3) การวัดผลและประเมินผลแนวใหม่
การวัดผลประเมินผลผู้เรียน พิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน
ความประพฤติ
การสังเกตพฤติกรรมการเรียน
การร่วมกิจกรรม และการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอน โดยยึดหลักต่อไปนี้1) ใช้วิธีการที่หลากหลายในการประเมินผู้เรียน
2) ใช้การวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอน
3) มุ่งประกันคุณภาพ โดยโรงเรียนดำเนินการประเมินผลภายในทุกปี และ รายงานผลต่อผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานต้นสังกัด และสาธารณชน
นับตั้งแต่ปีการศึกษา 2545 เป็นต้นมา โรงเรียนได้รับคัดเลือกจากกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นโรงเรียนเครือข่ายโรงเรียนนำร่องการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นหลักสูตรที่กำหนดให้ใช้ในการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนทุกคน ทุกกลุ่มเป้าหมาย มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข บนพื้นฐานของความเป็นไทย ประกอบด้วยหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสาระของหลักสูตรที่สถานศึกษาจัดทำขึ้นในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาความต้องการในชุมชนและสังคมแต่ละท้องถิ่น สาระการเรียนรู้ที่ใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ดังนั้นครูผู้สอนจึงต้องใช้กระบวนการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ควบคู่ไปกับการวัดผลประเมินผลตามสภาพจริง ทั้งนี้ฝ่ายวิชาการได้กำหนดแนวทางในการวัดผลประเมินผลดังนี้
-กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เน้นปฏิบัติ เช่น ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี สุขศึกษาพลศึกษา กำหนดการให้คะแนนเป็น 70 : 30 หมายถึง คะแนนเก็บ 70 % และสอบ 30%
-กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เน้นทฤษฎี เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ (อังกฤษ) กำหนดการให้คะแนนเป็น 60 : 40 หมายถึง คะแนนเก็บ 60 % และสอบ 40% นอกจากนี้ยังมีการประเมินผลการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในลักษณะการ “ผ่าน”และ “ไม่ผ่าน” โดยเน้นการปฏิบัติ ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงและบูรณาการเข้ากับชีวิตจริง โดยการจำลองการใช้ชีวิตในสังคมด้วยการให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรม ได้รับประสบการณ์ตรง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น เกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
4)
การวิจัยในชั้นเรียน
โรงเรียนตระหนักถึงความสำคัญของการวิจัยและพัฒนาศักยภาพผู้เรียน จึงได้
สนับสนุนส่งเสริมให้ครูทุกคนเข้ารับการอบรม ตลอดจนได้เชิญวิทยากรมาอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียน แก่ครูทุกคนในโรงเรียน ปีละหลายครั้ง โดยได้รับความร่วมมือจากวิทยากรจากหน่วยงาน และสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ เช่น
-
อาจารย์ยืนยง ราชวงษ์ หัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1
-
ดร.โกวิท ประวาลพฤกษ์ สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.)
-
ผศ.จินตนา เวชมี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
-
ผศ.ดร.จิราภรณ์ ศิริทวี โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
-
รศ.ดร.บุญมี เณรยอด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นอกจากนี้โรงเรียนยังได้สนับสนุนส่งเสริมให้ครูทุกคนจัดกระบวนการเรียนการสอนตามรูปแบบการสอนของจิระศาสตร์ (
Jirasart Teaching’s Model) เพื่อให้ผู้เรียนแต่ละคนได้รับการพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ โดยเน้นให้ครูผู้สอนทุกคนยึดถือแนวทางในการวิจัยและพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่องบนพื้นฐานของวงจรเดมมิ่ง กล่าวคือ ใช้ P D C A
ตัวอย่างเช่น
P (Plan)
– ครูมีการวางแผน ศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาบริบทอยุธยามรดกโลก จัดทำกำหนดการสอน จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้และเตรียมสื่อการเรียนการสอนหรือประสานความร่วมมือแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นล่วงหน้า ก่อนที่จะจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
D (Do)
– ครูและนักเรียนมีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และฝึกทักษะปฏิบัติร่วมกันระหว่างครูกับนักเรียนหรือนักเรียนกับแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ และการเรียนรู้ลักษณะบูรณาการตามสภาพความเหมาะสม
C (Check)
– ครูและนักเรียนมีการตรวจสอบประเมินสภาพจริงในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้จากการสังเกตการมีส่วนร่วม การสอบถามความรู้ความเข้าใจ การตรวจผลงาน ชิ้นงาน หรือการประเมินผลงานโดยตนเอง โดยเพื่อน โดยครู หรือ ผู้เกี่ยวข้อง เป็นต้น
A (Action) - มีการนำผลการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนาผลงานอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนั้นครูผู้สอนยังได้มีการนำข้อมูลที่ประมวลไว้ในระหว่างจัดกิจกรรมการ-เรียนการสอนโดยเฉพาะข้อมูลจากบันทึกผลหลังการสอน นำไปใช้ในการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อเป็นการปรับปรุง พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยไม่ได้มุ่งเน้นการวิจัย 5 บท แต่อย่างใด
5) การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เน้นกระบวนการบริหารจัดการ โดยยึดหลักสำคัญๆ ดังต่อไปนี้
5.1 หลักการกระจายอำนาจ
- โรงเรียนเปิดโอกาสให้ครูอาจารย์มีอิสระและศักยภาพในการบริหารจัดการด้านวิชาการ โดยการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาบริบทอยุธยามรดกโลก จัดทำแผนการจัด กิจกรรมการเรียนรู้จัดหาแหล่งเรียนรู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามาช่วยส่งเสริมการเรียนการสอน
-
โรงเรียนจัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการสภาครู และคณะกรรมการสายชั้นโดย
ให้มีอิสระและอำนาจตัดสินใจในการบริหารงานบุคคลของโรงเรียน
-
โรงเรียนจัดให้มีคณะกรรมการฝ่ายธุรการ
-การเงิน รับผิดชอบในการจัดทำ
งบประมาณรายรับ
-รายจ่ายเพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการอำนวยการโรงเรียนให้ความเห็นชอบงบประมาณประจำปี ซึ่งโรงเรียนมีอิสระและอำนาจในการบริหารจัดการการเงิน งบประมาณ ที่เป็นระบบ มีความถูกต้องโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้
5.2 หลักการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม
-
โรงเรียนได้จัดให้มีระบบการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม
ซึ่งบริหารงานโดยองค์
คณะบุคคล เช่น คณะกรรมการอำนวยการโรงเรียน
คณะกรรมการสภาครู คณะกรรมการสายชั้น
คณะกรรมการฝ่ายต่างๆ เป็นต้น
-
โรงเรียนมีระบบบริหารจัดการแบบเครือข่ายทั้งบุคคล องค์กร และเทคโนโลยี
ทั้งภายในและภายนอก
เช่น เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองเครือข่ายมีส่วนร่วม ในการเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาโรงเรียน
-
โรงเรียนเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
(Stakeholder) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ผู้ปกครอง และชุมชนได้เข้าร่วมประชุมรับฟังข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะแนวทางที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารกิจกรรมต่างๆของโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ
-
โรงเรียนตอบสนองต่อผู้ปกครองและชุมชนในด้านการจัดหลักสูตรการเรียน
การสอน
การดูแลช่วยเหลือนักเรียนและการให้การศึกษาอบรม โดยส่งเสริมให้ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา “บริบทอยุธยามรดกโลก” ซึ่งสอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการของผู้ปกครองและชุมชนอย่างแท้จริง
ปฐมพงศ์ ศุภเลิศ
18 ธ.ค.2549
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ดร. ปฐมพงศ์ ศุภเลิศ ใน แลกเปลี่ยนเรียนรู้KM
คำสำคัญ (Tags)#การแลกเปลี่ยนเรียนรู้#การจัดการเรียนรู้#การบริหารจัดการแนวใหม่
หมายเลขบันทึก: 68035, เขียน: 18 Dec 2006 @ 17:01 (), แก้ไข: 11 Feb 2012 @ 16:46 (), สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ, อ่าน: คลิก
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก