กากเนื้อในเมล็ดปาล์มน้ำมัน


การใช้กากเนื้อในเมล็ดปาล์มน้ำมันเป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารปลา
ปาล์มน้ำมันนับได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญ และปลูกกันมากทางภาคใต้ของประเทศไทย ในระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา พื้นที่การเพาะปลูกปาล์มน้ำมันได้ขยายตัวอย่างมาก โดยในปี พ.ศ.2513 มีพื้นที่การเพาะปลูกปาล์มน้ำมัน 13,157 ไร่ และได้เพิ่มพื้นที่การเพาะปลูกมากขึ้นเรื่อยๆ โดยในปีพ.ศ.2532 มีพื้นที่การเพาะปลูกปาล์มน้ำมัน รวมทั้งสิ้น 854,000 ไร่ และเพิ่มมากขึ้นจนในปีพ.ศ.2547 มีพื้นที่การเพาะปลูกปาล์มน้ำมันประมาณ  1,844,266  ไร่  โดยร้อยละ 95 ของพื้นที่ทั้งหมดอยู่ในเขตพื้นที่ภาคใต้ จังหวัดที่มีพื้นที่การเพาะปลูกปาล์มน้ำมันมาก  คือ จังหวัดกระบี่ มีพื้นที่การเพาะปลูกและให้ผลผลิต  550,233  ไร่  รองลงมา  คือ จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพื้นที่การเพาะปลูกและให้ผลผลิต 413,876 ไร่ และจังหวัดอื่น ๆ เช่น ชุมพร สตูล และตรัง ตามลำดับ โดยในแต่ละปีจะได้ผลผลิตปาล์มน้ำมันมากกว่า 2,633,927 ตันต่อปี (ธีระ, 2545-2546) และเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงในปีพ.ศ. 2547 มีผลผลิตปาล์มน้ำมัน รวมทั้งสิ้น 5,114,160 ตัน (เอกชัย, 2548)ทะลายปาล์มน้ำมันเมื่อนำมาแปรรูปแล้วจะสามารถแบ่งส่วนประกอบต่างๆ ได้เป็น 3 ส่วน คือ ผลปาล์มน้ำมัน ทลายเปล่าของปาล์ม และสิ่งเจือปนอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 71, 28 และ 1 ตามลำดับ โดยในผลปาล์มน้ำมันประกอบไปด้วยน้ำมันปาล์มดิบ ความชื้น เมล็ดปาล์มน้ำมันและกากเส้นใยปาล์ม คิดเป็นร้อยละ 22, 26, 12 และ11 ตามลำดับ โดยภายในเมล็ดปาล์มน้ำมันจะประกอบด้วย กะลาปาล์มน้ำมัน, เนื้อในกะลาปาล์ม, กากเนื้อในกะลาปาล์ม และน้ำมันจากเนื้อในกะลาปาล์ม คิดเป็นร้อยละ 6.5, 5.5, 3.0 และ2.5 ตามลำดับ (เอกชัย, 2548)

ปาล์มน้ำมันเหล่านี้ เมื่อผ่านกระบวนการหีบ และสกัดน้ำมันแล้วจะมีผลพลอยได้ หรือเศษวัสดุเหลือใช้ต่างๆ หลายชนิด เช่น กากเยื่อใยปาล์ม (Oil palm pericarp or palm press fiber) กากเนื้อในเมล็ดปาล์มน้ำมัน (oil palm kernel meal) กากปาล์มน้ำมัน (oil palm) และส่วนสุดท้าย คือ กะลาปาล์ม (palm nut shell) เศษวัสดุเหลือใช้ต่างๆ เหล่านี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่างๆ ได้หลายชนิด ได้แก่ กากเยื่อใยปาล์มสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิง ปุ๋ยหมัก เพาะเห็ด ส่วนของกะลาปาล์มนำไปเผาเป็นถ่าน ทำเป็นวัสดุปลูกต้นหน้าวัวและต้นกล้วยไม้ได้ และส่วนกากเนื้อในปาล์มใช้เป็นวัสดุเพาะเห็ด เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์

 อ.วีรชัย เพชรสุทธิ์

* อาจารย์สาขาวิชาการประมง (เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ) มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร

คำสำคัญ (Tags): #บทความวิชาการ
หมายเลขบันทึก: 67959เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2006 12:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 19:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท