สู้โรคระบาดสมัยใหม่ด้วยอาวุธล้าสมัย


นายแพทย์เดวิด ฮันเตอร์ ศาสตราจารย์ด้านระบาดวิทยามหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ตีพิมพ์บทความลงในหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียนเมื่อ 5เมย.2020

We are fighting a 21st-century disease with 20th-century weapons

https://www.theguardian.com/world/2020/apr/05/we-are-fighting-a-21st-century-disease-with-20th-century-weapons

(ตั้งแต่ 15เมย.2020 เดอะการ์เดียน เปิดดูไม่ได้สะดวกเหมือนเก่า ต้องแจ้งชื่อและอีเมล์ จึงจะอนุญาตให้อ่านรายละเอียดได้)

เรากำลังสู้โรคยุคศตวรรษที่21 ด้วยอาวุธเก่าที่มีมาแต่ครั้งศตวรรษที่20

ระบบข้อมูล และการเชื่อมโยงข้อมูล เป็นอาวุธสำคัญที่จะช่วยป้องกันการระบาดโควิด และโรคอื่นๆ

เมื่อการระบาดขึ้นสูงสุด แล้วลดลง เราจำเป็นต้องดำเนินชีวิตต่อไป เพื่อป้องกันคลื่นการระบาดในรอบสอง เราต้องมีเครื่องมือที่ช่วยเตือน คือ App ระบบเชื่อมโยงเครือข่ายห้องLab เพื่อดูอัตราการติดเชื้อ และภูมิคุ้มกัน

ตอนนี้ใน UK มีApp ให้ประชาชนบันทึกรายงานอาการป่วยด้วยตนเอง

https://theconversation.com/our-free-coronavirus-symptom-tracking-app-has-been-used-by-two-million-people-heres-what-were-learning-134923


ในUS มีการเชื่อมโยงข้อมูลการวัดอุณหภูมิร่างกาย ส่งไปรวมกัน วิเคราะห์ตามพื้นที่อยู่อาศัย กลุ่มอายุ ร่วมกับอุณหภูมิบรรยากาศ และความชื้น เพื่อวิเคราะห์สัญญาณเตือนการระบาด

การบันทึกข้อมูลสุขภาพ ปัจจัยเสี่ยง จากหน่วยบริการปฐมภูมิ  การรับบริการที่โรงพยาบาล ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลเหล่านี้จัดระบบให้มีการเชื่อมโยงได้จำนวนมากพอ และสามารถวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็ว นี่จึงจะเป็นอาวุธที่พอจะต่อกรกับโรคระบาดร้ายที่แพร่เชื้อได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวางไปทั่วโลก

ที่ผ่านมารัฐบาลหลายประเทศได้เริ่มดำเนินการ แต่เป็นไปอย่างเชื่องช้า และไม่ยอมประสานเชื่อมโยงกัน

สหราชอาณาจักร มีโครงการ Accelerating Detection of Disease Initiative คาดหวังว่าจะมีการพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพ และโรคภัย

https://www.ukri.org/innovation/industrial-strategy-challenge-fund/accelerating-detection-of-disease/

แม้เศรษฐกิจจะถดถอย แต่การลงทุนด้านพื้นฐานสุขภาพดิจิทัล จะเป็นส่วนให้เศรษฐกิจเคลื่อนตัวได้

การเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์สอบถาม ผู้ตอบจำได้บ้าง จำไม่ได้บ้าง เล่าความจริงบ้าง ปกปิดข้อมูลบ้าง

ส่วนผู้สอบถามยังใช้วิธีจดบันทึกข้อมูลลงแบบฟอร์มอย่างเดิม อาจไม่ทันการณ์ การรวบรวมข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีจึงมีความจำเป็นที่ต้องรีบพัฒนา

การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์สาธารณะ ก็ยังมีปัญหาเรื่องการยินยอมและการเข้าถึงข้อมูล

บทเรียนจากการระบาดของโควิด ทำให้เข้าใจถึงปัจจัยเสี่ยงจากปัญหาสุขภาพ โรคประจำตัว เช่น มะเร็ง โรคหัวใจ เบาหวาน

แค่ปรบมือให้กำลังใจบุคลากรการแพทย์สาธารณสุข ในการสู้โรคระบาดนี้ยังไม่พอ แต่ทุกคนต้องช่วยให้ข้อมูลสุขภาพ การเจ็บป่วย เพื่อจะได้ช่วยค้นหาป้องกันและเตรียมการรับการระบาดครั้งต่อไป รวมทั้งโรคไม่ติดต่อซึ่งเป็นปัญหาร่วมอยู่ด้วย

(บทความต้นฉบับภาษาอังกฤษ สามารถอ่านได้จาก

https://www.reporter.am/we-are-fighting-a-21st-century-disease-with-20th-century-weapons-world-news/ )

หมายเลขบันทึก: 676991เขียนเมื่อ 16 เมษายน 2020 15:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 เมษายน 2020 16:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท