ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม (Perennialism)


อริสโตเติล

ความเป็นมา

ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม ผู้นำคิดค้นปรัชญานี้คือ อริสโตเติล ซึ่งได้รับอิทธิพลจากปรัชญาพื้นฐานกลุ่มวัตถุนิยมเชิงเหตุผล (Rational Realism) หรือบางที่เรียกกันว่าเป็นพวกโทมัสนิยมใหม่ (Neo – Thomism) มีจุดมุ่งหมายให้การศึกษาเป็นพาหะนำมนุษย์ไปสู่อดีตที่มีระเบียบ มีความมั่นคง มีจริยธรรม และความยุติธรรม ซึ้งเป็นปรัชญาที่มีมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ แต่เพิ่งได้รับการรื้อฟื้นจัดระบบใหม่เมื่อประมาณ 40 -50 ปี นิรันตรนิยมมีจุดมุ่งหมายให้การศึกษาเป็นพาหะนำมนุษย์ไปสู่อดีตนั้นเพราะเชื่อมั่นว่าแก่นของความคิดและวัฒนธรรมของสมัยโบราณและสมัยกลางของยุโรป เป็นสิ่งที่ดีงามไม่เสื่อมคลายและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในปัจจุบันและทุกประเทศ

ความหมายนิรันตรนิยม
คำว่า “นิรันตร” หรือ Perennial หมายถึง สิ่งที่คงที่ ถาวร ไม่เปลี่ยนแปลง เป็นนิรันดรปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม เชื่อว่าการศึกษาควรจะได้สอนสิ่งซึ่งเป็นนิรันดรไม่เปลี่ยนแปลง มีคุณค่าไม่ว่าจะเป็นยุคสมัยใด

แนวคิดทางการศึกษาของปรัชญานิรันตรนิยมมีลักษณะเป็นดังนี้

1)ลักษณะผู้เรียน

ปรัชญาการศึกษากลุ่มนิรันตรนิยมจะมีความเชื่อว่า นักเรียนเป็นผู้ที่มีเหตุผลและมีแนวโน้ม ที่จะก้าวไปสู่ความจริงและความรู้ต่าง ๆ ดังนั้นโรงเรียนจะต้องพัฒนาผู้เรียนให้ได้รับความจริงและความรู้เหล่านั้น นักเรียน จะต้องได้รับการพัฒนาให้เป็นผู้ที่มีเหตุผล ให้มีความจำและให้มีความตั้งใจในการกระทำสิ่งต่าง ๆเป็นเลิศ

2)ลักษณะครูผู้สอน  

กลุ่มนิรันตรนิยมนั้นเชื่อว่า ครูจะเป็นตัวอย่างและเป็นผู้ควบคุมดูแลและรักษาระเบียบ วินัย และเนื่องจากครูจะต้องเป็นผู้ที่ฝึกอบรมนักเรียนให้เป็นคนมีเหตุผลและเป็นผู้มีความตั้งใจในการทำงาน ดังนั้นครูจะต้องมีคุณลักษณะดังกล่าว และต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียน

3)ลักษณะหลักสูตรหรือเนื้อหา

หลักสูตรในทัศนะของนักปรัชญากลุ่มนิรันตรนิยมประกอบด้วยเนื้อหา สาระ 2 ประเภท คือ เนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับจิตใจซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นการศึกษาทางมานุษยวิทยา และนักปรัชญา กลุ่มนิรันตรในสหรัฐอเมริกาหลายคนได้สนับสนุนแนวความคิดที่จะให้ใช้เรื่องราวและวรรณคดีจากหนังสือ The Great Book เป็นวิชาพื้นฐานของหลักสูตรระดับอุดมศึกษา ทั้งนี้ เนื่องจากมีความเห็นว่า เรื่องราวในหนังสือดังกล่าว ได้รับการพิสูจน์ด้วยกาลเวลามาแล้ว ว่าเป็นสิ่งที่ดีมีคุณค่าที่ดีงาม สามารถสืบทอดต่อไปยังอนุชนรุ่นต่อไป

4)หลักการจัดการเรียนการสอน 

การจัดการเรียนการสอนของกลุ่มนิรันตรนิมได้ตั้งอยู่บนรากฐานของการฝึกอบรมทางจิตใจและปัญญาโดยใช้เนื้อหาวิชาต่างๆและเนื่องจากว่าธรรมชาติของผู้เรียนมีความต้องการอยากจะเรียนรู้สิ่งต่างๆเป็นทุนเดิมดังนั้นนักปรัชญากลุ่มนิรันตรนิยมจึงใช้ธรรมชาติดังกล่าวของผู้เรียนเป็นประโยชน์ต่อการ เรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนก้าวไปสู่ความมีเหตุผล วิธีการสอนที่กลุ่มนิรันตรนิยมได้ใช้มากก็คือ วิธีการบรรยาย เพื่อให้นักเรียนได้มีความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ นอกจากนี้ยังได้ใช้วิธีการให้ท่องจำเนื้อหาสาระต่าง ๆ และวิธีการถามตอบ (ปุจฉา-วิสัชนา)อีกด้วย
สรุป

ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยมเน้นเรื่องความสำคัญของครูและเนื้อหาวิชาการจัดการเรียนการสอนนี้จึงมุ่งเน้นให้ผู้เรียนจดจำใช้เหตุผลและตั้งใจกระทำสิ่งต่างๆ โดยผู้สอนใช้การบรรยายซักถามเป็นหลักรวมทั้งเป็นผู้ควบคุมดูแลให้นักเรียนอยู่ในระเบียบวินัยการจัดการเรียนการผู้เรียนมีบทบาทในการเรียนอย่างมากเท่า ๆ กัน หรือมากกว่าครู และเป็นลักษณะอภิปรายแลกเปลี่ยนกับครูภายใต้การแนะนำของครู
อ้างอิง

https://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:6zIHaRyIlAcJ:https://ams.kku.ac.th/aalearn/resource/edoc/tech/56web/1phylos56.pdf+&cd=3&hl=th&ct=clnk&gl=th
https://www.baanjomyut.com/library_2/educational_philosoph/02.html


หมายเลขบันทึก: 676803เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2020 19:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 เมษายน 2020 20:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท