Anorexia Nervosa กับสื่อการรักษาทางกิจกรรมบำบัด


       anorexia nervosa เรียกกันทั่วไปว่าโรคคลั่งผอม คือปัญหาสุขภาพจิตอย่างหนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มโรคการกินผิดปกติ (Eating Disorders) โดยผู้ป่วยโรคนี้จะมีน้ำหนักตัวที่ต่ำกว่าเกณฑ์ กลัวน้ำหนักขึ้น รวมทั้งมีความคิดเกี่ยวกับน้ำหนักตัวและรูปร่างที่ผิดไปจากความเป็นจริง เนื่องจากผู้ป่วยให้คุณค่ากับการควบคุมน้ำหนักและรูปร่างมากเกินไป ส่งผลให้ใช้วิธีควบคุมน้ำหนักและรักษารูปร่างที่เสี่ยงต่อสุขภาพ Anorexia ไม่ใช่โรคที่เกี่ยวเนื่องกับอาหาร แต่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ โดยผู้ป่วยยึดพฤติกรรมดังกล่าวเป็นวิธีควบคุมสภาวะอารมณ์ที่เผชิญอยู่ ผู้ป่วยโรคนี้และโรคการกินผิดปกติโรคอื่นมักป่วยเป็นโรคทางจิตเวชอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น โรคซึมเศร้า ใช้สารเสพติด โรควิตกกังวล หรือบุคลิกภาพแปรปรวนแบบก้ำกึ่ง (Borderline Personality Disorder) ทั้งนี้ ผู้ป่วย Anorexia ยังประสบภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับสุขภาพกายหลายอย่าง เช่น กระดูกพรุน โลหิตจาง รวมทั้งประสบปัญหาสุขภาพหัวใจขั้นร้ายแรงหรือไตวาย อันนำไปสู่การเสียชีวิต

        อาการของอะนอเร็กเซียผู้ป่วยโรคนี้มักปรากฏสัญญาณหรืออาการทางสุขภาพกายที่เกี่ยวกับลักษณะของคนที่อดอาหาร อย่างไรก็ตาม อาการป่วยของโรคนี้ยังเกี่ยวเนื่องกับอารมณ์ พฤติกรรม และความรู้สึก โดยอาการของโรค Anorexia แบ่งออกเป็นอาการของสุขภาพกาย และอาการทางด้านอารมณ์และพฤติกรรม ดังนี้

อาการของสุขภาพกาย

- น้ำหนักตัวลดลงมากเกินไป

- รูปร่างผอมแห้ง ไม่มีกล้ามเนื้อและไขมัน- จำนวนเม็ดเลือดผิดปกติ

- เกิดอาการเมื่อยล้า เวียนศีรษะคล้ายเป็นลม- นอนไม่หลับ

- นิ้วเขียวซีด ปากแห้ง รวมทั้งผิวแห้งและเหลือง

- ผมบางและร่วง รวมทั้งมีขนอ่อนขึ้นตามร่างกาย

- ประจำเดือนไม่มา

- ท้องผูก

- ทนหนาวไม่ได้

- หัวใจเต้นผิดจังหวะ และหัวใจเต้นช้าผิดปกติ

- ความดันโลหิตต่ำ

- กระดูกเปราะ

- แขนหรือขาบวม

       อาการทางด้านอารมณ์และพฤติกรรม ผู้ป่วยโรค Anorexia จะปรากฏพฤติกรรมการลดน้ำหนักด้วยการจำกัดปริมาณอาหารที่รับประทาน อดอาหาร หรือหักโหมออกกำลังกายมากเกินไป ผู้ป่วยบางรายอาจล้วงคออาเจียนอาหารที่รับประทานเข้าไป หรือใช้ยาระบาย ยาสวนทวารหนัก ยาลดน้ำหนัก หรือผลิตภัณฑ์สมุนไพรอื่น ๆ เพื่อลดน้ำหนักและรักษารูปร่าง นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังมีสภาวะอารมณ์และพฤติกรรม ดังนี้ 

- คิดฟุ้งซ่านเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร รวมทั้งนับจำนวนแคลอรี่ของอาหารที่จะรับประทานอยู่เสมอ

- ปฏิเสธที่จะรับประทานอาหารหรือสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งมักโกหกว่ารับประทานอาหารไปมากน้อยเท่าไหร่ เพื่อเลี่ยงการรับประทานอาหาร 

- เกิดอาการเบื่ออาหาร 

- กังวลและกลัวว่าน้ำหนักตัวเพิ่มหรืออ้วนขึ้นทั้งที่น้ำหนักตัวน้อยเกินไป รวมทั้งไม่รักษาระดับน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ 

- หมกมุ่นอยู่กับมายาคติการมีรูปร่างที่ดี รวมทั้งไม่ยอมรับว่าน้ำหนักตัวต่ำจนอยู่ในเกณฑ์อันตราย รวมทั้งรู้สึกภูมิใจเมื่อน้ำหนักลดลงอย่างต่อเนื่อง - ไร้อารมณ์ความรู้สึกกับสิ่งรอบตัว รวมทั้งแยกตัวออกจากสังคม 

- หงุดหงิดและฉุนเฉียวง่าย หรือรู้สึกซึมเศร้า

- ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องเพศลดลง 

- คิดฆ่าตัวตาย 

         สื่อกิจกรรมบำบัดที่จะใช้รักษา คือ psychotherapy คือ มุ่งให้ผู้ป่วยรู้ถึงความสัมพันธ์ทางจิตใจกับปัญหาการกินที่ผิดปกติอย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้อง โดยการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ถามถึงความต้องการของผู้รับบริการและวางแผนการรักษาร่วมกัน ให้ความรู้ว่าควรรับประทานอาหารแบบไหน และควรหลีกเลี่ยงอะไร สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการออกกำลังกายที่เหมาะสม นอกจากการกินที่ผิดปกติแล้วโรคนี้ยังมีภาวะทางจิตเวชอื่นร่วมด้วย อาจทำให้ กระทบกับ biological, social, and emotional ดังนั้น ควรใช้ occupational behavior model ที่เป็นการ balance ระหว่าง work , leisure , rest , and sleep ใน Anorexia noversa มี unhealthy imbalance ของเวลา เราจะใช้ model นี้ ในการหา occupational deficits เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาโรคนี้

ซึ่งการทำจิตบำบัดในผู้รับบริการ Anorexia nervosa มีหลายรูปแบบ เช่น Cognitive behavior therapy 

      Cognitive behavior therapy โดยวิธีนี้ตั้งบนฐานแนวคิดที่ว่าทัศนคติของผู้ป่วยที่มีต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ส่งผลต่อพฤติกรรมที่แสดงออกมา กล่าวคือ พฤติกรรมสามารถสะท้อนว่าผู้ป่วยคิดและรู้สึกอย่างไร นักบำบัดจะทำให้ผู้ป่วยเห็นว่าภาวะที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากความคิดที่ผิดเพี้ยนเกี่ยวกับอาหารและการรับประทานอาหาร โดยนักบำบัดจะปรับความคิดเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีความคิดในการรับประทานไปในทางที่เป็นจริงและส่งผลดีต่อสุขภาพ อันนำไปสู่การปรับพฤติกรรมต่อไป

การใช้ CBT เพื่อการรักษา

1. ถามถึงความต้องการของผู้รับบริการและวางแผนการรักษาร่วมกัน 

2. สร้างแรงจูงใจ สำรวจความพร้อม ความมั่นใจ และสำรวจคุณค่าของปัญหา โดยเฉพาะผู้รับบริการ Anorexia nervosa ที่เห็นว่าการมีน้ำหนักตัวน้อยเช่นนี้ ทำให้ตนเป็นคนพิเศษ ผู้อื่นชื่นชม

3. ปรับแนวคิดต่อการกิน ผ่านการถามถึงทัศนคติของผู้รับบริการต่อการกิน แล้วเสริมแนวคิดทางบวกต่อการกินให้กับผู้รับบริการ 

4. ให้ผู้รับบริการมีการติดตามสังเกตตนเอง (self-monitoring) ตั้งเป้าหมาย (set goal) ปรับเปลี่ยนความคิด (cognitive restructuring)

5. ให้ผู้รับบริการแสดงความคิดเห็น หรือแสดงความรู้สึกผ่านการเขียนตัวหนังสือ เนื่องจากวิธีนี้ทำให้ผู้รับบริการรู้สึกว่าตนเองกับโรคแยกกัน และสามารถแสดงความรู้สึกทั้งบวกและลบได้มากกว่าการพูดคุย

       Family therapy  ครอบครัวนับว่ามีบทบาทสำคัญในการรักษาในกรณีที่ผู้ป่วย Anorexia เป็นเด็กหรือมีอายุน้อย เนื่องจากปัญหาสุขภาพจิตนี้ส่งผลต่อบุคคลในครอบครัวทุกคน การบำบัดครอบครัวจะมุ่งเน้นไปที่ผลกระทบโรคที่ส่งผลต่อครอบครัว ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจลักษณะของโรคและวิธีที่บุคคลในครอบครัวจะช่วยเหลือผู้ป่วยด้วย โดยผู้บำบัดต้องขอความร่วมมือพ่อแม่ในการควบคุมดูแลการรับประทานอาหาร และงดกิจกรรมที่จะทำให้น้ำหนักลดลงของผู้รับบริการ ในขณะเดียวกันพ่อแม่จะต้องทำให้ผู้รับบริการเห็นว่าพ่อแม่เข้าใจถึงความกลัวของตน มีการส่งเสริมให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ผู้บำบัดจะต้องมีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรค ทั้งผลทางด้านร่างกายและจิตใจ เพื่อให้พ่อแม่เข้าใจธรรมชาติของโรคและสามารถดูแลเรื่องการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายได้อย่างเหมาะสม ผู้บำบัดไม่ควรสั่งให้ทำตาม แต่ควรช่วยให้ครอบครัวหาแนวทางที่เหมาะสมกับครอบครัวตนเอง และเมื่อถึงช่วงที่น้ำหนักกลับมาเป็นปกติ ผู้บำบัดต้องพูดถึงผลกระทบของโรค เพื่อให้ครอบครัวเล็งเห็นถึงปัญหา ผู้รับบริการอาจกลับไปมีอาการซ้ำได้อีก จึงควรมีการพูดคุยกับพ่อแม่ และทำให้ผู้รับบริการพัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง

อ้างอิง:

Emmy Vadnais. Do you eat well?[Internet]. 2016 [cited 2020 March 21]. Available from: https://holisticot.org/do-you-eat-well/

David J. Folts, Kent Tigges, Gary Jackson. Occupational Therapy Treatment of Anorexia Nervosa. The Eating Disorder[Internet]. 1993[cited 2020 March 21]. Available from: https://link.springer.com/chapter/10.1007/978-1-4613-8300-0_19

พญ.ธีราพร ศุภผล. Anorexia Nervosa[Internet]. 2010[cited 2020 March 21]. Available from: https://med.mahidol.ac.th/ramamental/sites/default/files/public/pdf/Anorexia%20Nervosa.pdf

Anorexia[Internet]. cite 2020 March 21. Available from: https://www.pobpad.com/anorexia-%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2

หมายเลขบันทึก: 676284เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2020 22:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2020 22:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท