สื่อการรักษาทางกิจกรรมบำบัดสำหรับผู้ที่มีภาวะเพ้อ (Delirium)


ภาวะเพ้อ (delirium)เป็นความผิดปกติทางจิตเวชที่มักเกิดจากความเจ็บป่วยทางร่างกายชนิดเฉียบพลัน ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการสับสน (confusion) และการรับรู้สภาพแวดล้อมผิดปกติ เช่น  ความสามารถในการรับรู้เวลา สถานที่ บุคคลผิดปกติ และมักจะมีอารมณ์แปรปรวน มีอาการประสาทหลอน หรือแปลภาพผิด(llusion) และมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม  หงุดหงิดหรือทำอันตรายต่อบุคคลรอบข้าง ในภาวะนี้ส่วนใหญ่ถ้าได้รับการรักษาจะมีโอกาสกลับเป็นปกติได้ แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะทำให้อัตราความเจ็บป่วยต่างๆ และอัตราตายสูงขึ้น

อาการที่พบได้บ่อย

  • สูญเสียการรับรู้ความจริง (หลงผิด ประสาทหลอน)
  • สูญเสียความจำในเรื่องปัจจุบัน (ไม่รู้เวลา สถานที่ บุคคล) สมาธิไม่ดี
  • กลางวันหลับ กลางคืนตื่น สับสน
  • สื่อสารไม่รู้เรื่อง

สาเหตุ

1. เกิดจากการได้รับยาหรือสารต่างๆ แบ่งออกเป็น
      - ยาที่แพทย์สั่ง เช่น ยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ยาระงับปวดเป็นต้น
      - ยาแผนโปราณต่างๆหรือยาที่ผู้ป่วยไปซื้อจากร้านขายยามาเอง
      - ภาวะพิษจากยา

2. ภาวะขาดยา ที่พบบ่อย คือ ขาดแอลกอฮอล์และยานอนหลับในผู้ป่วยติดสุรา

3. Systemic disorders เช่น ภาวะไข้สูง ติดเชื้อ ภาวะขาดสารอาหาร ขาดออกซิเจน มะเร็ง

4. โรคของระบบประสาทส่วนกลาง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง อุบัติเหตุที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บที่ศีรษะ และเนื้องอกในสมอง

สื่อทางกิจกรรมบำบัดสำหรับผู้ที่มีภาวะเพ้อ เพื่อส่งเสริมทักษะความคิด อารมณ์ และการสื่อสาร

1. อาการสูญเสียการรับรู้ความจริง (หลงผิด ประสาทหลอน)
ใช้กิจกรรมทายภาพ โดยให้ผู้รับบริการดูรูปภาพวัตถุในชีวิตประจำวัน และทายว่าของชิ้นนี้คืออะไร และใช้งานอย่างไร
เพื่อส่งเสริมเรื่องการรับรู้ความจริง การใช้งานสิ่งของในชีวิตประจำวันอย่างถูกต้องเหมาะสม

2. อาการสูญเสียความจำในเรื่องปัจจุบัน (ไม่รู้เวลา สถานที่ บุคคล) สมาธิไม่ดี
จัดอุปกรณ์ที่ช่วยเรื่องความจำแก่ผู้รับบริการ เช่น นาฬิกา ปฏิทิน รูปครอบครัว
ใช้กิจกรรม brain gym เพื่อบริหารสมอง ฝึกสมาธิ ให้จดจ่อกับปัจจุบัน
ใช้กิจกรรมจำภาพ โดยให้ผู้รับบริการดูภาพ 5 ภาพ ภาพละ 3 วินาที แล้วบอกให้จำไว้ จากนั้นนำภาพ อีก 10 ภาพ(ที่มีภาพเหมือนเซ็ตแรก 5 ภาพ และไม่เหมือน 5 ภาพ) มาให้ผู้รับบริการดู แล้วถามว่าเคยให้ดูภาพนี้มาก่อนหรือไม่
เพื่อส่งเสริมเรื่องความจำระยะสั้น ความจำปัจจุบัน การมีสมาธิจากการดูภาพ

3. อาการกลางวันหลับ กลางคืนตื่น สับสน
จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบ
พยายามให้ผู้รับบริการทำกิจกรรมต่างๆในช่วงกลางวัน ไม่ให้นอนตอนกลางวัน เพื่อจะได้นอนหลับในตอนกลางคืน

4. อาการสื่อสารไม่รู้เรื่อง
ใช้กิจกรรม collage art ให้ผู้รับบริการเลือกรูปที่ชอบมาทำงาน collage art แล้วให้นำเสนอผลงานของตนเองให้ผู้อื่นฟัง
เพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารสิ่งที่ตนเองคิดออกไปให้ผู้อื่นได้รับรู้
ใช้กิจกรรมจับคู่สนทนา โดยให้จับคู่กัน แล้วเริ่มที่คนใดคนหนึ่ง เล่าเรื่องตามหัวข้อที่ผู้นำกิจกรรมกำหนด เช่น ความสุขในวันนี้ เมื่อเล่าจบ ให้อีกฝ่ายถามคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่ผู้เล่าได้เล่า เป็นการฝึกทักษะการสื่อสาร การถาม-ตอบคำถาม และอาจสลับกันเล่าหรือสลับคู่ได้

อ้างอิง
ศิริรัตน์ คุปติวุฒิ.  ภาวะเพ้อ  [อินเตอร์เน็ต]. 2554[เข้าถึงเมื่อ  23 มี.ค. 2563].  เข้าถึงได้จาก:

   https://med.mahidol.ac.th/ramamental/sites/default/files/public/pdf/Delirium.PDF

อ.กาญจนา กิริยางาม. การดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาจิตเวช [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ  23 มี.ค. 2563].  เข้าถึงได้จาก:

       http://hpc13.anamai.moph.go.th... /1_การดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหา

       ระบบประสาท_14-02.pdf

บุคลากรแผนกพยาบาล.  Delirium [อินเตอร์เน็ต].  2561[เข้าถึงเมื่อ  23 มี.ค. 2563].  เข้าถึงได้จาก:

       https://www.nurse.kku.ac.th/index.php/download/category/35-delirium

หมายเลขบันทึก: 676287เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2020 23:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2020 23:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท