GotoKnow

ประเด็นจากการประชุม ITU/ESCAP เรื่อง Disaster Communications ตอนจบ

Conductor
เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2549 05:53 น. ()
แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2555 16:45 น. ()

ในการประชุม ITU/ESCAP เรื่อง Disaster Communications มีเรื่องสำคัญอยู่เรื่องหนึ่ง ที่ประเทศไทยไม่ได้ทำ คือไม่ได้ลงนามในปฏิญญา Tampere (อ่านว่า แทมเพอร์เร ) ซึ่งว่าด้วยบทบาทสำคัญของระบบโทรคมนาคม เพื่อความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมในกรณีภัยพิบัติ

กล่าวโดยย่อ ปฏิญญานี้:

  • ลด/เลิกขั้นตอนปกติ สำหรับการนำเข้าอุปกรณ์โทรคมนาคมเพื่อใช้ในกรณีการบรรเทาภัยพิบัติ
  • อนุญาตให้ใช้ความถี่ที่ให้ได้จัดสรรไปแล้วเพื่อการอื่น เพื่อการบรรเทาทุกข์
  • ลด/เลิก ภาษีนำเข้า ค่าธรรมเนียม และขั้นตอนต่างๆ ชั่วคราวในช่วงที่เกิดภัยพิบัติ ในการนำเข้าอุปกรณ์โทรคมนาคมเพื่อใช้ในกรณีดังกล่าว
  • ลด/เลิก ข้อจำกัดต่้างๆ ที่จะนำเจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์ไปปฏิบัติงาน ยังบริเวณที่เกิดภัยพิบัติ (เช่น วีซ่า)

ดูเรื่องนี้แล้วหนักใจ เพราะว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับองค์กรของรัฐ หลายหน่วยงาน การลงนามจะต้องลงโดยรัฐมนตรีต่างประเทศ ให้สัตยาบันโดยรัฐสภา เรื่องภาษีและขั้นตอนการนำเข้าเป็นกระทรวงการคลัง เรื่องความถี่เป็น กทช. ส่วนเรื่องอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่องค์กรบรรเทาทุกข์ต่างๆจากต่างประเทศ ก็เป็นเรื่องของกระทรวงต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย

เรื่องของการบรรเทาทุกข์ เป็นเรื่องที่ไม่สามารถผูกขาดได้ ต้องร่วมมือกัน ต้องเอาผู้ประสบภัยเป็นศูนย์กลางของปัญหา และต้องเอาการแก้ไขความทุกข์ยากเป็นเป้าหมาย ส่วนเรื่องอำนาจหน้าที่ ผลงาน การประชาสัมพันธ์ เป็นเรื่องรองลงไป

เอกสารอ้างอิง



ความเห็น

ยังไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย