บทเรียนจาก การแถลงข่าวศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 (ศบค.) : การติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา:


การแถลงข่าวของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 เป็นรายการโทรทัศน์ที่ได้รับความสนใจ จากผู้ชมจำนวนมากรวมทั้งผมด้วย ที่คอยฟังเป็นประจำ ได้เรียนรู้ทั้งด้านเนื้อหาเกี่ยวกับโควิด -19 และด้านกระบวนการของการทำงาน เนื่องจากผมเคยเขียนเรื่อง การติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา  จึงเห็นว่า การทำงานของศบค.สามารถนำมาใช้ช่วยทำความเข้าใจเรื่อง การติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาได้เป็นอย่างดี

การติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา เป็นชื่อที่ตั้งให้กับ Action Research Evaluation (ARE) เป็นการติดตามประเมินผลที่ทำโดยคณะทำงานเองเป็นหลัก และเริ่มต้นตั้งแต่ ในระยะวางแผนงาน ลงมือทำงาน ติดต่อเรื่อยไปจนกระทั่งจบโครงการ โดยสามารถนำผลการติดตามประเมินซึ่งเป็นการเรียนรู้จากการลงมือทำ (Learning by doing) มาใช้ในการปรับปรุงการทำงานได้เป็นระยะๆ จึงเรียกชื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นว่า การติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา มีหลักการง่ายๆ 5 ข้อได้แก่

       1. ใช้ผลลัพธ์เป็นหลัก - เพื่อตอบโจทย์ตามวัตถุประสงค์โครงการ

       2. ทำเพื่อการเรียนรู้ - เป็นการเรียนรู้จากการลงมือทำของผู้ทำโครงการเอง

       3. ใช้ข้อมูล - เพื่อความน่าเชื่อถือ

       4. ทำหลายรอบ - เพื่อปรับปรุงโครงการได้หลายครั้ง

       5. ทำอย่างมีส่วนร่วม - เพื่อผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

จุดเด่นที่สุดในการทำงานของศบค.น่าจะเป็น ข้อ 3. การใช้ข้อมูล เนื่องจากธรรมชาติของโรคโควิด -19 มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ทำให้มีข้อมูลมาเพิ่มเติมทุกวัน จึงสามารถนำมาวิเคราะห์ เปรียบเทียบ และในที่สุดสามารถบอกผลลัพธ์ของมาตรการที่ได้ใช้ไปก่อนหน้าได้ (ข้อ 1. ใช้ผลลัพธ์เป็นหลัก) ดังตัวอย่างในภาพที่แสดงผลลัพธ์ (จำนวนผู้ป่วยรายใหม่ลดลง) ประมาณ 14 วันหลัง การใช้มาตรการประกาศเคอร์ฟิว เป็นต้น

ศบค.จะตั้งใจทำเพื่อการเรียนรู้ (ข้อ 2.) หรือไม่ก็ตาม แต่โฆษกพูดบ่อยๆว่า ต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาเพราะโควิด -19 เป็นโรคใหม่ที่ไม่รู้จักมาก่อน ต้องอาศัยการคาดคะเนจากโรคอื่นๆที่คล้ายกัน ซึ่งบางอย่างก็ตรงบางอย่างก็ไม่

ข้อ 4. ทำหลายรอบ ข้อนี้เป็นจุดเด่นอีกข้อหนึ่ง ศบค. ต้องประชุมเพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลกันทุกวัน ทำให้มีข่าวแถลงกันทุกวัน ได้เรียนรู้กันทุกวัน ในขณะที่ระดับปฏิบัติงานในพื้นที่ก็เก็บข้อมูล และติดตามฟังแถลงการณ์ของโฆษก (ข้อมูลย้อนกลับ) อยู่ทุกวัน และทำข้อเสนอเชิงนโยบายให้ฝ่ายกำหนดนโยบายทุก 7-14 วัน

ข้อ 5. ทำอย่างมีส่วนร่วม เห็นได้ชัดเจนจากองค์ประกอบของศบค. และการเชื่อมโยงกับฝ่ายปฏิบัติการ สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไปทางโทรทัศน์ อินเตอร์เนต และสื่อมวลชนอื่นๆ

หวังว่า หลังจากงานเสร็จสิ้นลงแล้ว โฆษกศบค.คงจะเขียนหนังสือสักเล่มหนึ่ง เป็นเรื่องเล่า ซึ่งนอกจากจะอ่านสนุกแล้ว จะเป็นเสมือนคู่มือการติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (การเรียนรู้จากการลงมือทำ) ด้วย

อำนาจ ศรีรัตนบัลล์

2 พฤษภาคม 2563

หมายเลขบันทึก: 677275เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2020 16:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2020 16:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การทำงานของศบค.สามารถนำมาใช้ช่วยทำความเข้าใจเรื่อง การติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาได้เป็นอย่างดี……..เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ

แม้กระนั้นยังมีคนไม่พอใจท่านโฆษก อ่านดูแล้ว เป็นการจับผิดคำพูดบางคำแล้วตึความไปอีกทาง หวังว่าท่านคงอ่านพบแล้วละเว้นคำพูดแบบนั้น ส่วนตัวเห็นว่าท่านทำได้ดีมากค่ะและมีคนตั้งตารอรายการนี้มากกว่ารายการอื่น ๆของทางรัฐบาล ท่านไปเป็นโฆษกรัฐบาลเสียเลยจะดีไหม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท