18 ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งเต้านม


ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบในโลกตะวันตก(ฝรั่ง)มากกว่าโลกตะวันออก(ไทย พม่า จีน ญี่ปุ่น...)

แนวโน้มสถิติประเทศไทยพบมะเร็งเต้านมบ่อยขึ้น ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการใช้วิถีชีวิตแบบตะวันตก โดยเฉพาะอาหารจานด่วนที่มีไขมันมากขึ้น

ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งเต้านมแบ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันไม่ได้ และปัจจัยที่ป้องกันได้

ปัจจัยที่ป้องกันไม่ได้เป็นปัจจัยที่ควรรู้ไว้ เพื่อให้ทราบระดับของความเสี่ยงว่า มีความเสี่ยงสูงต่ำมากน้อยเท่าไร

ถ้าปัจจัยเสี่ยงสูงควรปรึกษาบุคลากรสุขภาพที่ดูแลสุขภาพของท่าน  ส่วนปัจจัยที่ป้องกันได้เป็นปัจจัยที่ควรรู้ไว้ เพื่อปรับปรุงวิถีชีวิต (lifestyle) ให้ปลอดภัยขึ้นต่อไป

ปัจจัยที่ป้องกันไม่ได้

ปัจจัยที่ป้องกันไม่ได้มี 9 ข้อได้แก่

1.      เพศ                                                                   

ผู้หญิงเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้ชายเกือบ 100 เท่า

2.      อายุ                                                                   

มะเร็งเต้านมส่วนใหญ่เป็นหลังอายุ 50 ปี

3.      ประวัติเคยเป็นมะเร็งเต้านม                           

คนที่เคยเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อนมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมตำแหน่งอื่น ซึ่งอาจจะเป็นเต้านมข้างเดียวกันหรือข้างตรงข้ามก็ได้

ปัจจุบันมะเร็งเต้านมขนาดเล็กรักษาได้ด้วยการตัดเต้านมออกบางส่วน จึงต้องคอยสังเกตดูเต้านมที่เหลืออยู่ทั้งข้างเดียวกันและข้างตรงข้ามเป็นประจำ

4.      ประวัติฉายแสง                                               

คนที่เคยฉายแสงรักษามะเร็งมาก่อน เช่น ฉายแสงส่วนทรวงอก ฉายแสงช่องท้อง ฯลฯ มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น

5.      ประวัติครอบครัว                                             

คนที่มีญาติสายตรง เช่น แม่ พี่ น้อง ฯลฯ เป็นมะเร็งเต้านมจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น

6.      เนื้องอกชนิดไม่ร้าย                                        

คนที่มีเนื้องอกเต้านมชนิดไม่ร้าย (benign breast diseases) มาก่อนมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น

7.      ผลชิ้นเนื้อผิดปกติ                                           

คนที่มีผลการตรวจชิ้นเนื้อของเนื้องอกเต้านมเป็นชนิดแบ่งตัวผิดปกติ (atypical hyperplasia) มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 

8.      ประจำเดือนนาน                                              

คนที่ประจำเดือนมาเร็วกว่าปกติ (early menstruation) หรือหมดช้ากว่าปกติ (late menopause) มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น

ปัจจัยที่ป้องกันได้

ปัจจัยที่ป้องกันได้มีความสำคัญมาก เพราะเป็นปัจจัยที่พอจะปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตได้มี 9 ข้อได้แก่

1)      ไม่สูบ                                                                

บุหรี่เป็นสารก่อมะเร็งหลายอย่าง เช่น ปอด กระเพาะปัสสาวะ เต้านม ฯลฯ

2)      มีลูกก่อน 30                                                    

คนที่มีลูกก่อนอายุ 30 ปีมีความเสี่ยงน้อยกว่าคนที่มีลูกหลังอายุ 30 ปี หรือไม่มีลูกเลย

3)      ยาคุมกำเนิด                                                    

การกินยาคุมกำเนิดนานๆ เพิ่มความเสี่ยง

4)      อ้วนและกินไขมันมาก                                    

การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ(ไม่อ้วน) การลดอาหารไขมัน โดยเฉพาะไขมันสัตว์ และการกินพืชผัก(ข้าวกล้อง ถั่ว งา ผัก และผลไม้)ให้มากมีส่วนลดความเสี่ยงจากมะเร็งเต้านม

5)      ไม่ออกแรง                                                       

การไม่ออกกำลังกายและไม่ออกแรงในชีวิตประจำวัน เพิ่มความเสี่ยง

6)      ดื่มเหล้า                                                            

แอลกอฮอล์(เหล้า เบียร์ ไวน์...)เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งเต้านม

7)      ฮอร์โมนทดแทน                                             

การใช้ฮอร์โมนทดแทน (hormone replacement therapy / HRT) ในวัยหมดประจำเดือนหรือวัยทองเพิ่มความเสี่ยง

การกินถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ นมถั่วเหลือง ฯลฯ มีส่วนช่วยบรรเทาอาการวัยทองได้

8)      อ้วนขึ้นหลังหมดประจำเดือน                         

คนที่น้ำหนักขึ้น และอ้วนหลังหมดประจำเดือนมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น

9)      สิ่งแวดล้อม                                                      

มลภาวะในสิ่งแวดล้อมหลายอย่างมีส่วนเพิ่มความเสี่ยง เช่น ยาฆ่าแมลง ฯลฯ การปลูกพืชสวนครัวเอง การกินพืชผักอนามัย(ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง) การล้างพืชผักให้ถูกวิธีมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงได้

ขอแนะนำ...                                                                  

    แหล่งที่มา:                                      

  • ขอขอบคุณ > www.health.uab.edu/show.asp?durki=85326(hospital university of Alabama at Birmingham campus) > November 7, 2005
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ > 8 พฤศจิกายน 2548.
หมายเลขบันทึก: 6767เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2005 10:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท