ประสบการณ์ตรวจงานวิจัย.. จนได้ตีพิมพ์


ความสำเร็จของพี่เลี้ยงงานวิจัย จนตีพิมพ์

การตรวจงานวิจัยจนได้ตีพิมพ์ ผ่านไลน์และโทรศัพท์ 

  • ปัจจุบัน โควิท 19 กำลังระบาด การเป็นพี่เลี้ยงออนไลน์เป็นประสบการณ์ที่อยากเล่า จริงๆงานที่จะตีพิมพ์ได้ ไม่ใช่มาช่วยดูแค่ขั้นตอนจะตีพิมพ์ งานวิจัยที่ดีจะต้องมีการออกแบบตั้งแต่ขั้นตอนหาโจทย์วิจัยที่ดี ออกแบบกระบวนการวิจัย เก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล

ถ้าพูดแบบนี้หลายคนอาจจะท้อใจว่า ทำไงดี ?

  • จะตรวจขั้นตอนสุดท้ายเลยได้ไหม ก็ได้เหมือนกันค่ะ แต่การเขียนจนตีพิมพ์ได้ ก็คงจะไม่ได้ดีเท่าที่ควรจะเป็น หากงานที่ออกแบบดีมาก่อน ก็น่าจะออกมาสวยกว่า ง่ายกว่า พี่เลี้ยงไม่ต้องออกแรงเยอะ

เริ่มขั้นตอนแรก 

  • ต้องดูว่าจะตีพิมพ์วารสารอะไร แบบฟอร์มเป็นอย่างไร วารสารไหนที่คิวไม่ยาวจนเกินไป ให้น้องลองเขียนดู  ส่งมาครั้งแรก ถ้ายังเขียนไม่ตรงทางอาจให้ข้อเสนอแนะเป็นประเด็นก่อนแล้วกลับไปแก้ใหม่ ถ้าน้องทำได้ รอบต่อไปค่อยหาวิธีเติมเต็มให้สมบูรณ์ อันไหนไม่สมบูรณ์ ก็เขียนสีแดงไว้ให้น้องไปเติมเต็ม ในแต่ละขั้นตอน  รวมทั้งหาตัวอย่างวิธีการเขียนที่ดีให้น้องได้อ่านเพื่อจะได้เป็นกรอบหรือแผนที่ในการเขียน


ครั้งต่อๆไป 

  • เมื่อน้องเติมมาแล้ว เราก็อาจจะมาช่วยปรับคำให้กระชับ ใช้หลักภาษาไทยและหลักการเขียนรายงานวิจัย รวมทั้งการเขียนตามแบบฟอร์มของวารสารนั้นๆ  
  • ขั้นตอนนี้นึกถึงการเขียนบทคัดย่อส่งประกวด เราต้องใช้คำที่เขียนแล้วได้คะแนนเท่านั้น คำเฟะฟะต้องตัดออก เพราะเขาจะให้เขียนแบบจำกัดคำ 
  • การเขียนรายงานวิจัยส่งตีพิมพ์ยังให้เขียนเยอะได้ แต่จำกัดจำนวนหน้าเท่านั้น


ระหว่างที่เขียนส่งวารสารฯ

  • น้องส่งไปที่วารสาร ขั้นตอนที่บรรณาธิการตรวจเป็นขั้นตอนที่พี่เลี้ยงได้เรียนรู้ไปด้วย ทั้งช่วยดูเรื่องเนื้อหา ทั้งให้กำลังใจ ทั้งประสานกับแหล่งประโยชน์อื่นๆ เช่น นักสถิติ ถ้าไม่ได้นักสถิติมาช่วยอาจจบไปเลยก็ได้ โชคดีที่มีพี่เลี้ยงเป็นทีม ถ้านักวิจัยเงียบไป เราต้องถามกระตุ้นเพื่อให้ไปต่อ
  • ประเด็นที่สำคัญการเป็นพี่เลี้ยงงานวิจัย  ถ้าเกี่ยวกับความเชี่ยวชาญของเราเอง ทำให้เราสามารถชี้แนะทุกขั้นตอน จนสำเร็จได้ไม่เหนื่อยจนเกินไป
  • บอกคนเขียนไว้เลยว่า..การแก้ไขหลายครั้ง เป็นเรื่องธรรมดา สมัยเราเขียนบางงานใช้เวลาเกือบ 6 เดือน แก้ 5 ครั้ง สมัยก่อนยิ่งการสื่อสารช้า กว่าจะได้ข้อเสนอแนะ ต้องรอเอกสารที่ส่งใส่ซองจดหมายมาให้ สมัยนี้ยังส่งผ่านอีเมล เร็วกว่าเดิมเยอะ ทำให้สมัยนี้ถึงแม้จะได้แก้หลายครั้ง ยังสามารถทำสำเร็จภายใน 2-3 เดือนได้
  • การได้ข้อเสนอแนะจากบรรณาธิการฯ เราต้องเปิดใจให้ยอมรับและถือว่า ทุกข้อเสนอแนะเป็นเรื่องที่ดีและต้องทำตาม แก้ไปเรื่อยๆ ต้องมีสักวันที่จะไม่ต้องแก้อีก 


สรุป 

  • บทเรียนในการเป็นพี่เลี้ยง คือ รับเป็นพี่เลี้ยงในเรื่องที่เราเชี่ยวชาญ การให้กำลังใจทุกขั้นตอน การคุยกันผ่านไลน์  ต้องกระตุ้นเป็นระยะ และให้กำลังใจสม่ำเสมอ สำเร็จแน่นอนค่ะ
หมายเลขบันทึก: 676195เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2020 06:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 เมษายน 2020 06:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท