเนินการของ ดร. รัตนาแล้วผมดีใจยิ่งนัก 

ดีใจเพราะออกแบบให้มีการทดลองใช้ปีแรก (เทอม ๒ ปี กศ. ๒๕๖๓ และเทอม ๑ ปี กศ. ๒๕๖๔) ในโรงเรียน ๔ กลุ่ม    คือ (๑) กลุ่มโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรม ๒๗๑ รร.  (๒) กลุ่ม รร. พัฒนาตนเองของ กสศ. ๑๐ กลุ่ม ๗๓๓ รร.    และ รร. ในเครือข่ายของ มธ. ๒๒ รร.   (๓) รร. ในสังกัด สพฐ. เขตละ ๒ รร. รวม ๔๕๐ รร.   (๔) อื่นๆ ตามความสมัครใจ  

นี่คือ การพัฒนาหลักสูตรในโรงเรียน    ให้เกียรติโรงเรียนเป็นผู้นำในการพัฒนาหลักสูตรภาคปฏิบัติ โดยที่โรงเรียนเหล่านี้ (รวมประมาณ ๒ พัน รร.) ส่วนหนึ่งดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามแนวหลักสูตรฐานสมรรถนะมาหลายปีแล้ว    บางโรงเรียนนานกว่าสิบปี   

แต่เมื่อเห็นแผนวิจัยประกบการดำเนินการพัฒนาหลักสูตร ผมก็มีความเห็นต่าง    ว่าโจทย์ที่กำหนดมา ๕ หมวดนั้นดี ผมเห็นด้วย    แต่ผมไม่เห็นด้วยกับการทำงานวิจัยเต็มรูป    เพราะจะโดนนักวิจัยใส่หลักวิชาการจนงานวิจัยไม่เป็นพลังขับเคลื่อน    แต่จะกลายเป็นตัวถ่วงในเชิงเวลา    เพราะทีม สพฐ. เขารับนโยบาย รมต. มาว่า ต้องดำเนินการหลักสูตรใหม่นี้ทั่วประเทศในปีการศึกษา ๒๕๖๕    นักการเมืองย่อมต้องการผลงาน   

ผมเสนอว่า งานวิจัยน่าจะมีโจทย์เดียว คือ Effect Size ของการดำเนินการ    ที่ทำแบบ sampling บางโรงเรียน    โดยแต่ละโรงเรียนในโครงการก็วัดเองด้วย    งานวิจัย ES เอาไว้ประเมินว่า โรงเรียนประเมิน ES ของตนเองได้แม่นยำแค่ไหน     มีวิธีการที่ถูกต้องแค่ไหน    เป็นการวิจัยเพื่อวาง evaluation platform ของการดำเนินการในแต่ละโรงเรียน     ในการหาโรงเรียน (และครู) ที่มีผลงานเด่นด้านยกระดับ LO – Learning Outcome ของนักเรียน    แล้วจึงนำมาทำ reflection ร่วมกัน    เพื่อหาวิธีคิด และวิธีดำเนินการที่ทรงพลังในการยกระดับ LO ของนักเรียน    เป็นการตอบโจทย์ ๕ ข้อของ ดร. รัตนา

วัด LO ตามแนว พัฒนาสมรรถนะ    ซึ่งเป็นโจทย์วิจัย ES             

จากผล ES สูง ในการพัฒนาสมรรถนะของนักเรียน    นำมาทำกิจกรรม DE – Developmental Evaluation    ใช้ผล ES ที่สูงเป็นฐาน ตั้งคำถาม ๕ คำถามของ ดร. รัตนา ในการทำ reflection ร่วมกันคือ  (๑) บุคลากรทางการศึกษา (ครู,  ผอ. รร., ศน., ฯลฯ)  แสดงบทบาทอย่างไร    นำข้อมูลนี้ไปใช้พัฒนาบุคลากรทางการศึกษาได้อย่างไร   (๒) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งคณะกรรมการสถานศึกษา แสดงบทบาทอย่างไร    (๓) การจัดการระดับ โรงเรียน เขตพื้นที่ และระดับประเทศ ที่จะช่วยส่งเสริมการยกระดับ LO เป็นอย่างไร   (๔) กระบวนการเปลี่ยนผ่านทั้งประเทศควรเป็นอย่างไร   (๕) ผลการเปลี่ยนแปลงที่คาดหวังในทุกระดับ (นักเรียน ครู ผู้บริหารระดับต่างๆ ระบบ ฯลฯ) ควรเป็นอย่างไรบ้าง     ย้ำการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ ระดับประเทศ

DE จะช่วยดึงคำตอบออกมาจากข้อคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในวง reflection   ตามวิธีการของ DE   แล้วผู้ประเมินแนว DE ที่เป็นทั้งผู้ประเมิน และเป็น facilitator (ของกระบวนการกลุ่ม เพื่อร่วมกันสะท้อนคิดตามโจทย์ ๕ ข้อข้างบน) จะทำหน้าที่ facilitate การร่วมกันหาข้อสรุปและข้อเสนอแนะ ต่อ primary evaluation users    ที่จะต้องเข้ามาร่วมกระบวนการเอง  

     ดังนั้น การพัฒนาหลักสูตรในโรงเรียน จึงมีการเรียนรู้ร่วมกันผ่านการปฏิบัติหลายชั้น  มีการสร้างและสังเคราะห์ความรู้จากการปฏิบัติเชื่อมโยงกับความรู้เชิงทฤษฎี    นำไปสู่ข้อเสนอแนะเพื่อเปลี่ยนระบบการศึกษาทั้งระบบ     ไม่ใช่เปลี่ยนเฉพาะเอกสารกำหนดหลักสูตร    ข้อเสนอนั้น พัฒนาขึ้นโดยใช้ข้อมูลหลักฐาน (evidence-based) จากกระบวนการ DE  

DE จึงเป็นเครื่องมือหลักของ Basic Education Transformation ทั้งระบบของไทยในครั้งนี้   

โดยต้องไม่ลืมว่า ต้องออกแบบใช้ DE ในหลายชั้น และหลายมิติ    ต้องลงทุนต่อการดำเนินการ DE    เพราะเป้าหมายเป็นเดิมพันในการทำ Whole Systems Transformation ของการศึกษาไทย   

ทีม Evaluation Facilitators ที่มีฝีมือเด่น มีความสำคัญยิ่ง    

วิจารณ์ พานิช

๕ ก.ย. ๖๓

 

หมายเลขบันทึก: 683056เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2020 17:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กันยายน 2020 17:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท