โชเปนฮาวเออร์ (Arthur Schopenhauer)


โชเปนฮาวเออร์ (Arthur Schopenhauer)

นักปรัชญาเยอรมันแห่งศตวรรษที่19ที่ว่าด้วยเจตจำนงค์ในฐานะของสิ่งที่เป็นจริงในตัวเอง

(Will-in-itself) ดังตัวอย่างที่อาจยกมาเปรียบเทียบได้ดังเช่น

พระผู้เป็นเจ้าแห่งศาสนาคริสต์ พรหมมันหรืออาตมันของพวกฮินดู

หรือพระนิพพานของพุทธศาสนา อันมีอยู่นอกกาล-อวกาศ (space-time)

ที่มิอาจหยั่งถึงได้ด้วยมลฑณแห่งความเข้าใจหรือความรับรู้ของมนุษย์

อย่างไรก็ดีเจตจำนงดังว่านี้ได้สำแดงตนออกมาในเชิงปรากฏการณ์ธรรมชาติที่รับรู้และสัมผัสได้

ราวกับว่าเป็นโลกที่สร้างขึ้นและกำหนดขึ้นให้ดำเนินไปโดยพระผู้เป็นเจ้า

โดยแสดงออกมาทั้งในรูปของความเชื่อมโยงกันเป็นหนึ่งเดียว (totality)

ของโลกแห่งกายภาพ( physical universe) และในรูปของความต้องการที่จะมีอยู่(

the will to exist)

อีกทั้งรวมไปถึงการกระทำเพื่อดิ้นรนให้เกิดพัฒนาการไปในทางที่ดีขึ้นอย่างไม่หยุดยั้งตามแต่บริบทชีวิตจะพาไป

โชเปนฮาวเออร์นั้นเป็นผู้ที่มีความหยั่งรู้ (อัชฌัตติกญาณ)

และความลึกซึ้งในทางอารมณ์มากกว่านักปรัชญาคนอื่นๆ

และเขาได้ทำการสถาปนาสิ่งที่เขาใคร่ครวญออกมาเป็นหลักเหตุผลที่เพียงพอสี่ประการ

ยิ่งไปกว่านั้นโชเปนฮาวเออร์ได้ยืนกรานต้านคำสอนบางจุดของอิมมานูเอล

ค้านท์ ที่เขาได้ศึกษามาเป็นอย่างดี

ว่าด้วยอภิปรัชญา/ความจริงสูงสุด/สิ่งที่เป็นจริงในตัวเองไม่สามารถถูกรับรู้ได้ด้วยความรู้ที่มีอยู่ก่อนประสบการณ์หรือด้วยสติปัญญาของมนุษย์เพียงเท่านั้น

แต่เขายืนกรานว่าร่างกายของมนุษย์นี้แหละคือประสบการณ์จากการแสดงออกของเจตจำนงค์โดยตรงต่อปัจเจกบุคคลใดๆ(เป็นอัตวิสัย

และเป็นปัจจัตตัง) ซึ่งประเด็นนี้จะเป็นกุญแจไปสู่อภิปรัชญาได้

จะเป็นการเปิดม่านแห่งภาพมายาของชีวิตเพื่อคลี่คลายแก่นแท้ของสัจจะออกมา

โชเปนฮาวเออร์อธิบายว่าสิ่งที่คนเราเรียกว่าการกระทำ/กิริยา/การแสดงออก

นั้นคือ เจตจำนงค์ที่ถูกมองจากมุมมองของด้านนอก (external aspect)

โดยที่ทั้งการกระทำกับเจตจำนงค์นั้นเป็นสิ่งเดียวกันและเป็นหนึ่งเดียว

ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของการประสานงานกันของอวัยวะในร่างกายมนุษย์

คือเจตจำนงค์ที่ถูกรับรู้ได้(เจตจำนงค์ในฐานะของสิ่งที่เป็นจริงในตัวเองที่เป็นนามธรรม

ถูกสำแดงให้รับรู้ในโลกปรากฏการณ์ได้ออกมาเป็นร่างกายมนุษย์ กล่าวได้ว่า

เป็นเจตจำนงคค์อันกลายเป็นภาพแสดงแทน(representation)

อีกทั้งถูกแปรรูปให้เป็นสิ่งที่รู้และสัมผัสได้(“translated into

perception.”)

ผลพวงอย่างหนึ่งจากหลักปรัชญานี้อาจแถลงได้ว่า

เนื่องจากเพราะว่าเจตจำนงนั้นเป็นสิ่งที่บีบคั้น ไม่เคยรู้จักหยุดรู้จักพอ

และโดยรวมๆแล้วเป็นสิ่งที่มนุษย์ตีตราว่าเป็นสิ่งที่บาปและชั่วร้าย

คุณภาพเหล่านี้แทรกซึมเข้ามาในการมีอยู่ของมนุษย์เช่นกัน

มันดูเหมือนกับว่าไม่เห็นจะมีเหตุผลอะไรที่เจตจำนงจะสถาปนาตนเองออกมาเป็นจักรวาลทั้งปวง

แต่เนื่องจากว่า สิ่งเหล่านี้ได้เกิดขึ้นมาแล้วจริงๆ

พวกเราอันเป็นร่างอวตารย่อยๆออกมาจากมันอีกทีหนึ่งได้แสดงถึงความขัดแย้ง

ความทุกข์ และความไม่เคยพอ ซึ่งคอยวิ่งไล่ตามแรงขับดันที่ไร้จุดหมาย

ไร้เหตุผล และไร้จุดสิ้นสุด ที่พลังของเจตจำนงนั้นมอบให้แก่เรา

โดยสรุปแล้วมนุษย์คือเจตจำนงค์ในฐานะสิ่งที่กลายเป็นสิ่งที่ถูกรับรู้ได้

เจตจำนงซึ่งเป็นแรงร้ายๆ

และมันมีความหวังเพียงริบหรี่ในชีวิตที่จะรอดพ้นจากมันได้

โชเปนฮาวเออร์กล่าวว่า

“จุดมุ่งหมายโดยตรงและฉับพลันซึ่งๆหน้าของชีวิตนั้นคือความทุกข์”

เพราะอย่างนี้นั่นเองปรัชญาของโชเปนฮาวเออร์จึงให้คุณค่ากับความสูญ

ความไม่ต้องมีต้องเป็นอะไรเลย การปฏิเสธสภาวะใดๆและความมีอยู่ ความเป็นไป

และสถานะสูงสุดของหลักจริยธรรมของเขาก็คือการบำเพ็ญพรตวิถีเพื่อขจัดกิเลสและเจตจำนงของปัจเจกบุคคล

มากไปกว่านั้นเขายังได้เน้นย้ำถึงคุณค่าของสุนทรียะที่จะโน้มให้เราออกห่างจากความทุกข์

โดยผ่านศิลปะและดนตรี ซึ่งจะทำให้ปัจเจกบุคคลใดๆรู้สึกถึงความหลุดพ้น

ความสงบภายใน

และเป็นอิสระจากความต้องการของเจตจำนง(กิเลส)ที่ไม่เคยให้เราได้พักผ่อน

ที่ไม่เคยรู้จักพอ

ผลพวงสืบต่อมาอีกของคำสอนจากโชเปนฮาวเออร์ที่ว่าด้วยร่างกายอันเป็นเจตจำนงที่ถูกรับรู้ได้

(Objectification Of Will) กำลังจะบอกกับเราว่า “มนุษย์ไม่มีเจตจำนงเสรี”

งานเขียนของเขาทั้งหลายทั้งปวงล้วนบอกว่าอย่างมากเรามีเสรีภาพเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น

หรือเป็นเสรีภาพที่มีเงื่อนไข

ในสายตาของโชเปนฮาวเออร์เชาว์ปัญญาของมนุษย์ไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่าง(ไม่ใช่สิ่งที่ควบคุมการกระทำทั้งหมดของมนุษย์)

เพราะมันเป็นเพียงอนุปรากฏการณ์หรือปรากฏการณ์ชั้นรองที่เกิดควบคู่ไปกับเจตจำนงค์

สติปัญญามีขึ้นเพื่อรับใช้ความต้องการของเจตจำนงเท่านั้น

ในความเป็นจริงแล้วเราอาจบอกได้ว่าสำหรับโชเปนฮาวเออร์แล้วหรือในทางพระพุทธศาสนาก็เช่นกัน

คำถามทั้งหมดทั้งปวงเกี่ยวกับเสรีภาพของมนุษย์นั้นล้วนเป็นไปอย่างผิดๆเพราะมันกำลังแสดงถึงตัวตนในฐานะของบางสิ่งที่ไม่ใช่เจตจำนงซึ่งเป็นสิ่งที่จริงในตัวเอง

โชเปนฮาวเออร์บอกว่า

“มันไม่ใช่ว่าการกระทำของมนุษย์มาจากแรงผลักดันของเจตจำนง

แต่การกระทำของมนุษย์คือเจตจำนงที่ถูกรับรู้ได้สำแดงตัวออกมา

(Objectification Of Will)”

หมายเลขบันทึก: 677760เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2020 20:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2020 20:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท