โรงเรียนชาวนาระดับมัธยม (๑๙)
ต่อไปนี้เป็นบันทึกของ “คุณอำนวย” โดยตรง ว่าการทำหน้าที่ “คุณอำนวย” ในโรงเรียนชาวนาระดับมัธยม คือเน้นที่การบำรุงดินโดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมีนั้น ต้องมีเครื่องมืออะไรบ้าง
ตอนที่ 18 เครื่องไม้เครื่องมือและสื่อเทคโนโลยี
ในการเรียนการสอน
จำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีเข้าช่วยแทบจะทุกขั้นตอนการเรียนการสอน
ทั้งนี้ก็เพื่อจะให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้
เรียนได้ง่ายและเกิดความสะดวก
หลายกิจกรรมไม่สามารถดำเนินการได้
หากขาดเครื่องมือที่ดีที่เหมาะสมกับกิจกรรมนั้นๆ
และเครื่องมือบางอย่างก็นำไปช่วยเสริมให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างสนุกสนาน
เกิดความน่าสนใจ
ให้นักเรียนชาวนาได้เพลิดเพลินกับการเรียนรู้
เครื่องไม้เครื่องมือและสื่อเทคโนโลยีที่ใช้ประกอบการเรียนรู้สำหรับนักเรียนชาวนามีหลายสิ่งหลายประเภท
ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
(1) เครื่องมืออย่างง่าย
- เครื่องเขียน อันได้แก่ ปากกา
ดินสอ สี กระดาษ สมุดบันทึก
ซึ่งสิ่งเหล่านี้มี
ความจำเป็นขั้นพื้นฐานที่ใช้ในกิจกรรมการเรียนรู้
- สวิง
เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจับแมลงในแปลงนาข้าว
ในกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องแมลง
ซึ่งนักเรียนชาวนาจะต้องใช้สวิงในการจับแมลงมาสำรวจ
และจะต้องเรียนรู้การใช้สวิงในการจับแมลงอย่างถูกต้องด้วย
(2) เครื่องมือที่ซับซ้อน
- เครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมสำเร็จรูป
(Hardware and Software)
โดยใช้โปรแกรมพิมพ์งาน Microsoft Word
โปรแกรมระบบตารางเพื่อการคำนวณ Microsoft Excel
และโปรแกรมนำเสนองาน Microsoft Power
Point
- กล้องถ่ายรูประบบดิจิตอลและกล้องถ่ายวิดีโอ
เพื่อใช้ในการบันทึกภาพและเรื่องราวในแต่ละกิจกรรม
ถ่ายภาพตัวอย่างวัตถุต่างๆ
เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของคุณกิจและคุณอำนวย
- เครื่องมือทดสอบดิน
- เครื่องตรวจวัดความเป็นกรดด่างของดิน (pH)
นอกจากนี้ ยังเครื่องมือที่เกิดจากตัวบุคคลอีก
ได้แก่ การสังเกต
และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์
ซึ่งการสังเกตถือได้ว่าเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการเก็บข้อมูลเพื่อการเรียนรู้
และถือเป็นหัวใจของการเรียนรู้สำหรับนักเรียนชาวนา
การรู้จุดที่จะสังเกตจากการปฏิบัติจริง
จะช่วยทำให้เก็บข้อมูลเพื่อนำกลับไปคิดทบทวนโดยอาศัยการเรียนรู้
บรรยากาศที่เกื้อหนุน และระยะเวลา ประกอบกัน
เพื่อให้เกิดการตกผลึกทางความคิด จึงจะเกิดปัญญา
แล้วนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตและการทำงานต่อไป
ส่วนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์จากสมาชิกภายในกลุ่มและต่อเครือข่าย
เพราะเวทีต่างๆที่เปิดโอกาสให้รวมกลุ่มทำกิจกรรม
อย่างเช่น กิจกรรมเพื่อนเยี่ยมเพื่อน
ทำให้นักเรียนชาวนาได้พบความเป็นกัลยาณมิตรจากเพื่อนๆ
ได้พูดคุยกันตามประสา ทำให้ “ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว”
ในการพูดคุยนี้ จะมีหลากหลายเรื่องปะปนกันไปในวงสนทนา
ทั้งเรื่องสาระสุขสุกดิบ การใช้ชีวิต ครอบครัว
การทำนา และรวมถึงงานกิจกรรมในโรงเรียนด้วย
แสดงจุดดีจุดด้อย เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งช่วยเหลือ
เสนอแนะวิธีแก้ไขปัญหา เวทีเพื่อนเยี่ยมเพื่อน
เพื่อนจะ “อวดความดี”
ว่าชุมชนมีความสุขมากแค่ไหนให้เพื่อนฟัง
หากเพื่อนสนใจก็จะขอสูตรเอาไปใช้ในชุมชนของตนบ้าง
เวทีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างต่อเนื่อง
จึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญและนักเรียนชาวนาชื่นชอบ
![]() ![]() |
ภาพที่ 175 – 176 กระดาษ ปากกา ดินสอ สี เป็นเครื่องมืออย่างง่ายที่ใช้ในการเรียนรู้ |
![]() |
![]() |
ภาพที่ 177 สวิง เป็นเครื่องมืออย่างง่ายที่ใช้ในการเรียนการสอนเรื่องแมลง |
ภาพที่ 178 คอมพิวเตอร์กับโปรแกรมสำเร็จรูป เป็นเครื่องมือที่ซับซ้อน |
![]() ![]() |
ภาพที่ 179 – 180
เครื่องมือทดสอบดินเป็นเครื่องมือที่ซับซ้อน เพื่อใช้ประกอบกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องดิน |
![]() ![]() |
ภาพที่ 181 - 182 Soil Tester
เป็นเครื่องมือที่ซับซ้อน เพื่อใช้ประกอบกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องดิน |
เครื่องมือที่ใช้ช่วยในการเรียนรู้ของนักเรียนชาวนาในระดับนี้
มีตั้งแต่เครื่องมือง่ายๆ
ไปจนถึงเรื่องมือที่ซับซ้อน
เป็นเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ เช่นเครื่องทดสอบดิน (soil
tester)
การที่นักเรียนชาวนาได้มีโอกาสใช้เครื่องมือที่ซับซ้อนบ้าง
เป็นสิ่งที่ดี
ทำให้นักเรียนชาวนาเกิดความมั่นใจในความสามารถในการเรียนรู้ของตนยิ่งขึ้น
วิจารณ์ พานิช
๒๒ สค. ๔๘