"Self Talk" หลังจากดูคลิปวิดีโอ เรียนรู้ร่วมคิด e.p.5- มองเข้าไปในหัวใจตน


เกริ่นนำ

บันทึกนี้ เป็นบันทึกที่ผมเขียนเป็น Reflection ในแบบ "Self Talk" หลังจากดูคลิปวิดีโอ เรียนรู้ร่วมคิด e.p.5- มองเข้าไปในหัวใจตน ที่อาจารย์ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ ได้สนทนากับคุณอุ๊ กรรณจริยา สุขรุ่ง ใครสนใจดูคลิปนี้ได้ทาง Youtube นะครับ ที่ 

https://www.youtube.com/watch?v=GyPmF-NY9Kw&t=8s

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

Self Talk เรียน รู้ ร่วม คิด e.p.5

วันอาทิตย์ที่ 17 พ.ค.63 เป็นอีกวันที่มีงานค้างมากมาย....เป็นปกติ

แต่วันนี้ไม่ปกติ เป็นวันพิเศษ คือเป็นวันที่เราตั้งใจไม่ทำงานอะไรเลย

นอกจากทำงานบ้านเล็กๆน้อยๆ ไปจ่ายตลาด ดูคลิป e.p.5 แล้วพิมพ์ Self-Talk ออกมาแชร์

พักหลังนี่ในหนึ่งอาทิตย์ เราจะมีวันที่อยู่เฉยๆ แต่ไม่เฉยสนิทแบบนี้สักหนึ่งวัน เพื่อที่จะ Slow Down ทบทวน ทำอะไรเบาๆที่มีแง่มุมของการตรึกตรองสะท้อนคิด-รู้สึกตัวแบบนี้

รู้สึกว่า Happy กว่าทำงานแบบกระเหี้ยนกระหือแบบวงจรเก่าๆเยอะ 

ใครอยากวิ่งก็วิ่งไป เราขอ Slow Down นะ อย่างน้อยที่สุดก็วันนี้ ที่เลือกจะไม่ทำงานอะไรหนักๆเลย

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------

นั่งในห้องเงียบๆ จิบยาดองเบาๆตามด้วยแหนมสักชิ้น อืม บรรยากาศยามย่ำค่ำอย่างนี้  ลมเย็นชิลๆ ผู้คนผ่อนคลาย กลับบ้านเตรียมล้อมวงกินข้าว จะว่าไปก็วิเศษจริง

หายใจเข้าและออกลึกๆ ยิ้มน้อยๆ ให้กับอีกวันแห่งชีวิต

Self Talk ของเราคง Matching กับบรรยากาศแบบนี้

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ใน e.p.5 ซึ่งจริงๆเราก็ฟังมารอบนึงละตอนอยู่ในรถเมื่อสักสิบวันก่อนมั๊ง วันนี้ เปิดชมเปิดฟังอย่างตั้งใจ ฟังทีละขยักๆ ตามจังหวะที่ตัวเองรู้สึกว่า อืม ต้องเบรกเพื่อ Short Note ก่อนละ แต่ก็ไม่เบรกบ่อย แค่สองสามครั้ง สังเกตเนื้อหา สีหน้า แววตา ภาษาท่าทาง สองคนที่ดำเนินรายการนี่ชัดเจนจากข้างในมากๆ เรารู้สึกได้ อันนี้ ถ้าสองคนนี่เป็นของไม่จริง ดูไปสักพักเราก็รู้เลย คือ ดูแล้วมันไม่เก๊ต ไม่มีแรงดึงดูดให้ดูตามมาถึง episode นี้หรอก อันนี้ต้องขอบคุณอาจารย์แลทีมงานที่ทำคลิปเหล่านี้ขึ้นมานะครับ

ใน e.p.5 นี่ เราชอบชื่อตอนนี้กว่า e.p.ก่อนๆ  “มองเข้าไปในหัวใจตน” ไม่รู้ใครตั้ง ไม่รู้โดนใครหรือเปล่า แต่สำหรับผม ชื่อตอนนี้มันโดนนะครับ เหมือนมันเข้ากับจังหวะชีวิตตอนนี้ ที่อยากให้ตนเองท่องประโยคคาถานี้ทุกเช้า หรือทุกขณะที่ทำได้

มันเป็นประโยคคาถาที่ร้อยรัดเรื่องราวทั้งหลายในตอนนี้รอบยอดเอาไว้ ;

----------------------------------------------------------------------------------------------

“มองเข้าไปในหัวใจตน” อย่างแรก คือ มองว่า เราเก่งหรือเราอวดเก่ง เรารู้สึกตัวไหม?

เราต้องหมั่นมองว่า เฮ้ย เรายังโง่อยู่นะ อย่านึกว่าเก๋า อันนี้เปิดฉากคลิปในช่วงแรกมา คือ เน้นเรื่องนี้ I don’t know that I don’t know

อันนี้ก็โดนมาก เพราะในแวดวงภาคประชาสังคมก็ดี วิชาการ ราชการ มีประเภท “กูเก๋า” เยอะ  อันนี้ ไม่เป็นไร ปล่อยเขาไป เรามองเข้าไปในหัวใจตัวเองก่อน

ด่าตัวเองบ้าง เอ่อ กูนี่โง่หลายเรื่อง และที่คิดว่ากูเก่ง ก็อาจจะใช้ไม่ได้แล้ว อันนี้ เราต้องอ่อนน้อมก่อนนะ กล้าที่จะอ่อนน้อม แต่อ่อนน้อมแบบไม่กลัวนะ มีสติ สมาธิปัญญาเชื่อมโยงกำกับ อันนี้ก็เป็นความกล้าอีกอย่างหนึ่ง เป็น The way to Warrior แบบหนึ่ง ในหลักการซามูไรก็ดี ไอคิโดก็ดี ก็เน้นเรื่องจิตวิญญาณแห่งความรักแบบนี้มาก

ความอ่อนน้อมที่เทียมจะมีความหวาดเกรงแบบผู้ใหญ่-ผู้น้อยแอบซ่อนไว้ แต่ความอ่อนน้อมที่แท้ย่อมมีความเบิกบานแบบเด็กๆส่องประกายจากภายใน

ตรงนี้เห็นได้ชัด ในคลิปตอนที่อาจารย์พูดถึงสภาวะ I don’t know that I don’t know ที่มันจะเป็นสภาวะนอบน้อมและกระตือรือล้นสนใจใคร่รู้ใคร่ลองแบบเด็กๆ

ที่เรารู้ก็เพราะดูในคลิปตอนนี้อาจารย์หัวเราะร่วนเหมือนเด็กๆเลย

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

“มองเข้าไปในหัวใจตน” อย่างที่สอง เฮ้ย เรานี่ มีด้าน I know that I know ใช่ไหม ใช่ มีหลายเรื่อง

คำถามก็คือ เราได้จัดระบบมันแค่ไหน ได้สังเคราะห์หรือสกัด หรือคำเท่ห์ๆคือ ถอดบทเรียนมันออกมาอย่างไร?

หลายคนไปถอดบทเรียนงานพื้นที่โน่นนี่นั่นเยอะแยะ นั่นก็ดี แต่จะมีความหมายอะไรถ้าไม่มีการถอดบทเรียนตัวเอง แล้วไหนล่ะ “ระเบิดจากข้างใน” เราจะสอนเขาได้อย่างไร ถ้าเรายังไม่ได้ทำจนเป็นวิถี

อันนี้ ใครไม่ละอาย ผมนี่ละอายใจตัวเองนะ เราต้องหมั่น “ระเบิดจากข้างใน” ตัวเองก่อน  แล้วจึงจะไปสอน หรือเป็นพี่เลี้ยง (Mentor) แก่คนอื่นได้

-----------------------------------------------------------------------------------

อาจารย์บอกเล่าตรงๆว่า พวกเราส่วนใหญ่ประมาทคิดว่าตัวเองฟังแล้วรู้เรื่อง เข้าใจ ไม่ต้องจด ไม่ต้องบันทึกทบทวนก็ได้

การบันทึกมีประโยชน์มาก มันช่วยให้เราต่อยอดความคิดได้ ความรู้สำคัญๆได้มาจากการจดบันทึกที่เป็นระบบ แต่ทำไม คนส่วนใหญ่ละเลยไม่ทำกัน

อันนี้ คงมีหลายสาเหตุ รวมไปถึงถ้ามองแบบ System thinking ก็อาจจะเห็นว่าระบบการศึกษาไทยก็เป็นส่วนสำคัญ เป็นปัจจัยเชิงโครงสร้างที่ทำให้พวกเราที่เป็นผลผลิตจากระบบเหล่านี้เป็นคนที่ไม่รักการอ่าน ไม่รักการจด แต่ไปรักการจำ

วิเคราะห์เหตุปัจจัยได้อีกสารพัด แต่ต้องวิเคราะห์แล้วนำไปสู่ความเข้าใจและเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีเมตตา มีหัวใจ มีความเมตตากรุณา อันนี้ น่าทำเป็นโจทย์ต่อว่า ทำอย่างไรให้พวกเรารักการจดบันทึกมากขึ้น  และรักการเอาบทเรียนต่างๆ ประวัติศาสตร์ในหลายแง่มุมมาทบทวนและตรวจทานการตีความ

สังคมเรามีบทเรียนการทำงานเยอะแยะ มีประวัติศาสตร์การตั้งรกรากพัฒนาการเป็นยุคต่างๆมายาวนาน แต่เรากลับไม่รักการศึกษาประวัติศาสตร์ ไม่รักการจดบันทึกการเรียนรู้

มันเกิดอะไรขึ้น?

อันนี้ เป็นวิกฤตใหญ่มากของคนทำงานภาคชุมชน แถมยังคิดว่าเทคโนโลยีจะบันทึกแทนมนุษย์เราได้ไปทุกอย่างได้อีก

อาจจะต้องสุมหัวกัน เอาคนที่รักการจดในหมู่ลูกศิษย์อาจารย์ มาสร้างปัญญารวมหมู่

How to Learn if you don’t know how to write?

อันนี้ Basic สำคัญ อยากโน้ตเอาไว้

----------------------------------------------------------------------------------

“มองเข้าไปในหัวใจตน” อย่างที่สาม  เรากำลัง Learning หรือ Knowing?

นี่ อันนี้ก็โดนนะ อาจารย์ให้คำจำกัดความเรื่อง Learning ได้ชัดดีครับ คือ เมื่อใดก็ตามที่เรามีกรอบคิดในการมอง อันนี้คือ Conceptualized คือ Learning

แต่เมื่อใดก็ตาม ที่มันมีสภาวะ “ปิ๊งแว้บ” (intuition) มีเสียงจากส่วนลึกก้องกังวาน (resonance)ไปมาในใจ ไม่รู้จะอธิบายังไง แต่ มันใช่ มันวิเศษมากๆด้วย อันนี้คือ Knowing ซึ่งกำหนดไม่ได้ว่าจะให้มันเกิดเมื่อไร ถึงเวลาบริบทแวดล้อมองค์ประกอบต่างๆพร้อม มันจะผุดบังเกิดเอง

ในตอนเรียน ป.โท อาจารย์จะเน้นเรื่องการสร้างกรอบคิด หรือการมองปรากฏการณ์อย่างมีกรอบคิดเชิงทฤษฎีมาก ตรงนี้ เราเรียกกันติดปากครับว่า “Conceptualization” วิทยานิพนธ์จะผ่านไม่ผ่าน ตรงนี้เป็นประตูสำคัญทีเดียว

การทำงานในยุค 3 Life Stages อย่างรุ่นก่อนๆที่ มีแบบแผนชีวิตที่ชัดเจนว่า เรียนจบ  ทำงาน แต่งงาน มีลูก เกษียณ พักผ่อน การอยู่กับ Learning ที่เน้น  การทำตามกรอบคิด หรือ Conceptualized อย่างที่เราเรียนมาในมหาวิทยาลัยก็เพียงพอ เหลือกินเหลือใช้

แต่พอทำงานนี่ ผ่านมาวันนี้ถึงรู้เลยว่า Conceptualized หรือ Learning นั้นไม่พอแล้ว เราต้อง “ปิ๊งแว้บ” (intuition) ด้ด้วย เพราะโลกปัจจุบันมันเปลี่ยนแบบฉับพลัน มัน VUCA World ตลอด

และไอ้การเรียนรู้ การรู้แบบ “ปิ๊งแว้บ” (intuition) นี่

มันมักจะซ่อนอยู่ในคำสอนทางศาสนา ในภูมิปัญญาโบราณ ในศิลปะแขนงต่างๆ

มันก็ยากนักจะมีใครตระหนัก และกล้าพอที่จะจัดกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมสมัย

ก็คงมีแต่อาจารย์ชัยวัฒน์นี่แหละที่ออกมาทำจริงๆจังๆ

ไม่ได้อยากจะอวยใคร แต่เสียดายที่คนจำนวนมากเข้าไม่ถึง

แต่ด้วยความมุ่งมั่นของทีมลูกศิษย์ลูกหา และเทคโนโลยีการสื่อสาร.....ก็ไม่แน่

อนุสาวรีย์ส่วนใหญ่สร้างขึ้นหลังจากคนผู้นั้นดับสูญไป บางอนุสาวรีย์ก็เป็นสิบเป็นร้อยปี

-------------------------------------------------------------------------------------------------------

 “มองเข้าไปในหัวใจตน” อย่างที่สี่ ซึ่งเป็นอย่างสุดท้าย

ถามใจตนว่า เราเห็นการตัดสินใจของตัวเองที่จะเปลี่ยนโหมดจาก Learning มาเป็น Knowing บ้างไหม?

จะเห็นการตัดสินใจของตัวเองได้ ก็ต้องหมั่นสังเกตและตั้งคำถามกับพฤติกรรมทั้ง กาย วาจา ใจ ของตนเอง

เราเห็น กาย วาจา ใจ ของตนเองที่จะนำไปสู่สภาวะ Knowing บ้างไหม?

ยอมรับว่า ยังบ่อยที่ลืมถามตัวเองว่า วันนี้ ขณะนี้เราได้ทำในสิ่งที่เอื้อต่อการเกิดสภาวะ Knowing หรือ “ผุดบังเกิด” มากน้อยเพียงใด

ต่อไปนี้ ต้องหมั่น ““มองเข้าไปในหัวใจตน”เป็นประโยคคาถาประจำใจให้มากขึ้น

มองและถามทั้งสี่อย่าง อย่างวันนี้ที่เรา Self Talk กับตัวเอง

ไม่รู้จะจบยังไงกับ Self Talk วันนี้

“มองเข้าไปในหัวใจตน” ของแต่ละคน น่าจะเป็นประโยคสุดท้ายที่ดี

อย่าลืมรอยยิ้มด้วยนะครับ

หมายเลขบันทึก: 677494เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2020 22:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2020 22:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท