ที่ดินวัดในพุทธศาสนา


ที่ดินวัดในพุทธศาสนา

ที่ดินในพุทธศาสนาถือว่าเป็นที่อยู่อาศัยของพระภิกษุเป็นที่บำเพ็ญกุศลของพุทธศาสนิกชนและกิจกรรมอื่นๆอีกมากมายของขุมชนและสังคม มีเป้าหมายหลักๆ ๒ ประการคือ ๑) สำหรับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา  ๒) สำหรับเป็นที่พักของพระสงฆ์จากจตุรทิศ โดยรัฐได้แต่งตั้งให้ภิกษุรูปหนึ่งเป็นเจ้าอาวาส(เจ้าพนักงาน) ทำหน้าที่บริหารจัดการวัดตามหลักพระธรรมวินัยและนิติรัฐ

หลักธรรมที่เจ้าอาวาสใช้เพื่อการจัดการที่ดินวัดในพุทธศาสนามี ๒ อย่าง คือ ๑) หลักธรรมสำหรับผู้ปกครองวัด คือหลักอปริหานิยะธรรมเป็นหลัก  ๒) หลักธรรมสำหรับผู้อยู่ร่วมกันในวัด   ส่วนใหญ่ใช้หลักสังคหะวัตถุสี่ การได้ที่ดินของวัด คือได้มาตามหลักของกฎหมาย ฐานะของวัดและการถือครองที่ดินของวัด อันมีผู้ศรัทธาบริจาคที่ดินเพื่อสร้างวัด ประเภทของที่ดินของวัดมี ๓ อย่าง คือ ๑) ที่วัด ๒) ที่ธรณีสงฆ์ และ ๓) ที่กัลปนา

กรรมสิทธิ์ในที่ดินของวัดเป็นไปตามประมวลกฎหมายที่ดิน และการคุ้มครองที่ดินของวัดมี ๔ อย่าง คือ ๑) ลักษณะที่ดินของวัด ๒) การห้ามโอนที่ดินของวัด ๓) การห้ามยกอายุความขึ้นสู้กับวัด และ ๔) การห้ามบังคับคดีกับที่ดินของวัด

การจัดการที่ดินของวัดในสังคมไทย มีมาตั้งอดีตกาลจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการขัดแย้ง การฟ้องร้อง การขอคืน ที่ดินทับซ้อน การโอน แม้กระทั่งเรื่องการขายให้วัดทั้งๆมีโฉนดถูกต้อง แต่วัดก็ยังต้องแพ้คดีความ ปัญหาทั้งหลายทั้งปวงในเรื่องที่ดินวัด ก็ด้วยความเมตตา กรุณผ่านการประนีประนอม ของผู้ครองวัดคือเจ้าอาวาสในฐานะเจ้าพนักงานของรัฐ หากแต่ขาดการยึดมั่นเด็ดขาดตามหลักนิติรัฐ ประกอบกับความต้องการของชาวบ้านที่ฉาบทาไว้ด้วยผลประโยชน์ จึงเป็นเหตุให้ที่ดินวัดถูกลิดรอนไป อันมิใช่เพื่อสาธารณประโยชน์ ปัญหาเหล่านี้ยังจะมีอีกต่อไปหาก เจ้าอาวาสยังขาดความรอบรู้ในกฎหมาย.  

หมายเลขบันทึก: 678145เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2020 15:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มิถุนายน 2020 15:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี