วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช

สรุปองค์ความรู้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM) ประจำปีการศึกษา 2562 ทั้ง 3 กลุ่มงาน


      ในปีการศึกษา 2562 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช ได้มีการจัดประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ครอบคลุมทั้ง 3 กลุ่มงาน ได้แก่ 1) กลุ่มงานวิชาการและกิจการนักศึกษา เรื่อง “การจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด : ผลลัพธ์ที่เกิดกับนักศึกษาและแนวทางการวัดประเมินผล” 2) กลุ่มงานวิจัยและบริการวิชาการ เรื่อง “การขอสนับสนุนเงินทุนการวิจัยจากภายในและภายนอก” และ3) กลุ่มงานอำนวยการและยุทธศาสตร์ เรื่อง “เทคนิคการบริการที่ดี” โดยมีผู้เชี่ยวชาญทั้งภายในและภายนอกองค์กรมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง และในทุกครั้งของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีการเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้ลงในเวปไซด์ KM ชุมชนของวิทยาลัย ฯ จากนั้นประชาสัมพันธ์ให้อาจารย์และเจ้าหน้าที่เข้าไปแสดงความคิดเห็น ทำให้สามารถสรุปองค์ความรู้เป็นแนวปฏิบัติของวิทยาลัยใน 3 ประเด็น ดังนี้

1. การจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด : ผลลัพธ์ที่เกิดกับนักศึกษาและแนวทางการวัดประเมินผล

  การจัดประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด : ผลลัพธ์ที่เกิดกับนักศึกษาและแนวทางการวัดประเมินผล ในปีการศึกษา 2562 สามารถสรุปองค์ความรู้เป็นแนวปฏิบัติของวิทยาลัยใน 3 ประเด็น ดังนี้

1. การกำหนดเป้าหมายที่จัดเจน

    การนำเทคนิคสะท้อนคิดไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน ควรมีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน เพื่อให้ง่ายต่อการหาเครื่องมือมาวัดและประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับนักศึกษา ซึ่งในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้พบว่ามีการนำเทคนิคสะท้อนคิดไปใช้เพื่อพัฒนานักศึกษาดังนี้

              1.1 พัฒนาทักษะการสะท้อนคิดของนักศึกษา

              1.2 เพื่อพัฒนาทักษะอื่น ๆ

                   1) พัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของนักศึกษาพยาบาล

                   2) พัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม

                   3) พัฒนาการปรับตัวของนักศึกษาในการให้การพยาบาลเด็ก

                   4) พัฒนาทักษะการทำหัตถการทางการพยาบาลของนักศึกษา

                   5) พัฒนาการตัดสินใจเชิงจริยธรรมในวิชาชีพพยาบาล

2. ทฤษฎีสะท้อนคิดที่นำมาใช้

              2.1 รูปแบบการสะท้อนคิดของกิ๊บส์ (Gibbs)เหมาะที่จะนำมาใช้กับนักศึกษาชั้นปี 3-4 เพราะมีประสบการณ์ในการฝึกภาคปฏิบัติ จึงสามารถสะท้อนคิดไปจนถึงขั้นวางแผนนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้ในอนาคต โดยรูปแบบการสะท้อนคิดของกิ๊บประกอบไปด้วย 6 ขั้นตอน ดังนี้

                  1) Description บรรยายจุดสำคัญของสถานการณ์ว่าอะไรเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดการสะท้อนคิด

                  2) Feelings รู้สึกอย่างไรกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

                  3) Evaluation วิเคราะห์ว่าความรู้สึกเกี่ยวกับสถานการณ์นั้นเป็นไปในทางบวกหรือทางลบอย่างไร

                  4) Analysis มีอะไรบ้างที่เป็นอุปสรรคหรืออะไรบ้างที่จะทำให้สถานการณ์นั้นดีขึ้น

                 5) Conclusions สรุปแนวทางแก้ไขปัญหาโดยใช้ประสบการณ์เดิม

                 6) Action plans การวางแผนนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้ในอนาคต

    2.2 รูปแบบการสะท้อนคิดของ Discroll เหมาะที่จะนำมาใช้กับนักศึกษาชั้นปี 1-2 เพราะยังไม่มีประสบการณ์ในการฝึกภาคปฏิบัติ และมีรูปแบบที่ง่ายไม่ซับซ้อน เป็นการตั้งคำถามเกี่ยวกับสถานการณ์เพื่อสะท้อนคิด ดังนี้

                   1) เกิดอะไรขึ้น (What?) เป็นการบรรยายเกี่ยวกับประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริง สิ่งที่เราเห็น สิ่งที่เราทำ ปฏิกิริยาตอบสนองของเราต่อเหตุการณ์นั้น และคนอื่น ๆ เช่น เพื่อนร่วมงาน ผู้ป่วยและครอบครัว         มีปฏิกิริยาตอบสนองอย่างไร อะไรคือประเด็นสำคัญในประสบการณ์นั้น

                   2) การวิเคราะห์ (So what?) เหตุการณ์นั้นมีผลกระทบต่อคุณและคนอื่นอย่างไรบ้าง ในเวลานั้นคุณรู้สึกอย่างไร วิเคราะห์ถึงผลทั้งด้านดีและไม่ดีที่จะเกิดขึ้นจากการเลือกทำหรือไม่ทำ ทั้งต่อตัวผู้ป่วยและเพื่อร่วมงาน เป็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบเทียบประสบการณ์กับเพื่อน ๆ ในกลุ่ม

                  3) การปฏิบัติให้ดีขึ้น (Now what?) ในสถานการณ์จะทำให้ดีขึ้นได้อย่างไร ต้องพัฒนาความรู้หรือทักษะอะไรบ้าง

3. รูปแบบวิธีการสะท้อนคิด 

     3.1 สะท้อนคิดโดยการบรรยาย นิยมใช้ก่อนและหลังการปฏิบัติการพยาบาล ตอน Pre-post conference หรือหลังจากการเรียนแบบ Simulation-Based Learning (SBL)

     3.2 สะท้อนคิดโดยการเขียนบรรยาย นิยมใช้หลังการปฏิบัติการพยาบาล

     3.2 สะท้อนคิดโดยการพูดบรรยายเป็นกลุ่ม 1-2-4-All นิยมใช้ในวิชาทฤษฎีที่เป็น Class ใหญ่

2. การขอสนับสนุนเงินทุนการวิจัยจากภายในและภายนอก

          การจัดประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นการขอสนับสนุนเงินทุนการวิจัยจากภายในและภายนอก สามารถสรุปองค์ความรู้เป็นแนวปฏิบัติของวิทยาลัยใน 8 ประเด็น ดังนี้

          1. วิจัยเป็นพันธกิจหนึ่งที่อาจารย์ทุกคนต้องปฏิบัติ เพื่อให้วิทยาลัยผ่านการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งภายใน (สบช) และภายนอก (สกอ. และสภาการพยาบาล) นอกจากนี้เพื่อให้อาจารย์จะสามารถเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรได้ (ตีพิมพ์อย่างน้อย 1 เรื่องในระยะเวลา 5 ปี)

          2. ติดตามการประชาสัมพันธ์ของแหล่งทุนผ่านเครือข่ายนักวิจัยและสื่อต่าง ๆ

          3. มีที่ปรึกษาเป็นผู้มีประสบการณ์ในการได้รับทุน

          4. การมีเครือข่ายการวิจัยที่ดีมีความสนใจในประเด็นคล้ายๆกัน และเป็นกัลยาณมิตรที่ดี มีความจริงใจต่อกัน ร่วมด้วยช่วยกันจนงานสำเร็จ

          5. มีเป้าหมายมีการวางแผนล่วงหน้าเรื่องเวลากับการทำงานให้ทันตามเป้าหมาย (Review, IRB, proposal)

          6. เรียนรู้ ผสมผสานตัวตนกับสิ่งใหม่ ๆ ที่ทันสมัยเพื่อให้ตรงใจผู้ให้ทุนแต่ไม่ลืมตัวตนว่าเราถนัดอะไร เราคือใคร (การไม่เป็นน้ำเต็มแก้ว)

          7. อ่านมาก รู้มาก เขียนได้ง่ายขึ้น ได้ใจเจ้าของทุน เพราะผลลัพธ์การตีพิมพ์ตามเวลาที่กำหนด (เป็นบันไดสู่การได้ทุนต่อไปเรื่อย ๆ)

          8. ข้อควรปฏิบัติในการเขียนโครงร่างวิจัยเพื่อขอสนับสนุนเงินทุนวิจัย

              8.1 ศึกษานโยบายของแหล่งทุนที่ต้องการจะขอสนับสนุนเงินทุนวิจัยเพื่อนำมากำหนดประเด็นการวิจัยของตนเอง

              8.2 เลือกประเด็นที่ตนเองเชี่ยวชาญหรือสนใจ จะทำให้ใช้เวลาในการเขียนน้อยลง มีความลุ่มลึกในงานเขียน และสามารถถ่ายทอดได้น่าสนใจ

              8.3 ศึกษาแบบฟอร์มของแหล่งทุนให้ละเอียด และเสนอโครงการวิจัยตามแบบฟอร์มทุกหัวข้อม

              8.4 การความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ต้องมีสถิติ แนวโน้ม ความรุนแรง เชื่อมโยงยุทธศาตร์ชาติ นโยบายรัฐบาล นโยบายกระทรวงสาธารณสุข นโยบายผู้ให้ทุน เขียนให้กระชับ สรุปสุดตอนท้าย และมีอ้างอิงชัดเจน

              8.5 เขียนวัตถุประสงค์การวิจัยให้ชัดเจน               

              8.6 ระเบียบวิธีวิจัย ต้องเหมาะสมกับโจทย์วิจัย

               8.7 งบประมาณค่าใช้จ่าย เขียนให้ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด สอดคล้องกับระเบียบวิธีวิจัย

              8.9 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ชัดเจน ไม่เกินจริง และมีประโยชน์ในวงกว้าง

              8.10 ส่งเอกสารทุกอย่างที่แหล่งทุนต้องการตามกำหนดเวลา

3. เทคนิคการบริการที่ดี

         การจัดประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นเทคนิคการบริการที่ดี สามารถสรุปองค์ความรู้เป็นแนวปฏิบัติของวิทยาลัยใน 5 ประเด็น ดังนี้

          1. การฝึกสติ

              1.1 ไม่นำอารมณ์ของผู้เกี่ยวข้องมาทำให้การทำงานเสียหาย

              1.2 ไม่ตอบโต้อารมณ์หรือคำพูดที่ไม่ดี

              1.3 คิดแง่บวก ปัญหามีไว้ให้แก้

              1.4 มองว่าวิทยาลัยให้สิ่งดี ๆ กับเราเยอะมาก ทั้งงานและสวัสดิการ ทำให้ครอบครัวมีกินมีใช้

              1.5 เราไม่สามารถควบคุมความรู้สึกของคนอื่นได้ แต่ต้องเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของเอง

          2. การสร้างความสุขในที่ทำงาน

              2.1 ให้บริการที่ดี สุดท้ายผู้รับบริการจะชื่นชมเราเอง

              2.2 จัดการความเครียดในการทำงานอย่างเหมาะสม เช่น ฟังเพลง

          3. ความเข้าใจเพื่อนร่วมงานทุกระดับ

              3.1 มีทักษะการประสานงาน ทำให้ได้รับความร่วมมือกับทุกฝ่าย

              3.2 แม้บ้างครั้งในการทำงาน อาจมีความขัดแย้งกันบ้าง แต่การที่เราพุดคุยกันตรง ๆ ไม่นินทาลับหลัง คิดและมองคนอื่นในแง่ดี จะทำงานให้สำเร็จ

              3.3 บอกระยะเวลาทีชัดเจนว่าจะส่งงานให้เมื่อไร

              3.4 ทำงานเป็นทีมและแบ่งงานกันทำ

              3.5 มองเพื่อนร่วมงานว่าเป็นครอบครัวเดียวกัน

          4. การมีจิตอาสา

              4.1 หากแผนกอื่นมีงานเร่งด่วนก็ยินดีความช่วยเหลือ

              4.2 เน้นการช่วยเหลือกันในการทำงาน ให้งานสำเร็จลุล่วง

          5. การสร้างแรงบันดาลใจ

              5.1 การเป้าหมายของการทำงาน คือ งานต้องเสร็จและสำเร็จ

              5.2 การเรียงลำดับความสำคัญของงานก่อนหลัง และพยายามทำงานให้เสร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ในแต่ละวัน

              5.3 มีความสุขในการทำงาน ดีใจที่มีผู้มารับบริการ ยิ้มสู้กับงาน งานจะหนักจะเบาก็อดทน พูดน้อย ไม่เครียดกับงาน ทำงานไปเรื่อย ๆ 

หมายเลขบันทึก: 678204เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2020 14:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 สิงหาคม 2020 09:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เห็นความต่อเนื่องของการจัดการความรู้ของวิทยาลัย ที่ทำให้ได้แนวปฏิบัติที่สามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้

เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ดีและต่อเนื่อง ได้นำองค์ความรู้ไปในการจัดการให้เป็นองค์กรที่่มีคุณภาพ

เป็นเวทีที่ช่วยส่งเสริมศักยภาพของบุคลากรของวิทยาลัย เกิดแรงบันดาลใจ แนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานต่อไป

เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ดีมาก มีประโยชน์มาก สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนในยุคปัจจุบันได้ดีมากค่ะ และขอชื่นชมทีมงานผู้จัดการประชุมทุกท่านค่ะ

การจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด มีประโยชน์มากเลยคะ เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่ช่วยให้นักศึกษาได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ แก้ไขจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในการฝึกปฏิบัติ

ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้นี้มีความน่าสนใจและทำให้อาจารย์ได้รับความรู้มากขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท