ปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน(4)


สร้างกลยุทธ์สานสู่ฝันที่เป็นจริงในการปฏิรูปการเรียนรู้

6) การประกันคุณภาพการศึกษา

-          ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทุกคนในโรงเรียนนำกระบวนการพัฒนาฯ   ตามวงจรเดมมิ่ง  (P D C A) มาใช้ในการดำเนินงานในทุกๆด้าน

-          กำหนดเป้าหมายและเกณฑ์การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่พึงประสงค์-          วิเคราะห์ผลการดำเนินงานในภาพรวมระดับโรงเรียน ระดับชั้น และหมวดวิชา/กลุ่มประสบการณ์ เปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานระดับจังหวัด เขตการศึกษาและระดับชาติ-          วิเคราะห์จุดเด่น จุดที่ต้องปรับปรุงแก้ไข หาสาเหตุและแนวทางแก้ไข-          ปรับปรุงแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล-          สรุปรายงานเสนอผู้ปกครอง หน่วยงานต้นสังกัดและเผยแพร่ให้หน่วยงาน      ที่เกี่ยวข้องรับทราบ-          จัดทำรายงานการประเมินตนเอง SSR (Self Study Report) เสนอ   สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัด และสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เพื่อขอรับการประเมินภายนอก-          โรงเรียนส่งรายงานการประเมินตนเองไปยังสำนักงานรับรอง     มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)  และได้รับการตรวจสอบคุณภาพการศึกษา จากคณะกรรมการประเมินภายนอกทั้งสองรอบเรียบร้อยแล้ว
 7)  แนวทางการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน-          ให้บุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วมรับผิดชอบการดำเนินงานในรูปแบบคณะกรรมการค่างๆ เช่นคณะกรรมการสภาครู  คณะกรรมการสายชั้น  คณะกรรมการฝ่าย 6 ฝ่าย (ฝ่ายวิชาการ, กิจการนักเรียน, บุคลากร, อาคาร-สถานที่,  ธุรการ-การเงิน, และฝ่ายความสัมพันธ์กับชุมชน)-          จัดระบบการบริหารงานตามวงจรเดมมิ่ง เพื่อให้การประสานงาน ติดตาม ตรวจสอบ ปรับปรุงแก้ไขเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิด ประสิทธิผล-          จัดประชุม สัมมนา ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ นำไปศึกษาดูงาน นิเทศให้คำปรึกษาและส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของครูอย่างต่อเนื่อง-          สร้างเครือข่ายผู้ปกครอง ระดมความคิดเห็น คำแนะนำข้อเสนอแนะแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาผู้เรียน และโรงเรียนโดยส่วนรวม-          ส่งเสริมให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน    ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนครู ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนศิษย์เก่า และผู้ทรงคุณวุฒิ ได้มีบทบาท มีส่วนร่วมในการบริหารงานโรงเรียน-          คณะครูได้มีการจัดตั้งกลุ่ม STAR (Small Team Activity Relationship) ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีสมาชิกประมาณ 12-15 คน มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมมือกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาผู้เรียนที่อยู่ในความรับผิดชอบในสายชั้นของตนเอง เช่น การแก้ปัญหานักเรียนที่อ่านไม่คล่องเขียนไม่คล่อง  การฝึกระเบียบวินัยและมารยาทการไหว้ เป็นต้น-          จัดให้มีคณะกรรมการประเมินภายใน (Internal Audit) มีหน้าที่ในการกำกับ ติดตาม ประเมินผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยรวม 8) ยุทธศาสตร์ในการประเมินคุณภาพภายในของโรงเรียนในการประเมินคุณภาพภายในของโรงเรียนนั้น ผู้บริหารได้กำหนดยุทธศาสตร์หลัก 3 ยุทธศาสตร์ (3 ส.) ดังนี้
8.1 ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วม เนื่องจากการบริหารงานโรงเรียน ผู้บริหารได้เปิดโอกาสให้บุคลากรทุกคนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามความถนัด ความสามารถของแต่ละบุคคล ในรูปแบบคณะกรรมการต่างๆดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น โดยให้คณะครูและบุคลากรทุกคนมีส่วน ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา และร่วมพัฒนางาน ฉะนั้นการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในจึงเกิดขึ้นจากจิตสำนึกและความตระหนักของทุกคนในการที่จะผลักดันการดำเนินงานของโรงเรียนไปสู่เป้าหมายความสำเร็จตามมาตรฐานคุณภาพที่กำหนด โดยความร่วมมือของ    ทุกฝ่าย ไม่ใช่ใครคนใดคนหนึ่ง
8.2 ยุทธศาสตร์การตรวจสอบและถ่วงดุลโดยปกติโรงเรียนเอกชนทั่วๆไปผู้รับใบอนุญาตหรือเจ้าของโรงเรียนมักจะไม่เปิดโอกาสให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ญาติสนิทหรือคนใกล้ชิดเข้าไปรับรู้หรือมีส่วนร่วมในการบริหารงาน แม้กระทั่งด้านการเงิน  ส่วนโรงเรียนจิระศาสตร์วิทยากลับมองเห็นว่าครูและบุคลากรตลอดจนกรรมการสถานศึกษาควรจะเข้ามารับรู้ในการดำเนินงานของโงเรียนในทุกๆเรื่อง  ดังนั้นจึงได้จัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการคณะต่างๆเพื่อเปิดโอกาสให้ครูและบุคลากรได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานโรงเรียน ซึ่งสามารถตรวจสอบและเป็นการถ่วงดุลอำนาจของฝ่ายบริหารได้  ตัวอย่างเช่น คณะกรรมการอำนวยการโรงเรียน สามารถพิจารณาอนุมัติงบประมาณรายรับ-รายจ่ายของโรงเรียน ตลอดจนอนุมัติแผนงานโครงการพัฒนาสถานศึกษา  คณะกรรมการสภาครูสามารถพิจารณาความดีความชอบของครูและบุคลากรร่วมกับผู้บริหารเป็นต้น
8.3 ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างขวัญกำลังใจโรงเรียนได้ตระหนักถึงความสำคัญของบุคลากร ถือว่าครูและบุคลากรทุกคนแม้ว่าจะมาทำงานที่โรงเรียนจิระศาสตร์วิทยาวันเดียว เดือนเดียว หรือปีเดียวก็ถือว่าเป็นผู้มีคุณค่าและบุญคุณต่อโรงเรียน  ดังนั้นโรงเรียนจึงพยายามจัดให้มีกิจกรรมการเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้กับคณะครูและบุคลากรอยู่เสมอ ดังจะเห็นได้จากการจัดสวัสดิการต่างๆ การจัดกิจกรรมร้อยดวงใจในจิระศาสตร์ การนำไปศึกษา-ดูงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ การส่งเสริมความก้าวหน้าในการศึกษาต่อระดับที่สูงขึ้น ตลอดจนการจัดสรรเงินปันผลพิเศษในลักษณะ หุ้นลม ให้กับครูและบุคลากรที่ทำงานงานและมีผลงานดีเด่นเป็นประจำทุกปี

                        การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ดังกล่าวมาแล้วข้างต้นส่งผลให้การประเมินคุณภาพภายในของโรงเรียนจิระศาสตร์วิทยาบรรลุเป้าหมายความสำเร็จ ดังจะเห็นได้จากการได้รับการประเมินภายนอกจาก สมศ.ทั้งสองรอบผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับดี และจะต้องพัฒนาให้ดียิ่งๆขึ้นไปอย่างไม่หยุดยั้ง

ปฐมพงศ์  ศุภเลิศ
18  ธ.ค. 2549

 
หมายเลขบันทึก: 68036เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2006 17:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท