โคโรนาไวรัสและประชาธิปไตยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะที่วิกฤตการณ์ทางสาธารสุขกำลังเพิ่มขึ้น และประเทศต่างๆกำลังเดินเข้าสู่การปิดเมืองในระดับที่แตกต่างกัน มันกำลังนำเสนอระบอบการปกครองที่เน้นอำนาจสูงสุดด้วยการเปิดโอกาสให้มีการกดทับความคิดเห็นทางการเมือง, นำเสนอการเชื่อฟังอย่างเข้มข้น, และทำให้กฎเกณฑ์ชัดเจนขึ้น หากมาตรการไม่มีบังคับใช้แล้ว สภาพการณ์ของโควิท 19 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะนำประชาธิปไตยไปสู่ความล่มสลายในที่สุด

วิกฤตการณ์โคโรนาไวรัส ประเทศจีนเป็นผู้แรกเริ่มในปลายปี 2019 ซึ่งในตอนนี้แพร่กระจายไปทั่วโลกแล้ว ยกตัวอย่างเมื่อวานนี้ คนติดเชื้อโคโรนาไวรัสมีถึง 786,000 ทั่วโลก ที่มีคนตายถึง 37,000 และมีคน 116,000 ปลอดจากการติดเชื้อ พลเมืองกลัวการปิดเมืองทุกเมือง ดังเช่นในอิตาลี และกำลังมาถึงเอเชีย โดยดูที่อินเดีย ในขณะที่ความสนใจจะอยู่ที่การสูญเสียงานและเศรษฐกิจ แต่สิ่งที่เป็นสิ่งสำคัญคือประชาธิปไตยกำลังอยู่ในสภาวะเสี่ยงที่ล้มลงไป

ตั้งแต่กลางเดือนที่แล้ว ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประสบการเผชิญอย่างก้าวกระโดดของการติดเชื้อโควิท 19 และการตาย เพื่อทำให้ทำให้เส้นโคโรนาเบาบางลง รัฐบาลต่างๆจำเป็นต้องมีการห้ามในการเดินทาง, ปิดพรมแดน, ห้ามหรือจำกัดการอยู่ร่วมกัน, ให้คนอยู่ห่างๆ, ห้ามการเคลื่อนไหวของคน, และปิดเมืองในที่สุด นั่นคือห้ามการเคลื่อนไหวของคนและองค์กรต่างๆ

ถึงแม้ว่าสิ่งนี้จะเป็นสิ่งที่ทำกันโดยทั่วไป แต่ความกังวลก็คือรัฐบาลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะการแพร่เชื้อนี้ไปเป็นผลประโยชน์ทางการเมือง มาตรการที่ใช้มีความอ่อนไหวทางการเมือง ที่ส่งผลเวลาในการเลือกตั้งและช่วงเปลี่ยนผ่านหลังเลือกตั้ง ทำให้ผู้มีอำนาจสูงสุดขยายการปกครองหรือการกลับมาอีกครั้งในรูปแบบที่ต่างออกไป

ผู้วิจารณ์เรื่องการใช้อำนาจสูงสุดกับวิกฤตสาธารณสุขต้องพบกับการโต้ตอบแบบรุนแรงและเผลอๆกลายเป็นข่าวปลดเสียด้วยซ้ำ ในสถานการณ์อื่นๆ อำนาจสูงสุดจะวางตนเองว่าเป็นคนที่มีความสามารถในการจัดการกับวิกฤต และปิดเมืองเพื่อให้ดูดีในสายตาสาธารณะ ซึ่งทั้งหมดนี้ทำได้โดยการไม่ให้แสดงออกทางการเมือง และส่งผลต่อประชาธิปไตย

ในวันพฤหัสบดี ประเทศไทยประกาศสภาวะฉุกเฉินเพื่อจัดการกับวิกฤตการณ์สาธารณสุข อย่างไรก็ตาม การห้ามการรวมกลุ่มกันเป็นมาตรการสะดวกสบาย ที่ป้องกันการคัดค้าน และเป็นประเด็นการปฏิรูปประเทศ การประท้วงตามวิทยาเขตของมหาวิทยาลัย ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบในเดือนมกราคม ปี 2020 เป็นผลกระทบความไม่พอใจในหมู่เยาวชน ตอนนี้การห้ามไม่ให้รวมตัวกันจะประสบความสำเร็จในตอนนี้ การแสดงความคิดแบบอิสระโดยสื่อจะถูกจำกัดโดยประกาศสภาวะฉุกเฉิน ที่รัฐบาลจะห้ามการวิพากษ์วิจารณ์

โดยนัยยะเดียวกันในฟิลิปปินส์ วันที่ 24 มีนาคม ประธานาธิบดีดูแตร์เต ประกาศอำนาจฉุกเฉินในการสู้กับโควิท 19 สิ่งนี้กลายมาเป็นความโน้มเอียงในใจรักเผด็จการของเขา สภานิติบัญญัติจะผ่านร่างพ.ร.บ.เพื่อการใช้อำนาจที่เกินปกตินี้ ซึ่งทำให้เกิดความกลัวกันถ้วนหน้า แต่ประวัติของการไม่ให้เกียรติแก่สิทธิมนุษยชนของดูแตร์เตไม่ได้ลดลงเลย

ในกัมพูชา โควิท 19 เปิดโอกาสให้นายกฯฮุน เซน มีโอกาสในการใช้มาตรา 22 ในรัฐธรรมนูญเพื่อประกาศให้ประเทศอยู่ในภาวะฉุกเฉิน ในขณะที่ชาวกัมพูชาและนักกิจกรรมฝ่ายค้านต่างถูกจับเพราะแสดงความห่วงใยเรื่องไวรัสในสื่อทางสังคมออนไลน์

ในมาเลเซีย รัฐบาลที่ได้มาจากการเลือกตั้งปี 2018 ล้มเหลวในเดือนมกราคมปีนี้ การประกาศคำสั่งควบคุมแบบเข้มงวด แรกเริ่มเดิมทีจะใช้จนถึงมีนาคม 31 แต่ถูกใช้ต่อจนถึงวันที่ 14เมษายน สิ่งนี้เปิดโอกาสให้สมาชิกอนุรักษ์นิยมพรรคอัมโนมีเวลาในการรวบอำนาจ เพราะการประท้วงถูกยกเลิก ในการนี้ความกดดันของประชาชนที่มีอยู่เหนือรัฐบาลแบบลับๆจะมีมากขึ้น

การเลือกตั้งครั้งหน้าในสิงคโปร์มีกำหนดวันที่ 21 เดือนเมษายน ปี2021 ประธานาธิบดีลีเซียนลุงพูดในวันต่อมาว่าคนที่อยู่ในเมืองสามารถเลือกตั้งล่วงหน้าได้ หรือจะรอให้ทุกอย่างคงที่เสียก่อน ต่อมาพรรคฝ่ายค้านร่วมกันแถลงต่อสาธารณะว่ารัฐบาลทำตัวไม่เหมาะสมในการเลือกตั้งขณะที่มีการแพร่ของโรคระบาดอยู่ พรรคฝ่ายค้านกังวลเกี่ยวกับพรรครัฐบาลจะออกมาตรการจำกัดกิจกรรมทางการโฆษณา และการรวมกันที่ส่งผลต่อโอกาสทางการเมือง

พม่ามีการรายงานถึงโควิท 19 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ถึงแม้ว่ามันจะเร็วเกินไปในการกำหนดวันเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายน แต่ความกังวลของประเทศอยู่ที่การกลับมาของแรงงานอพยพทั่วๆชายแดนไทย และขบวนการประชาชนที่อยู่ในประเทศ สิ่งนี้ทำให้เผด็จการทางทหารเข้ามาใช้คำสั่งเพื่อการแก้ไขสถานการณ์ นำเสนอหมอและอุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมทั้งนำเสนอการกระทำที่ลดบทบาทของทหารลง ด้วยการทำแบบนี้ เผด็จการจึงสามารถนำเสนอภาพลักษณ์ และนำเสนอที่ทางการเมืองที่สะสมความได้เปรียบ สิ่งนี้ทำให้พรรคของอองซานซูจีที่ได้รับ 75% เสียงในรัฐบาลเป็นไปได้ยากขึ้น เสียงเพียง 75% ก็สามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญได้แล้ว และไม่สามารถจำกัด 25% ที่เป็นทหารในรัฐสภาได้

ในอินโดนีเซีย จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นทุกวัน นักวิจารณ์บอกว่ารัฐบาลไม่มีความโปร่งใส และเชื่องช้าในการตอบสนอง การรับมือกับวิกฤตอย่างผิดๆ และการเกิดขึ้นของบทสวดมนต์ ที่เป็นเครื่องมือในการป้องกันเชื้อโรคยิ่งทำให้ความน่าเชื่อถือในประชาธิปไตยลดน้อยถอยลงในรัฐบาลของโจโควี ที่ได้เสียงข้างมากในการเลือกตั้งปี 2019 ที่เอาชนะกองกำลังของทหาร

ในเวียดนาม การปิดเมืองส่งผลต่อฮานอย ในฐานะเวียดนามเป็นเจ้าภาพอาเซียน การประชุมประจำปีกำหนดไว้ในเดือนตุลาคม แต่ฟอรัมประชาชนชาวอาเซียนมีแนวโน้มว่าจะเลื่อนไป หรือถูกจัดแบบย่อๆ

ลาวเริ่มมีผู้ติดเชื้อในปลายมีนาคม และประกาศว่าจะเอาแบบอู่ฮั่นในจีนเป็นแบบในการควบคุม

ภาวะฉุกเฉินอันเกิดจากโควิท 19 นำเสนอโอกาสให้พรรคคอมมิวนิสต์จีนเผยแพร่โมเดลการปกครองที่ทั้งรวดเร็วและมีประสิทธิภาพให้คนอื่นๆเขาดู ถึงแม้ว่ามาตรการที่จีนทำจะดูเป็นไม้แข็ง แต่สาระสำคัญที่จีนต้องการจะส่งก็คือสามารถทำนโยบายที่ยากและไม่น่าเชื่อถือให้เกิดขึ้นได้ ในขณะที่ประเทศทางตะวันตกไม่สามารถกระทำได้ ปล่อยให้ชีวิตของพลเมืองอยู่ในความเสี่ยงตลอดมา ดังนั้นระบบอำนาจสูงสุดที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็มีเหตุผลที่จะสงสัยในคุณค่าประชาธิปไตย

ในการส่งเสริมการปกป้องระบอบประชาธิปไตยให้แก่รัฐ พลเมือง, สื่อ, และชุมชนนาๆชาติจะต้องจับตากลไกการปกครองแบบอำนาจสูงสุดเอาไว้ให้มั่น และความพลิกแพลงในการใช้โควิท 19 เพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง หากสิ่งนี้เกิดขึ้น อำนาจสูงสุดจะมีโอกาสให้ขุดเพลาะให้ตนเอง นี่จะเป็นผลที่เป็นระบบประชาธิปไตยในวิกฤตการณ์โคโรนาไวรัส

แปลและเรียบเรียงโดย

James Gomez และ Robin Ramcharan. Coronavirus and democracy in Southeast Asia

https://www.bangkokpost.com/opinion/opinion/1890655/coronavirus-and-democracy-in-southeast-asia

หมายเลขบันทึก: 676990เขียนเมื่อ 16 เมษายน 2020 14:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 เมษายน 2020 14:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท