กรณีศึกษา "โควิด-19" หรือไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 จากข้อสังเกตมุมมองของ อปท.


กรณีศึกษา "โควิด-19" หรือไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 จากข้อสังเกตมุมมองของ อปท.

18 เมษายน 2563

(1) การเบิกจ่ายงบประมาณของ อปท. ต้องแย้งไว้บ้าง เพราะในหนังสือสั่งการใช้คำว่า "อาจพิจารณาจ่าย" มท.สั่งแบบแทงกั๊ก คนสั่งรอดตัว

(2) ถุงยังชีพ ชื่อก็บอกอยู่ แจกไปต้อง คำนวณด้วย เขาอยู่ได้กี่วัน ต้องแจกซ้ำอีกเมื่อไร ไม่ใช่สักแต่แจก หากไม่แจกถุงยังชีพก็ต้องทำกับข้าวแจก กรณีควรแจกเป็นอะไร ประเมินดู กรณีแจก ต้องเป็นพื้นที่ประกาศกักตัว

หน้าที่ท้องถิ่นคือจัดบริการสาธารณะในเฉพาะพื้นที่ ต่างจากรัฐบาลส่วนกลางที่สามารถให้บริการที่ไหนเมื่อไรก็ได้ การแจกจึงต้องตรวจสอบก่อนว่า เป็นผู้อาศัยอยู่ประจำหรือมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่หรือไม่ และมีเหตุผลเพียงพอที่จะแจกหรือไม่

(3) มีผู้เห็นต่างติงว่า รัฐเราให้มากไปไหม บอนไซพี่น้องประชาชนเรามากไปหรือไม่ ปากว่าให้เบ็ด สุดท้ายกลายเป็นปลา แต่ในช่วงโควิด เป็นภาวะวิกฤตที่กระทบกันไปหมดทั่วโลก อปท.ก็ต้องช่วยแน่นอน เพียงแค่ว่าจะช่วยอย่างไรในเมื่อ อปท.ก็พึ่งงบจากรัฐบาลกลาง แถม บาง อปท.ยังมีเงินน้อย มีเงินจำกัด

(4) เรื่องโควิด มท. ควรนิ่งๆ ให้ สธ. เป็นแม่งาน มท.ดิ้นไปแต่ทำอะไรไม่เข้าท่า ออกหนังสือสั่งการมาเป็นหลายสิบฉบับ มีทั้งย้อนแย้งกันเอง ปฏิบัติตามด้วยความเสี่ยง และสะเปะสะปะ เหมือนเด็กหัดเดิน

เรื่องหมอควรให้แม่งานอย่าง สธ. เขาทำ มท. แค่สนับสนุน และไม่ควรโยนให้ อปท. เหมือนเช่น ปภ. ปกครอง และ  สป.มท. ที่ถูกมองว่าทำงานไม่เป็น

(5) สั่งการย้อนแย้ง เช่น มท. (รวม พช.) สั่งการฝึกอาชีพ ส่งเสริมอาชีพ ส่งเสริมการปลูกผัก ส่งเสริมคุณภาพชีวิต การจ้างแรงงานฯ ให้รวมกลุ่มกันฝึกอาชีพแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบโควิด ที่ย้อนแย้งกับมาตรการการป้องกันและควบคุมโรค เช่น มาตรการ "Social Distancing" "อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ" "การปิดสถานประกอบการที่เสี่ยงฯ การปิดเมือง ห้ามเดินทางฯ" ฯลฯ"

(6) การโยนงานมาให้ท้องถิ่น แต่โยนเงินมานิดเดียว ส่วนใหญ่ต้องใช้เงินท้องถิ่นล้วนๆ พอ สตง.มาตรวจ คนท้องถิ่นก็โดนล้วนๆเต็มๆ ต้องมีงบฯ อีกทั้งไม่ใช่หน้าที่โดยตรง ก็อยากจะทำได้ดี ไม่มีความรู้ก็มั่วไป

(7) หน่วยราชการภูมิภาคบางหน่วย มีพื้นที่บริหารจัดการไม่ถึง 3 หมู่บ้าน แต่มีเจ้าหน้าที่มากเกินความจำเป็น สวัสดิการมาก นี่แหละคือความเหลื่อมล้ำของเจ้าหน้าที่รัฐโดยแท้จริง เป็นความล้มเหลวงานบริหารบุคคลไทย เพราะ การใช้หน่วยงานเป็นฐานการเมือง บรรดานักการเมืองก็เลยไม่กล้าแตะ

งานหน่วยใดก็ได้ หากทำหน้าที่ดูแลชาวบ้าน และเชื่อมโยงกันเป็นเอกภาพของประเทศ หากวันหนึ่งภูมิภาคไม่จำเป็นก็ควรยุบเสีย แต่หน่วยงานใหม่ที่ท่านคิดในใจ ว่าจะต้องมีขึ้น เกิดขึ้น มีนัยยะอะไรหรือไม่ เช่น "จังหวัดจัดการตนเอง" ทุกวันนี้อำเภอเหมือนเป็ดง่อย เงินไม่มี แต่คนอยากใช้อำนาจทำงาน ไม่มีเงินจะทำอะไรได้

สโลแกนนี้ยังใช้ได้ดีอยู่หรือไม่ "ข้าราชการรัฐให้โอกาสพวกคุณมาทำงานช่วยเหลือประชาชน หากคุณเกี่ยงงาน และไม่เข้าใจหน้าที่ก็ควรลาออกไปดูแลครอบครัว ที่สำคัญต้องให้โอกาสคนรุ่นหลัง มาช่วยกันพัฒนาประเทศ"

 (8) กรณีจับชาวบ้านไม่ใส่หน้ากากอนามัยหลายราย ส่งฟ้องศาล แต่ศาลยกฟ้อง แม้ชาวบ้านจะรับสารภาพ มันสะท้อนอะไร หมอโฆษก ศบค. แถลงข่าวก็ยังไม่ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา ผู้ว่าระยองประกาศจับคนไม่ใส่หน้ากากอนามัยทุกคน ฝ่ายรัฐฝ่ายปกครองผู้มีอำนาจจะทำได้เพียงใด ศบค.ควรทำหน้าที่ด้านยุทธศาสตร์ ไม่ใช่มา PR

(9) ชาวบ้าน ต.ไม้ขาว จ.ภูเก็ต หอบหม้อหุงข้าว เข้าร้องเรียนต่อเจ้าหน้าที่ อบต.ไม้ขาว ระบุ อาหารในถุงยังชีพที่ได้รับแจกนั้น ข้าวแข็งมากกินไม่ได้ ขอนำมาคืน พร้อมเอ่ยตัดพ้อ "เราซื้อของเข้า อบต. ซื้อแพงกว่าคนอื่นเขาหมด ทำไมเราซื้อได้ แต่พอถึงเวลาเดือดร้อน เหตุใดจึงซื้อของดี ๆ ให้ชาวบ้านไม่ได้"

(10) ปัญหาของผู้ปฏิบัติหน้าที่ ในโครงการที่เกี่ยวกับ COVID จะเอาเงินไหนมาจ่าย จะเบิกได้อย่างไร ไปซื้อน้ำแข็ง จะเอาเงินไหนซื้อน้ำ จะเอาเงินไหนซื้อข้าวกล่อง จะเอาเงินไหนซื้อของจิปาถะ จะเอาเงินไหนตั้งเต๊นท์ โต๊ะเก้าอี้ เครื่องเสียงประชาสัมพันธ์ จะเอาเงินไหนทำป้าย จะเอาเงินไหนซื้อกาแฟต้อนรับคนตรวจเยี่ยม จะเอาเงินไหนซื้อยาลม ยาดม ยาลม ยาหม่อง สำหรับประชาชนคนผ่านทางสารพัด ไม่ต้องใช้เงินงบในกระเป๋าเจ้าของโครงการ หรืออาจไปขอเงินนายก ขอปลัดบ้าง

หนังสือสั่งการมักตีกรอบแคบให้ท้องถิ่นเดิน เช่น กรณีโครงการเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ โครงการรวมพลังคนไทยร่วมใจต้าน COVID และ โครงการตั้งด่านจุดคัดกรอง เป็นต้น แต่ อปท.ต้องทำให้ถูกต้องตามระเบียบที่สุด ปรับใช้แต่ไม่ให้ทุจริต กรณีเจ้าของโครงการทุกข์ใจ งานเข้าเนื้อ เบิกอะไรก็ไม่ได้ นั่งปวดหัวท้อถอย เป็นปัญหาใหญ่ ทำให้ท้องถิ่นเรียนรู้คำว่า “ซิกแซก” ที่เกือบเลยไปถึงคำว่า “ทุจริต” ไม่รู้จะใช้งบประมาณส่วนไหน ตั้งจ่ายรายการใหม่ หรืออะไร ยังไง ไม่มีความชัดเจน

(11) ยังมีศูนย์กักกันดักตัวของ อปท.อีก ก็ใช้เงินสะสม

(12) คนตกงานก็มาก จากช่วงวิกฤต COVID-19 แต่ละประเทศเขามีมาตรการเยียวยากันหมด ไทยเราทำอย่างไร เยียวยาได้มากเพียงใด เพราะคาดการณ์ว่า เดือน พฤษภาคม ไทยน่าจะมีคนตกงานประมาณ 5-7 ล้านคน (เป็นแรงงานที่ถูกรัฐบาลสั่งปิดชั่วคราว ประมาณ 1 ล้านคน)

(13) อปท.ยังออกพ่นน้ำยาฆ่าเชื้ออยู่ ตามแผนปฏิบัติการที่ออกไปก่อนแล้ว ไม่ได้พ่นฆ่าเชื้อเพราะกลัวโควิดกลัวโควิด แต่นายอำเภอสั่งมา แม้สมาคมโรคติดเชื้อ และกรมควบคุมโรค แถลงว่าไม่จำเป็น (สิ้นเปลือง)

(14) พึงระวังการระบาดรอบสอง เพราะผู้ป่วยเชื้อเก่าที่หายแล้วกำเริบใหม่อีก มีเกิดแล้วที่เกาหลีใต้ และอาจเกิดที่จีนอีก

(15) ปูนบำเหน็จ จนท. ครั้งนี้ทั่งถึง เป็นธรรมหรือไม่ ครม.มีมติปูนบำเหน็จเพิ่มขั้นเงินเดือน “หมอ-ตำรวจ-ทหาร” สู้โควิด-19 จำนวน 38,105 อัตรา พร้อมลดดอกเบี้ยลดดอกเบี้ยเงินกู้

(16) ไข่ไก่ตอนนี้ล้นแล้ว ไข่ไก่ล้นตลาดเกษตรกรวอนรัฐเร่งปลดล็อกส่งออก ก่อนเจ๊ง! เหตุคนคลายกังวลโควิด-แห่ตุนไว้เยอะ

(17) ยังมีคดีน่าสนใจ กรณีกรมการบินพลเรือนให้ผู้โดยสารไทยกลับบ้านต้องมีใบรับรองแพทย์ก่อนขึ้นเครื่อง (fit to fly) ที่เป็นประกาศก่อนม ศบค. ก่อนมีสถานการณ์ฉุกเฉิน ศาลชั้นต้นยกฟ้อง แต่มีอุทธรณ์ศาลสูง

(18) ตอนนี้ชาวบ้านส่วนใหญ่เดือดร้อนกัน เกษตรกรก็เดือดร้อน ถ้าผลไม้ พืชผักมีมากขายไม่ออก ข่าวที่ จ.อุบลราชธานีเกษตรกรปลูกผักใจดี ขนผักแจกชาวบ้าน

(19) ข่าว รอนิดผู้ว่าฯ แถลง โคราชเล็งผ่อนปรนมาตรการ ให้เปิดสถานที่ได้ในเดือน พฤษภาคม นี้ ถ้าหากไม่มีการระบาดเพิ่มอีกครั้ง เผย 'ร้านวัสดุก่อสร้าง' อาจได้เปิดก่อน เนื่องจากมีร้องเรียนว่ากระทบกลุ่มผู้รับเหมา

พร้อมเตรียมเปิดตลาด ซึ่งอาจใช้พื้นที่หน้าศาลากลางจังหวัด ให้เกษตรกรนำผลผลิตมาขายได้ เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาผลกระทบจากโควิด-19 ในเบื้องต้น นอกจากนี้ยังได้ให้เหล่ากาชาด เตรียมถุงยังชีพ เร่งนำแจกจ่ายประชาชนที่เดือดร้อนด้วย (อ้างจาก : ศูนย์โควิด-19 นครราชสีมา 16 เม.ย. 63)

(20) อย่าลืมขยะจากหน้ากากอนามัยด้วย ถือเป็น หน้ากากติดเชื้อ ถังขยะแดง ต้องมาพร้อมรถเก็บขยะติดเชื้อแยกจากรถเก็บขยะอื่น พร้อมทั้งต้องมีสถานที่รองรับการกำจัดขยะติดเชื้อโดยเฉพาะ ที่ ทส. (กรมควบคุมมลพิษ คพ.(Pollution Control Department) เป็นหน่วยงานประเภทกรม อยู่ในสังกัดของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)   ประเมินว่าจะมีขยะหน้ากากอนามัยมากมายมหาศาล

ถ้า อปท.จะตั้งถังแดง ก็ต้องจัดซื้อรถเก็บขยะเพิ่ม เพื่อจัดเก็บจากถังแดงโดยเฉพาะ เพราะหากใช้รถเก็บขยะเดิม ก็คงจะเก็บใส่รวมกันกับขยะอื่น ซึ่งไม่มีประโยชน์ และเมื่อพิจารณาถึงความคุ้มค่าในการจัดซื้อรถเก็บขยะเพิ่ม เพื่อจะมาจัดเก็บหน้ากากอนามัยเพียงอย่างเดียว ก็ไม่ควรทำไม่ควรจัดซื้อรถเพิ่ม เมื่อไม่มีรถเก็บขยะติดเชื้อโดยเฉพาะ ก็ไม่ควรซื้อถังแดง มาวาง (อ้างจาก : บรรณ แก้วฉ่ำ)

(21) ดู จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ เป็นตัวอย่าง "ดับคึก" ก็ได้ ดีใจ โควิดหายแล้ว กำราบ-ปราบอยู่หมัดแล้ว ก็เปิดเมือง เข้าสู่โหมดชีวิตใหม่ พอ "ลดการ์ด-เปิดเมือง" เท่านั้นแหละ โควิดที่แกล้งสลบโดดผึง ซัดเปรี้ยง ครางกันอ๋อยๆ มันมารอบ 2 แล้ว ประเทศไหน "ป่วยน้อยสุด" ครองถ้วยทองคำฝังเพชร "โควิด-19" ไปเลย

ณ 15 เมษายน 2563 ผู้ป่วยโควิดอันดับ 1-5 ของอาเซียน เป็นดังนี้   

อันดับ 1 ฟิลิปปินส์ ป่วย 291 สะสม 5,223

อันดับ 2 มาเลย์ ป่วย 170 สะสม 4,987

อันดับ 3 อินโดฯ ป่วย 282 สะสม 4,839

อันดับ 4 สิงคโปร์ ป่วย 334 สะสม 3,252

อันดับ 5 ไทย ป่วย 30 สะสม 2,643

แต่ถ้าชะล่าใจ "การ์ดตก" หลังสงกรานต์ ก็มีความเป็นไปได้ "จากบ๊วย" ไทยจะป่วยและตายพุ่งแซงหน้าสิงคโปร์ ขึ้นไปทาบอินโดฯ-มาเลย์ ไทยเราบ๊วย แต่ถ้าชะล่าใจ "การ์ดตก" หลังสงกรานต์ ก็มีความเป็นไปได้ "จากบ๊วย" ไทยจะป่วยและตายพุ่งแซงหน้าสิงคโปร์ ขึ้นไปทาบอินโดฯ-มาเลย์ (อ้างจาก : เปลว สีเงิน)

(22) คดีไม่สวมหน้ากากอนามัย คดีตัวอย่าง ศาลกันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ พิพากษายกฟ้อง 2 จำเลย สภ.เบญจลักษณ์ ไม่สวมหน้ากากอนามัย-หน้ากากผ้าออกนอกบ้าน ชี้ไม่มีกฎหมายกำหนดห้าม-โทษไว้ ไม่น่าเป็นเหตุให้โรคติดต่อแพร่ออกไป ผู้พิพากษาใช้หลักไม่มีกฎหมายไม่มีอำนาจ

หมายเลขบันทึก: 677027เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2020 22:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 เมษายน 2020 22:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท