สามขั้นของระบบการพัฒนา


ถ้ามองตามระยะการควบคุมกิเลส เราต้องควบคุมไม่ให้ เกิดกิเลส เป็นขั้นๆ คือ อันที่หนึ่ง ตามใจกิเลสให้เป็นปกติ อันที่สอง ฝืนกิเลส อันที่สามเอาชนะกิเลส

ตามทีผมได้ศึกษาธรรมะ มา พบว่าหลายๆอย่างจะนับเริ่มต้นด้วย คำว่า สาม ในหลาย ๆ เรื่องด้วยกัน  ไม่ว่าจะเป็น แก้วสามประการ  พระพุทธ พระธรรม  พระสงฆ์ หรือลักษณะของ ไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา  และมีลักษณะสามในอีกหลาย ๆ เรื่องด้วยกัน  

แต่ก่อนผมก็ไม่รู้สึกประหลาดใจอะไรมากมาย  แต่เมื่อมาพิจารณากระบวนการพัฒนาการในการทำงาน  ในการพัฒนาชีวิต ในการพัฒนาคุณภาพใด ๆ ก็แล้วแต่ ก็พบว่า มักจะมีสามขั้นตอนเช่นกัน เช่น มักจะเริ่มต้นด้วย

  1. ขั้นที่ 1 สภาวะเดิมที่มีอยู่
  2. ขั้นที่ 2 สภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลง
  3. ขั้นที่ 3 คือ สภาวะที่ปรับตัวเข้าสภาพสมดุลใหม่

  ลักษณะเช่นนี้ เป็นลักษณะปกติของการพัฒนาการเสมอ   

ฉะนั้น ผมจึงคิดว่า เวลาเราพัฒนาเราจะต้องพยายามเข้าใจการทำงานต้องมีอย่างน้อย 3 ขั้นตอนดังกล่าวแล้ว ไม่ควรจะใจร้อนเกินไป รีบเร่ง ที่จะกระโดดจากขั้น 1 ไปขั้น 3  เลยทีเดียว  

ซึ่งลักษณะการรีบร้อนเช่นนั้น อาจจะทำให้เกิดการผิดพลาดได้ง่าย 

 อย่างเช่นกรณี การจัดการความรู้ เราก็จะเริ่มต้นที่ สภาวะเดิมที่ไม่มีแนวคิดหรือทฤษฎี ไม่มีหลักการ แต่มีการปฏิบัติอยู่แล้วในระดับตัวบุคคล ครอบครัว หรือชุมชน พอขั้นที่ 2 ก็มีการเอาหลักการต่างๆ เข้ามานำเสนอ เข้ามาประกบ สร้างภาพการทำงานที่ชัดเจน สร้างองค์รวมที่สามารถอธิบายได้ดีมากขึ้น  เมื่อนำความรู้มาใช้ดังกล่าวแล้ว ก็จะนำมาพัฒนาในขั้นที่ 3 ก็คือ  การพัฒนาที่เข้าสู่รูปแบบการพัฒนาที่ดี แต่หลักการในการพูดเช่นนี้ นพ.วิจารณ์   ได้ไปพูดกล่าวปิดการประชุมมหกรรมจากการจัดการความรู้แห่งชาติ เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2549 ที่ผ่านมา   ว่าเรากำลังจะขึ้นสู่ สูงสุดฟ้า คืนสู่สามัญ  

 ซึ่งลักษณะเช่นนี้ คือความพยายามจะเข้าสู่ระบบที่ 3 คือ ให้เร็วที่สุด เพื่อทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานให้ดีที่สุด

เพราะที่ผ่านมา ในระยะที่ 1 คือ เป็นระยะเดิม เราถือว่า การทำงานลงตัว เป็นปกติ มีการพัฒนาและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างธรรมชาติ แต่เมื่อเข้ามาระยะที่ 2 มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีการนำหลักการเข้าไปผสมผสาน ก็จะทำให้เกิดความสับสนวุ่นวายในระดับหนึ่ง จนอาจทำให้เกิดความล่าช้าของการทำงานในบางประเภท 

แต่เมื่อเข้าถึงระยะที่ 3 เราก็จะเข้าสู่ระยะที่สู่สมดุลใหม่  

 ลักษณะดังกล่าวเช่นนี้ ผมเองก็ประสบกับตนเองมาเหมือนกัน ซึ่งในเรื่องของการพัฒนาที่การที่เราไม่ต้องติดยึดกับสิ่งหนึ่งสิ่งใด

ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง รสชาติอาหาร  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเวลาและชนิดของอาหาร การกิน การนอน การอยู่ หรือการเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตใด ๆ ก็ตาม ก็จะมีสามขั้นตอนเช่นเดียวกัน  

เช่น ในระยะแรก ๆ เราก็ปรับตัวในลักษณะ ของการมึศีล ที่เป็น ระบบปกติ ดูแลทุกอย่างอย่างเป็นปกติ คือตามใจระบบ ทำตามเวลา ตามความต้องการของร่างกายที่เรารู้สึก อย่างเป็นธรรมชาติ 

ระยะที่ 2 เราพยายามจะฝืนระบบ เช่น พยายามจะเปลี่ยนเวลานอน เปลี่ยนเวลารับประทานอาหาร ชนิดอาหาร หรือว่าเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตแบบต่างๆ ระยะนี้ เป็นระยะที่มีการปรับเปลี่ยนและสับสน เป็นเรื่องธรรมดา เช่น กระเพาะอาหารก็จะรู้สึกหิว ในเวลาที่เราไม่มีโอกาสที่จะได้รับประทานอาหาร หรือว่า เราจะรู้สึกง่วง ในเวลาที่เรานอนไม่ได้หรือไม่มีจังหวะที่จะนอนได้ ลักษณะเช่นนี้ เป็นลักษณะปกติที่จะต้องมีความสับสน ที่มีความทุกข์ทรมานในระดับหนึ่ง   

แต่เมื่อผ่านพ้นระยะนี้ไป และเข้าระยะที่เข้าสู่สมดุลใหม่ นะครับ เราก็จะเข้าสู่ระบบที่ว่า เราสามารถที่จะควบคุมร่างกายได้แล้ว เราจะทำกิจกรรมแบบไม่ติดยึดกับปัจจัยภายนอก  โดยเฉพาะ เวลา และ มื้อ จะไม่หิวตามเวลาที่เคยเป็น จะควบคุมการรับประทานอาหารตามความจำเป็นของร่างกายได้ การนอน ก็ตามความจำเป็น โดยไม่เกี่ยวกับนาฬิกา จะไม่รู้สึกง่วงตามเวลา จะไม่มีเงื่อนไข ชนิดอาหารที่ชอบทาน หรือไม่ชอบ แต่รับประทานตามความจำเป็นของร่างกาย มากว่า

 ลักษณะเช่นนี้ผมถือว่าเป็นหลักการของการทำงานแบบปรับตัวเข้าสู่ 3 ระยะ  จากระยะที่ 2 เป็นระยะที่สับสนมากที่สุด  

ฉะนั้น ในอดีตที่ผ่านมา ผมเองก็พยายามที่จะปรับปรุงตนเอง เริ่มจาก เราทำตัวให้อยู่สมดุลที่เดิมอย่างที่สอนไว้ในสุขศึกษา ระยะที่ 2 ก็ต้องเข้าสู่สภาวะเปลี่ยนแปลง ระยะที่ 3 ก็เข้าสู่ระยะสภาวะสมดุล  

ลักษณะเช่นนี้ ผมใช้หลักการของการพัฒนาร่างกาย สิ่งที่จำเป็นต้องทำ 3 ขั้นตอน คือ

หลักการแรก ทำให้เป็นปกติที่ควรจะเป็น  หลักการที่สอง คือ พยายามอดทน อดกลั้น แก้ไข สิ่งที่มันสับสนวุ่นวายในระบบการพัฒนา ในระยะที่สาม เราก็หลุดพ้นจากการเป็นทาสของระบบ

 ถ้าพูดถึงสภาวะทางจิตใจหรือร่างกาย  ในระยะแรกผมถือว่า เป็นการทำตามกฎกติกาปกติ ของชีวิตและร่างกาย กินอาหารให้เป็นเวลา  นอนให้เป็นเวลา  ทำงานให้เป็นเวลา นั่นคือระยะแรก แต่เมื่อเราปรับเปลี่ยนมา เราพยายามฝืน ก็คือ เริ่มเอาชนะตัวเอง เอาชนะกิเลส นี่คือการเปลี่ยนแปลง ในระยะที่ 2 ระยะที่ 3 เราถือว่า เราควบคุมกิเลสได้ เราไม่จำเป็นต้องนอน ไม่จำเป็นต้องกิน ตามเงื่อนไขของเวลา เราสามารถควบคุมได้ ทำให้ลงตัว ได้ในสภาวะสมดุลใหม่ 

และถ้ามองตามระยะการควบคุมกิเลส เราต้องควบคุมไม่ให้เกิดกิเลส เป็นขั้นๆ คือ 

ขั้นที่หนึ่ง ตามระบบธรรมชาติให้เป็นปกติ

ขั้นที่สอง ฝืนกิเลส   

ขั้นที่สาม เอาชนะกิเลส    

ท่านคิดว่า ในชีวิตท่านมีอะไร ที่มีลักษณะคล้ายกันหรือแตกต่างไปจากนี้บ้างครับ ที่ ผมพบมา ผมทำมานั้น เป็นหลักการที่ผมประสบด้วยตนเองมา

ใครมีอะไรที่ประสบกับชีวิต ก็ขอแลกเปลี่ยนกันนะครับ ขอบคุณครับ

หมายเลขบันทึก: 67734เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2006 06:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดียามเช้าครับ อ. ดร. แสวง รวยสูงเนิน

  1. ชกแบบมวยวัดไปก่อน จนคล่อง แต่ไม่รู้ว่าอย่างไหน เป็นแม่ไม้อะไร
  2. กางตำรา หาความรู้ ลองปรับดู .. ชกช้าลง .. และก็ค่อยๆเร็วขึ้นได้อีก แต่ก็ยังพะวงอยู่บ้าง กับเรื่องในตำรา อันเป็นหลักวิชาที่เข้ามาเสริม
  3. ชกคล่องคล้ายข้อ 1 ดึงแม่ไม้ ที่เหมาะๆ มาจัดการคู่ต่อสู้ อย่างได้ผล และชำนาญ แต่พอคนถามว่าอันนั้น อันนี้ เรียกอะไร  อยู่ในตำราเล่มไหน .. ตอบได้ช้า และบางทีก็ตอบไม่ได้ .. แต่เป็นแชมป์ได้ครับ.
      

เรียน อาจารย์ครับ

หากพิจารณากระบวนการทำงาน ก็คือ ธรรมะที่แทรกสอดอยู่ในนั้น หลายๆท่านใช้การทำงานเป็นการพัฒนาจิตไปด้วย

สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้น และดำเนินไป จนในที่สุดแตกดับ ก็เป็นการปรับตัวเข้าสู่สมดุลแห่งโลกใหม่

ผมเคยเร่งเร้าให้งานเสร็จเป็นผลไม้บ่มแก็ส ซึ่งก็เสร็จเร็ว สวยงาม แต่ผลที่ตามมาคือชื่นชมความสำเร็จได้ไม่นาน ก็สูญสลายหายไป

ผมยังเป็นนักพัฒนาและเรียนรู้ที่ด้อยประสบการณ์มาก จึงต้องเรียนรู้และเข้าใจชีวิตต่อไป ขออาจารย์ชี้แนะ

ขอบคุณครับ

คุณจตุพร อาจารย์พินิจ ผมว่าพลังใจสำคัญมากครับ มุ่งมั่น ตั้งมั่น สัมมาทิษฐิ และอีกหลายพลัง รวมเป็นหนึ่ง บุรณาการเพื่อชีวิต ทั้งของเรา และทุกคน แล้วก็อุเบกขา ครับ นี่คือที่ผมใช้ได้ผลกับตัวผมเองครับ ผมก็รู้เท่าที่ผมทำได้ และ ที่พลาด นอกนั้นไม่กล้าแนะนำใคร กลัวมันจะไม่จริง ทำให้คนอื่นเสียหาย ขนาดของจริงที่ผมทำไปแล้ว เขายังไม่ค่อยเชื่อกันเลยครับ
คุณจตุพรครับ ท่านยิ่งถ่อมตัวมาก ผมยิ่งต้องระวังตัว นี่ผมพูดจริงๆนะครับ

สวัสดี วันหยุดสบายๆ ครับอาจารย์ ดร.แสวง

  • เช้านี้ได้ความรู้เรื่องธรรมะ ธรรมชาติ สภาวะการเปลี่ยนแปลง อ่านแล้วชวนคิดต่อชวนติดตามมากมายหลายประเด็น
  • ผมตรองดูแล้ว ผมว่าการเปลี่ยนผ่าน 3 ขั้นตอนจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่งดังกล่าว มันต้องใช้พลังความรู้ พลัง...มากมาย และที่สำคัญต้องอาศัยระยะเวลา เปลี่ยนไปแบบเนียน แบบเป็นธรรมชาตินะครับ...ทำได้แล้วก็สุดยอดเลย อย่างผมเป็นครูนอกโรงเรียนมาจะ 30 ปี ผมตรองดูแล้วก็ยังจะยากอยู่นะที่จะบอกว่าถึงขั้นที่สองแล้ว เพราะมันต้องฝืนกิเลส และขั้นที่สามยิ่งแล้วใหญ่ควบคุมกิเลสได้ แต่ก็จะพยามครับแม้ระยะทางจะยาวไกล
  • ขอบคุณประเด็นดีๆ สด ใหม่ ของอาจารย์ครับ

ขอบคุณครับ

ครูนงเป็นพันธมิตร แบบ "จังเสี้ย" เลยครับ

ดร.แสวงครับ

                แบบว่าชอบที่อาจารย์ชอบแหย่รังแตน เอานิ้วถิ้มตา โยนระเบิดคำถาม ประเด็นต่างๆ เขย่าแรงๆ ปลุกสังคม ทำให้แตน(ความรู้)บินออกจากรัง  ผมจะได้เข้ามาช้อนเอาไปใช้ประโยชน์ไงครับ สมัครเป็นพันธมิตร แฟนคลับครับ

ครูนงครับ

ผมท่าครูนงมาน้านจังหู๋แล่ว ผ้มได่เห้นครูนงขึ่นเวที้หล่ายห้นแล่ว อยากเป็นพั้นธมิตรม่าหล้ายเดือนแล่ว

ยินดีครับ 

  ยิ้มคนเดียว ตอน ตีสองครึ่งครับ .. ได้ยินเสียง หนุ่มน้อย(ลงทุกวัน)โคราช .. แหลงใต้ สำเนียงนครฯ .. แต่ฟังไป ๆ คล้ายๆ คนเหนือพูดครับ .. อิ อิ .. (ที่ อิ อิ นี่เพื่อบอกว่าผมยัง วัยรุ่น)

ขอบคุณครับที่ติดตามตลอด แบบแฟนพันธุ์แท้จริงๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท