รากฐานปรัชญา


มคอ. 3 รายละเอียดรายวิชา

Course  Specification

รหัสวิชา  112 104 ชื่อวิชารากฐานปรัชญา

(  Fundamental  of  Philosophy )

รายวิชานี้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชามหายานศึกษา  ( หลักสูตรนานาชาติ )

หลักสูตรปรับปรุง  พ.ศ. 2561

สถาบันสมทบมหาปัญญาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สารบัญ

หมวด                                                                                                                                         หน้า

หมวด  1  ข้อมูลทั่วไป

หมวด  2  จุดหมายและวัตถุประสงค์

หมวด  3  ลักษณะและการดำเนินการ

หมวด  4  การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนิสิต

หมวด  5  แผนการสอนและการประเมินผล

หมวด  6  ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

หมวด  7  การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา

รายละเอียดของรายวิชา

( Course  Specification )

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา      : มหาหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา  : สถาบันสมทบมหาปัญญาวิทยาลัย

หมวดที่ 1 ข้อมูลโดยทั่วไป

1. รหัสและชื่อรายวิชา

        รหัสวิชา  ชื่อวิชา112 104 ชื่อวิชารากฐานปรัชญา   (  Fundamental  of  Philosophy )

2. จำนวนหน่วยกิจ

        3(3-0-6)

3. หลักสูตรและประเภทของรายวิชา  หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชามหายานศึกษา  ( หลักสูตรนานาชาติ )
        วิชา  บังคับ

4. อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา และอาจารย์ผู้สอน
        อาจารย์ ดร. อุทัย  เอกสะพัง

5. ภาคการศึกษา/ชั้นปีที่เรียน

        ชั้นปีที่  1-4

6. รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pro-requisite)

        ไม่มี

7. รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน ( Co-requisite)

        ไม่มี

8. สถานที่เรียน

         สถาบันสมทบมหาปัญญาวิทยาลัย

9. วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด

         พ.ศ. 2561

หมวดที่ 2 จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์

1. จุดมุ่งหมายของรายวิชา : เพื่อให้ผู้เรียน

  • 1) มีความรู้ความสามารถในศาสตร์ของปรัชญาศาสนา  และเป็นพลเมืองดีมีคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบ ตามที่สังคมพึงประสงค์
  • 2) สามารถนำหลักแนวคิดทางปรัชญาไปอธิบาย วิเคราะห์ วิจัย ประเด็นทางสังคมวิทยาได้อย่างมีวิจารณญาณ  บนพื้นฐานของความรู้  เหตุผล  คุณธรรม  และมีเจตคติที่ดีต่อสังคม
  • 3) มีคุณลักษณะที่เหมาะสมกับความเป็นครูทางปรัชญาศาสนา  มีทักษะและเทคนิคในการจัดการเรียนรู้  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรมได้อย่างมีคุณภาพ

2.วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา

เพื่อผลิตบัณฑิตทางการปรัชญาศาสนา  สาขาวิชามหายานศึกษา  ที่มีคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมประเทศชาติ

หมวดที่ 3  ลักษณะและการดำเนินการ

1 . คำอธิบายรายวิชา

           ศึกษารากฐานทางปรัชญาเช่น  อภิปรัชญา  ญาณวิทยา  จริยศาสตร์  สุนทรียศาสตร์  และประยุกต์สิ่งที่สำคัญที่มาจากรากฐานทางปรัชญาใช้กับหลักการใช้ดำรงชีวิตประจำวัน

2 . หัวข้อและชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา

บรรยาย

สอนเสริม

การฝึกปฏิบัติ/งาน ภาคสนาม/การฝึกงาน

การศึกษาด้วยตนเอง

45  ชั่วโมง/ภาคการศึกษา

-

-

90  ชั่วโมง/ภาคการศึกษา

3. จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นิสิตเป็นรายบุคคล

            1.ชั่วโมง/สัปดาห์  โดยการประกาศให้นิสิตทราบทางอินเทอร์เน็ต

หมวดที่ 4  การพัฒนาการเรียนรู้ของนิสิต

1 . ด้านคุณธรรม  จริยธรรม

     1.1  คุณธรรม  จริยธรรมที่ต้องพัฒนา

            ( 1 )  มีคุณธรรมจริยธรรม  โดยเน้นความมีวินัย  ซื่อสัตย์สุจริต  เสียสละ  สุภาพ อ่อนน้อมถ่อมตน ขยันและอดทน  และยึดหลักธรรมในการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง

            (  2 )  มีจิตสำนึกรับผิดชอบในหน้าที่ต่อตนเองและสังคม

            ( 3  )  ตระหนักและเห็นคุณค่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในสังคมพหุวัฒนธรรม  รวมถึงการเคารพสิทธิมนุษยชน

            (  4 )  มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ

1.2  กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านคุณธรรมและจริยธรรม

       สอดแทรกกาสร้างจิตสำนึกด้านคุณธรรมจริยธรรมเข้าไปในเนื้อหาวิชาผ่านการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ

1.3  กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม

       ( 1 )  วินัยในการเข้าชั้นเรียนและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน

       ( 2 )  วินัยในการส่งงานตรงเวลา  มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย

       ( 3 )  การให้ความร่วมมือกับเพื่อนร่วมชั้นในการทำงานกลุ่ม

2. ด้านความรู้

       2.1  ผลการเรียนรู้ด้านความรู้ : รอบรู้  มีโลกทัศน์  เข้าใจธรรมชาติ  ตนเอง  ผู้อื่นและสังคม

นิสิตรู้และเข้าใจถึงความสัมพันธ์ทางสังคมอันซับซ้อน  มีจิตสำนึกทางหลักธรรมทางศาสนา  เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต

           ( 1 ) มีความรู้และความเข้าใจในศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ  ชีวิตและสังคม

           ( 2 ) มีโลกทัศน์ที่กว้างไกล  สามารถบูรณาการศาสตร์ต่าง ๆ  ไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาตนเองและสังคมได้

           ( 3 ) มีความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ผ่านการประยุกต์แนวคิด  ทฤษฎี  และหลักธรรมทางศาสนาเพื่อสอดคล้องกับการดำเนินชีวิต

2.2 กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านความรู้

       ให้ความสำคัญกับการสอนที่เรียนรู้ร่วมกัน  ผ่านวิธีการสอนที่หลากหลายทั้งการบรรยาย  การอภิปราย  การศึกษาค้นคว้า  การทำรายงาน  ตลอดถึงการนำเสนอประเด็นทางด้านจริยธรรมและคุณธรรม

2.3 กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านความรู้

     ผสมผสานรูปแบบการประเมินในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

        ( 1 ) การทำงานกลุ่มและแบบฝึกหัดย่อย

        ( 2 ) การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน

        ( 3 ) ประเมินจากรายงานที่ได้รับมอบหมาย

        ( 4 ) ประเมินจากกิจกรรมในชั้นเรียน

3. ทักษะทางปัญญา

     3.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา : มีความสามารถในการคิด  วิเคราะห์  คิดอย่างมีวิจารณญาณ  คิดสร้างสรรค์  คิดแก้ไขปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ  สมเหตุสมผล  มีความใฝ่รู้เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต

          ( 1 ) มีกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ  คิดอย่างมีวิจารณญาณ  คิดสร้างสรรค์  คิดแก้ไขปัญหา  และตัดสินใจอย่างมีเหตุผล

          ( 2 ) มีความมุ่งมั่น  ใฝ่รู้  เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต  และสามารถนำความรู้ไปเชื่อมโยงกับภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างสรรค์สังคม

          ( 3 ) การปฏิบัติงานแบบมีส่วนร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาในการดำเนินชีวิต

          ( 4 ) การประยุกต์ความรู้และทักษะเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาในการดำเนินชีวิต  รวมทั้งการสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้สอดคล้องกับการพัฒนาสังคมมนุษย์

      3.2 กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา

          ( 1 )  การบรรยายและการเรียนรู้ผ่านสื่อ

          ( 2 )  การค้นคว้าและการอภิปรายกลุ่ม

          ( 3 )  การทำโครงการ  การศึกษาเฉพาะกรณี  และการจัดกิจกรรมในชั้นเรียน

     3.3 วิธีการประเมิน

       ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนิสิต  ได้แก่  การทำรายงานและการนำเสนอ  การดำเนินโครงการ  การสอบระหว่างภาค  และการสอบปลายภาค

4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

     4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา

นิสิตมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่าง ๆ ในสังคม  โดยนิสิตมีคุณสมบัติดังนี้

           ( 1 ) เคารพระเบียบสังคม  และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง  ชุมชน  และสังคม

            ( 2 ) มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี  เคารพและให้คุณค่าแก่ตนเองและผู้อื่น

            ( 3 ) มีจิตอาสาและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและสมาชิกของสังคม

            ( 4 ) เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับสมาชิกในสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้อย่างมีความสุข

            ( 5 ) มีความสามารถในการนำความรู้ในสาขาวิชาของตนมาใช้ในการพัฒนาสังคมได้อย่างเหมาะสม

4.2 วิธีการสอน

        เน้นการจัดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมเรียนรู้ร่วมกัน  อันก่อให้เกิดทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบดังต่อไปนี้

        ( 1 ) สามารถทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

        ( 2 ) มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย

        ( 3 ) สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี

        ( 4 ) มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป

        ( 5 ) มีภาวะความเป็นผู้นำ

4.3 วิธีการประเมิน

        ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนิสิตในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน  และสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ

5 . ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข  การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี

        5 . 1 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข  การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีที่ต้องพัฒนา

นิสิตมีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข  การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีขั้นต่ำดังนี้

            ( 1 ) มีความสามารถในการสืบค้นรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์  สังเคราะห์  สรุปประเด็นนำเสนอและสื่อสารโดยใช้ภาประจำชาติและภาษาที่สองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

            ( 2 ) สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศอย่างเหมาะสมและรู้เท่าทัน

5.2 วิธีการสอน

        การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  ให้นิสิตมีส่วนร่วมในการบริหารในชั้นเรียนมีการอภิปรายกลุ่มเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

5.3 วิธีการประเมิน

        กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข  การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี

            ( 1 ) การประเมินจากเทคนิคการนำเสนอ  การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ  หรือคณิตศาสตร์และสถิติที่เกี่ยวข้อง

            ( 2 ) การประเมินจากความสามารถในการอธิบายข้อจำกัด  เหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่าง ๆ การอภิปรายที่มีการนำเสนอในชั้นเรียน

6 . ด้านคุณภาพชีวิต

        6 . 1 ผลการเรียนรู้ด้านคุณภาพชีวิต : มีสุขภาพกาย  สุขภาพจิตที่ดี  มีสุนทรียภาพ  ตระหนักในคุณค่าและมีสำนึกด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม  ธรรมชาติ  และสิ่งแวดล้อม

            ( 1 ) รู้วิธีการดูแล  รักษาสุขภาพกาย  สุขภาพจิต  สังคม  อารมณ์  และปัญญา

            ( 2 ) มีทัศนคติที่เปิดกว้างต่อการรับรู้ถึงความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม

            ( 3 ) สนใจใฝ่รู้และสืบสานศิลปวัฒนธรรม

            ( 4 ) ตระหนักถึงคุณค่าของธรรมชาติ  และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

            ( 5 ) มีความซาบซึ้งทางสุนทรียภาพและสามารถนำไปใช้ในชีวิตอย่างสมสมัย

6.2 กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านคุณภาพชีวิต

            ( 1 ) เน้นการจัดการเรียนการสอนให้นิสิตปฏิบัติงานร่วมกันเป็นกลุ่มที่มีความหลากหลาย  ซึ่งจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

            ( 2 ) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  ให้นิสิตได้วิเคราะห์กรณีตัวอย่างและอภิปรายเพื่อนำเสนองานที่เหมาะสมร่วมกัน

6.3 กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณภาพชีวิต

        ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนิสิตในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียนและสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ

หมวดที่ 5  แผนการสอนและการประเมิน

1 . แผนการสอน

สัปดาห์

ที่

หัวข้อ/รายละเอียด

จำนวน*

(ชั่วโมง)

กิจกรรมการเรียนการสอนและสื่อที่ใช้

ผู้สอน

1

- แนะนำประมวลรายวิชา

- ตกลงกติกาของชั้น

- สนทนาความมุ่งหมายในการเรียน

3

- แจกประมวลรายวิชาให้กับนิสิต

2-3

บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานทางปรัชญา

6

บรรยาย/อภิปราย/อินเทอร์เน็ต

4-5

บทที่ 2 ความรู้พื้นฐานทางปรัชญาอินเดีย

6

บรรยาย/อภิปราย/อินเทอร์เน็ต

6-7

บทที่ 3 ความรู้พื้นฐานทางอภิปรัชญา

6

บรรยาย/อภิปราย/อินเทอร์เน็ต

8

สอบกลางภาค

3

9-10

บทที่ 4 ความรู้พื้นฐานทางญาณวิทยา

6

บรรยาย/อภิปราย/อินเทอร์เน็ต

11-12

บทที่ 5 ความรู้พื้นฐานทางจริยศาสตร์

6

บรรยาย/อภิปราย/

อินเทอร์เน็ต

13-14

บทที่ 6 ความรู้พื้นฐานทางสุนทรียศาสตร์

6

บรรยาย/อภิปราย/

อินเทอร์เน็ต

15-16

บทที่ 7 การประยุกต์ปรัชญาใช้ดำรงชีวิต

6

บรรยาย/อภิปราย/

อินเทอร์เน็ต

17-19

บทสรุป / สอบปลายภาค

9

2 . แผนประเมินการเรียนรู้

ลำดับการ

ประเมิน

ลักษณะการประเมิน

(เช่น สอบ รายงาน ฯลฯ)

สัปดาห์ที่

ประเมิน

สัดส่วนของ
คะแนนที่

ประเมิน

หมายเหตุ

1

คำถามและกิจกรรกลุ่มท้ายบท

ประเมินด้านความรู้
- มีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมทางศาสนา
- มีโลกทัศน์ที่กว้างไกล สามารถบูรณาการศาสนาต่าง ๆได้
-มีความสามารถเชื่อมโยงความรู้ทางศาสนา

10

2

การจัดทำรายงานศึกษาค้นคว้า
การประเมินด้านทักษะปัญญา
- มีการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและตัดสินใจอย่างมีเหตุผล
- ประยุกต์ความรู้ในการแก้ปัญหาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของสังคม
ด้านการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยี
- มีความสามารถวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลและสื่อสารโดยใช้ภาษาอย่างมีประสิทธิภาพ
- สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศอย่างเหมาะสมและรู้เท่าทัน

20

3

การสอบกลางภาค
ประเมินด้านความรู้
- มีความรู้และความเข้าใจในหลักธรรมทางศาสนา
- มีโลกทัศน์ที่กว้างไกล สามารถบูรณาการ ศาสนาได้
-มีความสามารถเชื่อมโยงความรู้ทางศาสนาให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิต

ตามปฏิทินมทษ.

10

4

สอบปลายภาค
ประเมินด้านความรู้
- มีความรู้และความเข้าใจในหลักธรรมทางศาสนา
- มีโลกทัศน์ที่กว้างไกล สามารถบูรณาการ ศาสนาได้
-มีความสามารถเชื่อมโยงความรู้ทางศาสนาให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิต

ตามปฏิทินมทษ.

60

หมวดที่ 6 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

1 . เอกสารและตำราหลัก  ....

2 . เอกสารและข้อมูลสำคัญ

        กีรติ  บุญเจือ. ปรัชญาสำหรับผู้เริ่มเรียน.  พิมพ์ครั้งที่ 6  . กรุงเทพ ฯ : ไทยวัฒนาพานิช ,2531.

        กีรติ  บุญเจือ. ปรัชญาเบื้องต้น . กรุงเทพ ฯ : ไทยวัฒนาพานิช ,2521.

        กีรติ  บุญเจือ. ศาสนศาสตร์เบื้องต้น . กรุงเทพ ฯ : ไทยวัฒนาพานิช ,2532.
         พระธรรมปิฎก ( ป.อ.ประยุตฺโต ). พุทธธรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช

        วิทยาลัย,2546.

         พระราชวรมุนี ( ประยุทธ์ ประยุตโต ). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 5.

        กรุงเทพ ฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์ ,2528.

         พุทธทาสภิกขุ.คู่มือมนุษย์.กรุงเทพ ฯ : สหธรรมิก, 2501.

         วิทย์  วิศทเวทย์.  ปรัชญาทั่วไป . พิมพ์ครั้งที่ 11 . กรุงเทพ ฯ : ไทยร่มเกล้า.

         แสง จันทร์งาม. ประทีปธรรม. กรุงเทพ ฯ: กมลการพิมพ์,2526.

        .................... ศาสนศาสตร์ .กรุงเทพ ฯ: ไทยวัฒนาพานิช ,2534.

Alburey  Castell  and  Donald  M. Borehert . An  Introduction  to  Modern  Philosophy  in  eight 

         philosophical  problems. 3d  ed. New  York : 1976.

D. A.  Gangadhar . Essays  in  Philosophy  of  Religion.  Varanasi : Vishwavidyalaya  Prakashan . India.

          1980

John  Hospevs . An  Introduction  to  Philosophical  Analysis. New  Delhi : Pvt.Ltd. India. 1988.

Uthai  Eksaphang . Analytical  Study  of  Karma,  Hell  and  Heaven  in  Buddhism. Varanasi :

            Banaras  Hindu  University . India. 1994

3 . แหล่งค้นคว้าแนะนำ

ตำรา  เอกสารวิชาการ ด้านปรัชญาศาสนา  ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ

วารสารทางปรัชญาศาสนาที่ผลิตโดยมหาวิทยาลัยที่ได้รับการยอมรับทั้งในไทยและต่างประเทศ

หมวดที่ 7 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา

1 . กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนิสิต

       นิสิตกรอกแบบประเมินและแสดงความคิดเห็นผ่านระบบการประเมินของมหาวิทยาลัย

2 . กลยุทธ์การประเมินการสอน

  • (1)  ประเมินจากวินัยในการเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน และการให้ความร่วมมือในการ

ทำงานกลุ่มกับเพื่อนร่วมชั้น

  • (2)  ประเมินจากผลคะแนนสอบ

3 . การปรับปรุงการสอน

  • (1)  ปรับปรุงการสอนโดยรับฟังความคิดเห็นของนิสิต คณะอนุกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา

คณะกรรมการประจำหลักสูตร และเพื่อนอาจารย์ที่ทำการสอนในรายวิชาใกล้เคียงกัน

  • (2)  หาประสบการณ์จากการสอนร่วมกับอาจารย์ท่านอื่น ๆ หรือทำงานร่วมกับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ

4 . การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนิสิตในรายวิชา

        คณะอนุกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา และคณะกรรมการประจำหลักสูตร ตรวจสอบผลการเรียนรู้ของนิสิต โดยตรวจสอบจากแผนการสอน ข้อสอบ วิธีการให้คะแนน และค่าระดับขั้น

5 . การดำเนินการทบทวนและการงวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา

        ดำเนินการทบทวนและวางแผนปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี

หมายเลขบันทึก: 678176เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2020 23:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กรกฎาคม 2020 14:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท