การวิจัยและนวัตกรรมด้านการศึกษา



วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๓ ผมเข้าร่วมประชุมทางไกล เรื่องยุทธศาสตร์การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและพัฒนาทักษะเพื่ออนาคต จัดโดย สกสว.    เพื่อปรึกษาหารือกันเรื่องการดำเนินการตาม Platform 1, Program 3 ตามในรูปข้างล่าง   

ซึ่งตามความคิดของผม ต้องดำเนินการ ๔ ช่วงชีวิต คือ

  1. 1. ก่อนเข้าโรงเรียน    ผู้มีบทบาทหลักคือพ่อแม่
  2. 2. ในช่วงเรียนในสถาบันการศึกษา    เป็นหน้าที่ของระบบการศึกษา   
  3. 3. ในช่วงทำงาน   สถานทำงานต้องจัดสภาพแวดล้อมให้มีการเรียนรู้จากการทำงาน (ปฏิบัติ ตามด้วยการใคร่ครวญสะท้อนคิด เพื่อการเรียนเป็นทีม – team learning)    
  4. 4. ช่วงวัยชรา     เรียนจากการทำหน้าที่ “แจกของ ส่องตะเกียง”    เตรียมลาโลก

ที่สำคัญ ต้องมีกระบวนการทำให้การเรียนรู้ในชีวิต ๔ ช่วงมันเกื้อกูลส่งเสริมกัน    โดยมีเป้าหมายหลักคือ เรียนรู้เพื่อพัฒนาเป็น “ผู้ปฏิบัติการ” (agent)    เพื่อสร้างวิญญาณ “ผู้ให้” (giver) มากกว่าเป็น “ผู้เอา” (taker)    ซึ่งในหลักการทำได้ง่าย โดยจัด “การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑”   หรือ “การเรียนรู้ขาออก” จากการลงมือปฏิบัติ ตามด้วยการใคร่ครวญสะท้อนคิด   

ดังนั้นโจทย์วิจัย (ที่ สกสว. อยากได้ จึงจัดการประชุมนี้ขึ้น) ในสายตาของผม คือ    ทำอย่างไรจึงจะเปลี่ยน mindset ของสังคมไทย    ออกจากการศึกษาแห่งศตวรรษที่ ๑๘, ๑๙, ๒๐   และเข้าสู่ mindset การศึกษาแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ให้ได้   

หากการเรียนรู้ของคนไทยในทุกช่วงวัย อยู่ภายใต้ชุดความคิด และการปฏิบัติ การศึกษา หรือการเรียนรู้ แห่งศตวรรษที่ ๒๑    ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทักษะเพื่ออนาคตก็จะเกิดขึ้นเอง   

ที่จริงหนังสือ โลกเปลี่ยน คนปรับ เตรียมคนไทยเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในโลกหลังโควิด ๑๙เขียนโดย ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ รมต. อว. บอกหลักการไว้หมดแล้ว    อย่างชัดเจนแจ๋วแหวว โครงการวิจัยจึงควรเอาหนังสือเล่มนี้เป็นตัวตั้ง    หาวิธี implement ให้เกิดการเปลี่ยนใจ หรือเปลี่ยนชุดความคิดของคนทั้งสังคม ในเรื่องการเรียนรู้    ให้มีศรัทธาและมุ่งมั่นต่อการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑  

ส่วนที่ท้าทายที่สุด น่าจะเป็นวงการด้านการศึกษานั่นเอง

นี่คือข้อเสนอของผมต่อ สกสว.    หลังจากกลับมาใคร่ครวญอยู่เกือบเดือน หลังการประชุมดังกล่าว    ว่าต้องจับที่ root cause   หาทางแก้ที่ root cause 

วิจารณ์ พานิช

๒๖ พ.ค. ๖๓


หมายเลขบันทึก: 677757เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2020 18:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2020 18:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท