ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม(Progressivism)



รุสโซ (Jean Jacques Rouseeau)



ความเป็นมา

พิพัฒนาการนิยมเกิดจากทัศนะทางการศึกษาของ รุสโซ (Jean Jacques Rouseeau) ชาวอเมริกา เขาเชื่อว่า การศึกษาจะช่วยพัฒนาเด็กไปในทางที่ดี  ต่อมามีนักการศึกษาชาวสวีเดน ชื่อ เพสตาโลสซี (Johann Heinrich Pestalozzi) มีแนวคิดว่า การพัฒนาหมายถึงการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นการจะยึดอะไรเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นทางด้านความรู้ หรือความเชื่อย่อมเป็นการถ่วงพัฒนาการ หรือการเปลี่ยนแปลงของเด็ก เพสตาโลสซี่จึงเป็นอีกบุคคลหนึ่งที่เน้นพัฒนาการของผู้เรียน
ความหมาย

พิพัฒนาการ หรือ Progressive หมายถึง การเปลี่ยนแปลงไม่หยุดนิ่ง การจัดการศึกษาต้องปรับปรุงให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง จึงได้เชื่อว่า “แนวทางแห่งความมีอิสระเสรีที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง วัฒนธรรมและสังคม”
ความหมายของการศึกษา

พิพัฒนาการนิยมเชื่อว่าการศึกษาคือชีวิตไม่ใช่เป็นการเตรียมตัวเพื่อชีวิต หมายความว่า การที่จะให้ได้มาซึ่งความรู้ก็โดยการลงมือกระทำ จริง ๆ ที่จะก่อให้เกิดประสบการณ์กับผู้เรียน กิจกรรมการเรียนการสอนจึงมุ่งการพัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาไปพร้อม ๆ กัน สามารถปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุขแนวความคิดเกี่ยวกับการจัดการศึกษาตามปรัชญาพิพัฒนนิยมมี ดังนี้

 1)แนวคิดทางสังคมและเป้าหมายการศึกษา

นักปรัชญาการศึกษากลุ่มพิพัฒนานิยมจะถือว่าโรงเรียน เป็นเครื่องมือของสังคมที่ใช้สำหรับถ่ายทอดวัฒนธรรมอันเป็นมรดกของสังคมไปสู่อนุชนรุ่นหลัง โรงเรียนที่ดีควรสามารถสะท้อนให้เห็นถึงสิ่งต่าง ๆที่ยอมรับในสังคม และสามารถนำพาผู้เรียนไปสู่ความสุขของชีวิตในอนาคต การดำเนินการต่าง ๆ ตามปรัชญาการศึกษากลุ่มนี้จะเน้นวิธีการประชาธิปไตย เป้าหมายการศึกษา นักปรัชญากลุ่มพิพัฒนานิยมมีความเห็นว่าเป้าหมายที่สำคัญที่สุดของการศึกษาก็คือ การสร้างสถานการณ์ที่จะสร้างความก้าวหน้าให้แก่ผู้เรียนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ สอนให้ผู้เรียนได้รู้จักคิดแก้ปัญหา ค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง สิ่งที่เรียนต้องสอดคล้องกับชีวิตประจำวันของผู้เรียนมากที่สุด

2)ลักษณะผู้เรียน

เป็นผู้ที่จะต้องพบกับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ นักเรียนเป็นศูนย์กลางการเรียน และได้ยอมรับว่านักเรียนแต่ละคนจะมีความแตกต่างกัน ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนควรคำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียน

3)ลักษณะครูผู้สอน

ภาระหน้าที่ของครูก็คือ แนะแนวทางให้แก่ผู้เรียนในการทำกิจกรรมต่าง ๆพร้อมกับจัดสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้มากที่สุด ครูจะต้องเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอน เช่นเดียวกับนักเรียน และมีหน้าที่ช่วยเหลือสนับสนุน นักเรียนในการพัฒนาโครงการต่าง ๆที่นักเรียนได้ทำอยู่ เป็นผู้สนับสนุนให้นักเรียนได้ร่วมมือกันทำงานมากกว่าการแข่งขันกันในการกระทำสิ่งต่าง ๆ

4)ลักษณะหลักสูตรหรือเนื้อหา

ในทัศนะของปรัชญากลุ่มพิพัฒนนิยมจะยึดเอาผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียน ส่งเสริมประชาธิปไตย โดยผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดยการกระทำ (Learning by doing) การเรียนการสอนมักยึดเอาความต้องการของผู้เรียนเป็นหลัก ดังนั้นหลักสูตรจึงมีความยึดหยุ่นมากที่สุด ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้เรียนเป็นประการสำคัญ หลักสูตรแบบนี้มีชื่อเรียกว่า "หลักสูตรประสบการณ์ (experience curriculum)" หรือ "หลักสูตรที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (child centered curriculum)"

5)หลักการจัดการเรียนการสอน 

ใช้วิธีการเรียนการสอนในหลายลักษณะที่เห็นว่าจะนำมาใช้ได้ และมีความแตกต่างกันตั้งแต่จัดแบบตามสบายจนกระทั่งถึงแบบที่มีระเบียบแบบแผน สำหรับวิธีการที่นิยมใช้มากก็คือการทำโครงการ การอภิปรายกลุ่ม และการแก้ปัญหาเป็นรายบุคคล การจัดการเรียนการสอนตามแนวความคิดของกลุ่ม พิพัฒนนิยม จะเน้น "คิดอย่างไร" มากกว่า"คิดอะไร" นั่นคือ เน้นกระบวนการมากกว่าจุดหมายปลายทาง หรือ ผลลัพธ์ของการเรียน

สรุป

ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยมเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในการจัดการเรียนรู้ สอนให้ผู้เรียนได้รู้จักคิดแก้ปัญหา ค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง สิ่งที่เรียนต้องสอดคล้องกับชีวิตประจำวันของผู้เรียนมากที่สุด ส่งเสริมให้มีประชาธิปไตยทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนให้รู้จักตนเองรู้จักสังคม
อ้างอิง

https://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:6zIHaRyIlAcJ:https://ams.kku.ac.th/aalearn/resource/edoc/tech/56web/1phylos56.pdf+&cd=3&hl=th&ct=clnk&gl=th
https://www.baanjomyut.com/library_2/educational_philosoph/05.html


หมายเลขบันทึก: 676805เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2020 20:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 เมษายน 2020 20:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท