ความหมายเบื้องหลังหน้ากาก: ทำไมหน้ากากอนามัยจึงฮิตในเอเชียและไม่นิยมในยุโรป


ย้อนกลับไปเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2019 ฉันไปเยี่ยมน้องสาวที่โรงเรียนประถมแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ในวันนั้น จะมีธงสีแดงขึ้นหน้าโรงเรียน ธงสีแดงนี้บ่งชี้ว่ากำลังเจอฝุ่น PM 2.5 ในอากาศ นักเรียนอายุน่าจะไม่เกิน 11 เดินเข้าในโรงเรียน

ในขณะที่พวกเขาชุมนุมบนสนามเพื่อสวดมนต์ พวกเราเจอภาพที่เหนือจริง นั่นคือ นักเรียนยืนแถวตรง ใส่กางเกงสีดำ เสื้อสีขาว หน้าของพวกเขามีหน้ากากอนามัยทุกชนิดและทุกสี พวกเขาบางคนใส่หน้ากากกันแก๊ส ที่มีการกรอง 2 ชั้น มีบางสิ่งที่น่าตกใจเกี่ยวกับหน้ากาก นั่นคือแบบจำลองของหน้ากากกันแก๊ส ที่ทำด้วยพลาสติก ทาสีที่เด็กๆชอบนั่นคือสีเหลืองและสีฟ้า

มันคือสิ่งที่เลวร้ายที่สุดที่ฉันเคยเจอ

หลังจากที่การสวดมนต์เสร็จสิ้น เด็กตัวเล็กๆคนหนึ่งที่สวมหน้ากากอนามัยเป็นรูปหมีสีชมพู วิ่งเข้ามาหาครูของเธอ คุณครูค่ะ เธอกระซิบดังจนพอให้ครูได้ยิน ทำไมพี่สาวของคุณถึงไม่ใส่หน้ากากคะ?

สิ่งนี้เกิดก่อนโคโรนาไวรัสระบาด กลับมาที่การเน้นที่ฝุ่น PM 2.5 ที่ตอนนี้คือการคุกคามของเรา อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุผลบางอย่าง ฉันรู้สึกละอาย

การเมืองของหน้ากาก

ตอนนี้มีการใส่หน้ากากอนามัยด้วยหลายเหตุผล มันแยกการแบ่งทางสังคมและเศรษฐกิจในเมืองไทย และเอเชียด้วย หน้ากากผ่อนคลายอารมณ์ และนำเสนอความเห็นทางการเมือง

สำหรับใครบางคน หน้ากากกลายมาแยกระหว่างรัฐบาลที่มีประสิทธิภาพกับไม่มีประสิทธิภาพ ภาพลักษณ์ที่กองทหารประเทศสิงคโปร์จัดหีบห่อหน้ากากฟรีๆไปแจกให้พลเมืองของเขากลายเป็นภาพที่แพร่กระจายในสื่อสังคมออนไลน์ และการที่ความไร้ประสิทธิภาพของประเทศไทยในการที่ไม่สามารถหาหน้ากากอนามัยให้ประชาชนแบบฟรีๆได้ก่อให้เกิดความไม่เชื่อใจของประชาชน

ยิ่งไปกว่านั้นอีก หน้ากากคือจุดเน้นของประชาชนที่เหยียดผิว ในแคนาดา, ฝรั่งเศส, และสหรัฐ โดยการเน้นที่ไปที่ความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่เข้ากันไม่ได้ระหว่างตะวันออกและตะวันตก

หน้ากาก ที่ไม่มีสิ่งใดไหนอื่นเทียบได้ เป็นสัญลักษณ์ในปี 2020 แต่มันมีหลายหน้าในรูปแบบเดียว คือเป็นทั้งการยุแหย่, การหลอกลวง, การป้องกัน, และความรับผิดชอบ

หากคุณดูประวัติศาสตร์ของหน้ากากในเอเชีย กูเกิ้ลจะชี้คุณให้ไปหา Quartz article มันเริ่มที่เป็นนิยมในปี 2014 และก็นิยมเรื่อยมา เรื่องเล่าที่ปรุงแต่งโดย นักข่าวชื่อ Jeff Yang มีอิทธพลต่อเรื่องเล่าอันต่อมาของการเกิดขึ้นของหน้ากาก นั่นคือจาก Dazed Digital ไปจนถึงหนังสือพิมพ์ South China Morning และหน้าวิกีพีเดียเรื่องหน้ากากอนามัย

เรื่องที่เล่าโดย Yang เป็นเรื่องง่ายๆ หน้ากากอนามัยเริ่มใช้กันอย่างแพร่หลายในญี่ปุ่นในช่วงปี 1918 ที่มีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าไข้สเปน ที่ฆ่าคนไปประมาณ 50 ล้านคน และกลายเป็นโรคระบาดที่ฆ่าผู้คนในประวัติศาสตร์โลก อย่างไรก็ตาม การสวมหน้ากาก ที่เริ่มจากเรื่องเล่ามาสู่ปรากฏการณ์ที่เป็นจริงก็ประมาณทศวรรษที่ 1950 เมื่อการอุตสาหกรรมที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นำไปสู่มลภาวะทางอากาศที่สุดแสนจะทน เมื่อเกาหลีใต้ และจีนมีประสบการณ์เรื่องอุตสาหกรรม การใช้หน้ากากจึงเป็นเรื่องที่เป็นปกติที่ใช้ในการกันมลภาวะ การใส่หน้ากากนี้เริ่มตั้งแต่กลุ่มเคป๊อบ และแฟชั่นระดับสูงในจีน ต่อมาการสวมหน้ากากจึงแพร่กระจายไปที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อกั้นภาวะที่มีพิษ

คำถามที่สำคัญคือ หากไข้หวัดใหญ่ปี 1918 เป็นจุดเริ่มต้นของการใส่หน้ากากแล้ว เหตุใดการใส่หน้ากากจึงไม่เป็นที่ยอมรับในตะวันตกด้วย?

การระบาดไข้หวัดใหญ่ปี 1918 ความตายในยุโรปตะวันออกและสหรัฐมากกว่าในญี่ปุ่น การใส่หน้ากากเคยใส่ทั่วทั้งยุโรปและสหรัฐโดยพวกแพทย์, เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น, และสาธารณชน ในซานดิเอโก้และซานดิโก้ หน้ากากเคยเป็นความจำเป็นที่ต้องใส่ ต่อมา ในตอนนี้ ประสิทธิภาพของการใส่หน้ากากในการกันเชื้อโรคถูกตั้งคำถาม และการใส่หน้ากากยังคงเป็นเรื่องปกติ

อย่างไรก็ตาม หลังจากการระบาดไปทั่งโลก การใส่หน้ากากในหมู่สาธารณชนในตะวันตกเริ่มหายไป เว้นแต่จะเกิดมลภาวะทางอากาศแบบเข้มข้นเท่านั้น อย่างกับการเกิดสม็อกในลอนดอนปี 1952

ในการอธิบายเรื่องความแตกต่าง Yang อธิบายว่าเป็นเรื่องของวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอิทธิพลของลัทธิเต๋า และคำแนะนำด้านสุขภาพอายุรแพทย์จีนในตะวันออกไกล ที่เป็นมูลฐานในความมีชื่อเสียงของหน้ากากในญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, และจีน

คำว่า Qi เป็นสังกัปศูนย์กลางในจักรวาลวิทยาของประเทศจีน คำนี้เกี่ยวข้องกับอากาศหรือบรรยากาศ ดังนั้นหน้ากากจึงเป็นต่อการกันลมที่มีพิษ หรือ feng ที่สามารถทำให้ Qi ของร่างกายอ่อนแอลงได้

นี่เป็นการตีความอันเดียว

แต่การเกิดขึ้นของหน้ากากในเอเชียและการหายไปของหน้ากากในตะวันตกน่าจะเป็นเรื่องพัฒนาการทางเศรษฐกิจมากกว่า แนวคิดของเอเชียเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม ที่มีอิทธิพลจากโรคซาร์ แต่แนวคิดเรื่องเสรีภาพในตะวันตกที่เน้นความเป็นพลเมืองเฉพาะตน

พัฒนาการแบบผสมและเหลื่อมล้ำ

การมีอุตสาหกรรมแบบรวดเร็ว หรือความต้องการผลผลิตแบบทุนนิยมสมัยใหม่ จะก่อให้เกิดมลภาวะจำนวนมาก ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นที่ที่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรก จะเป็นที่ที่เกิดวิกฤตการณ์มลภาวะก่อนใครเพื่อนในโลก ลอนดอนถูกซ่อนอยู่ในสม็อกพิษในครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20

ในช่วงเวลานั้น ผลทางสุขภาพที่เกี่ยวกับคุณภาพอากาศที่เป็นพิษไม่ได้รับความสนใจ และมีมาตรการในการป้องกันจำนวนน้อยมากโดยรัฐบาล และไม่พูดถึงสาธารณะนะ

ในปี 1918 มีการใส่ในรัฐธรรมนูญเรื่องวัฒนธรรมการใส่หน้ากาก ซึ่งมาจากทฤษฎีการแพร่ระบาดโรค ที่หมายความว่าคนในสังคมต้องใส่หน้ากากเป็นครั้งแรก การใส่นี้มีนัยยะว่าหน้ากากเป็นสัญลักษณ์แห่งการป้องกันและต่อสู้

ถึงแม้ว่าเอเชียจะไม่ถูกทำให้เป็นทันสมัยและเป็นอุตสาหกรรมเหมือนพวกฝั่งตะวันตก แต่สถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเมื่อสิ้นศตวรรษที่ 20 ประเทศจีนประกาศถึงเครื่องหมายสีแดง ที่พูดถึงมลภาวะเป็นประเทศแรกในปี 2015 และประเทศอื่นๆก็ไม่ทิ้งห่างกันนัก

สำหรับสังคมที่พัฒนาอุตสาหกรรมในช่วงหลังๆ มลภาวะทางอากาศเป็นสิ่งที่เป็นอันตราย และสาธารณชนสามารถหาเทคโนโลยีที่มีอยู่เพื่อการป้องกัน เช่นหน้ากาก ต่อมา นักเศรษฐศาสตร์พยากรณ์ถึง เส้น Kuznets สภาพแวดล้อม ระดับมลภาวะในประเทศตะวันตกจึงลดลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นหน้ากากจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ในชีวิตประจำวัน

หน้ากากมาถึงประเทศไทยได้อย่างไร?

อย่างไรก็ตาม จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หน้ากากไม่ได้แพร่ไปในภูมิภาคผ่านกระบวนการกลืนกลายทางวัฒนธรรม

จริงๆแล้ว มันเป็นเพราะวิกฤตโรคซาร์ ที่เปิดโอกาสให้ใส่หน้ากาก และมันจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของความรับผิดชอบส่วนตัวและสังคม

ในปี 2003 รายงานในนิตยสาร นักวิชาชีพที่ประกอบอาชีพแพทย์ 2 คนจากสมาคมการป้องกันสุขภาพจากอังกฤษ เดินทางสู่แมนเชสเตอร์ ไปที่ปารีส และมาที่เชียงใหม่เพื่อการประชุมที่เชียงใหม่ และนำเสนอของสองสิ่งได้แก่

หนึ่ง ไม่มีการระบุถึงโรคซาร์ในสนามบินอังกฤษและฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม เมื่อพวกเขามาลงที่กรุงเทพฯ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น, ตำรวจ, ผู้ทำความสะอาด กำลังสวมหน้ากาก

ในตอนนั้น มีคนตายจากโรคระบาดประมาณ 40 คน ซึ่งการระบาดถึงจุดสูงสุดในฮ่องกง และเริ่มระบาดในแผ่นดินใหญ่ การโต้ตอบที่จำกัดของตะวันตกคือการคิดว่าโรคซาร์เป็นอาการบาดเจ็บของเอเชียเท่านั้น นักข่าวชื่อ Ian Young ที่กำลังเขียนรายงานในฮ่องกงในตอนนั้นเขียนว่า สำหรับรุ่นทั้งหลายของชาวฮ่องกง โรคซาร์ส่งผลทางจิตคล้ายๆกับเหตุการณ์ 9/11 ความจริงเหมือนจะไม่จริง ไม่มีความกลัวใดเป็นไปไม่ได้

สอง หน้ากากถูกสนับสนุนโดยรัฐบาลเป็นอย่างมาก ในตอนนั้น คนไทยก็มีประสบการณ์ทางวัฒนธรรมน้อยกว่าชาวญี่ปุ่น ดังนั้นหน้ากากจะถูกใช้โดยดาราหรือผู้มีชื่อเสียง ถูกกระจายในรัฐสภา เจ้าหน้าที่ และนักข่าว อย่างไรก็ตามการใช้หน้ากากไม่ถูกสนับสนุนโดยองค์การอนามัยโลก และพวกหน้ากากก็ยังไม่ถูกใช้แบบประจำด้วย ยิ่งไปกว่านั้นโรคซาร์ยังไม่มีผู้ติดเชื้อในประเทศไทย

ในคำกล่าวทางการแพทย์ 2 ชิ้นเสนอว่า “หน้ากากกลายมาเป็นสัญลักษณ์ที่จับต้องได้ของความตั้งใจทั้งในแง่ส่วนบุคคลและสังคมเพื่อที่จะได้รับการควบคุม ถึงแม้ว่าคุณค่าของมันในเชิงสังคมจะถูกตั้งคำถามก็ตาม”

ถึงแม้ว่าจะไม่พูดถึงระดับที่อันตราย หรือประสิทธิภาพของมัน การสวมหน้ากากก็เป็นหน้าที่ทางสังคม คือการส่งนัยยะถึงความพร้อมเพรียงในสังคมที่ถูกทำร้าย และการตระหนักรู้ว่าชาติกำลังผจญกับวิกฤตการณ์สาธารณสุข

“มันเป็นการรับรู้ถึงความสำคัญของความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม โดยสมาชิกในชุมชน ที่มองว่าหน้ากากคือสิ่งที่ดีที่สุด

ทำไมตะวันตกกึงไม่ใช้หน้ากาก?

ในเวลาเดียวกับที่โรคซาร์กำลังแพร่กระจายในเอเชีย แต่ประเทศฝรั่งเศสผ่านกฎหมายห้ามการใช้ผ้าคลุมหน้าของมุสลิมในโรงเรียน

พวกตะวันตกมีวัฒนธรรมที่เป็นมาอย่างช้านานแล้วถึงการห้ามการปิดหน้าในที่สาธารณะ (ตรงนี้ไม่แน่ใจว่าจะเกิดจากประวัติศาสตร์เรื่องศาสนาคริสต์ หรือการฟื้นฟูความรู้หรือมไม่?)

พวกฝรั่งเศสและพวกฮอลแลนด์ ที่เมื่อก่อนห้ามเรื่องผ้าคลุม แต่ตอนนี้ห้ามหน้ากากในที่สาธารณะด้วย ที่น่าสนใจมากขึ้นก็คือ ในการลงโทษสำหรับการห้ามใส่ผ้าคลุมในประเทศฝรั่งเศส คือการศึกษาพลเมือง หน้ากากคือความเป็นอื่น และเชื่อมโยงไปสู่การไม่เป็นพวกยุโรป, การหายไปของความเป็นปัจเจก, และแนวคิดของพวกคริสต์เรื่องความเหมาะสมในพฤติกรรมสาธารณะ

ในอาณาเขตของความเป็นสาธารณะ หน้ากากมีนัยยะของการห้ามปราม แทรกแซงการยินยอมและการสนทนา หน้ากากมีนัยยะถึงการขาดการมีปฏิสัมพันธ์ในอาณาบริเวณสาธารณะในวิถีชาวตะวันตก และเป็นผู้ทรยศของรัฐเสรีนิยมที่กระทำแบบมีเหตุผล

หน้ากากเป็นสัญลักษณ์

จากการศึกษาประวัติศาสตร์ของหน้ากากอนามัย ที่มันแพร่หลายในเอเชียแต่ไม่นิยมในตะวันตก เราสามารถเข้าใจถึงเรื่องการเหยียดผิวในสังคมตะวันตกได้ดียิ่งขึ้น

จุดที่สำคัญที่สุดคือการปฏิสัมพันธ์โต้ตอบไม่ใช่ความเกลียดชังชาวต่างชาติเท่านั้น แต่พูดให้ลึกก็คือความแตกแยกทางวัฒนธรรมเหนือแนวคิดเรื่องหน้าที่พลเมืองด้วย

หน้ากากเป็นสัญลักษณ์ที่จับต้องได้ของความแตกต่างว่าประเทศใดจะอ้างความเป็นพลเมืองที่ดีในสังคมของตน ในประเทศไทย หน้ากากกลายมาเป็นความรับผิดชอบในส่วนบุคคลในขณะที่เกิดความทุกข์ยากทางสังคม ในตะวันตก หน้ากากคือสัญลักษณ์ของความกังวลใจ เป็นการกีดกันของการปรึกษาหารือแบบประชาธิปไตยในภาคสาธารณะด้วย

อย่างไรก็ตาม สัญลักษณ์ก็ไม่ใช่สิ่งที่กำหนดมาก่อน หรือความเสถียรด้วย เป็นวัตถุที่ประชาชนทำอะไรกับใคร การระบาดของโคโรนาไวรัสเกิดขึ้นท่ามกลางยุคการติดเชื้อที่ไม่ได้กำหนดมาก่อน และไม่มีการสนทนาแบบก้าวข้ามวัฒนธรรมถึงความหมายของหน้ากากมาก่อน ตอนนี้คือกระบวนการที่เราจะมาเรียนรู้เรื่องการเอาใจใส่แบบใหม่ และในภาวะที่โลกนี้กำลังอยู่บนคำสาป สิ่งนี้จึงจำเป็นต่อกันอย่างยิ่งยวด

แปลและเรียบเรียงจาก

Jasmine Chia. Meaning behind the mask: why the face mask is promoted in Asia but shunned in Europe

https://www.thaienquirer.com/7726/meaning-behind-the-mask-why-the-face-mask-is-promoted-in-asia-but-shunned-in-the-west/

หมายเลขบันทึก: 678205เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2020 18:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กรกฎาคม 2020 18:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

นักวิชาการคิดเยอะนะคะ .. ข้อดีที่ทำให้คนไทยยอมรับหน้ากากมากขึ้น เช่น ได้ควบคุมพฤติกรรมตนเอง พูดมากผ่านหน้ากากนั้นเหนื่อยมาก ก็พูดน้อยลง (สังคมเป็นสุข) ทำปากขมุบขมิบหรือเบ้ปากได้ (ดีต่อตนเอง) รู้ตัวว่าปากเหม็น ไปหาหมอฟันมากขึ้น (ดีต่อสุขภาพปาก) ฯลฯ (ฮา) .. ผ่อนคลายนะคพ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท