วิธีถอดบทเรียนอย่างมีส่วนร่วมเสริมพลังยกระดับอย่างบูรณาการ LEEF-Level up Empowerment Evaluation and Facilitation


การถอดบทเรียนเสริมพลังและยกระดับดำเนินการ LEEF-Level up Empowerment Evaluation and Facilitation เครื่องมือผสานและบูรณาการการทำงานหนุนเสริม ยกระดับการสร้างสุขภาวะชุมชนกับการจรรโลงพุทธธรรม สำหรับส่งเสริมพระสงฆ์ปฏิบัติศาสนกิจ นักศึกษาสหกิจศึกษา
บนความเป็นผู้นำปฏิบัติการบูรณาการ CER ของ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย (มจร) และสถาบันการศึกษาขั้นสูง

ผมได้มีส่วนร่วมเพื่อเรียนรู้ ถอดบทเรียนเสริมพลัง ศึกษาสภาพความจำเป็น และเข้าถึงกระบวนการเชิงทฤษฎีและปัญญาปฏิบัติ ของเครือข่ายพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และเครือข่ายอาจารย์พระสงฆ์ และบุคลากรวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย เพื่อพัฒนาการสนับสนุนให้กับการทำงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พระนิสิตปฏิบัติศาสนกิจ สู่การสร้างสุขภาวะชุมชนอย่างบูรณาการ ของเครือข่าย 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ 29 วิทยาเขต ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส)

นอกจากการสร้างสิ่งสนับสนุนและการบูรณาการเสริมพลังบนสภาพการทำงานจริงต่างๆแล้ว ข้อมูลกรณีตัวอย่างและการร่วมกันเรียนรู้ไปด้วยกันหลายระดับ แล้วก็นำมาเสวนาทางวิชาการและทบทวนตรวจสอบเชิงทฤษฎี ตลอดจนนัยสำคัญต่อความจำเป็นต่างๆ ทั้งของสังคมไทยและของสังคมโลก ที่มีความเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับการพัฒนาการเรียนรู้แล้ว ก็ทำให้สามารถวิเคราะห์และออกแบบเชิงกระบวนการ เพื่อปฏิบัติการเชิงวิจัยอย่างบูรณาการ (Creative Methodological Process Design for Integrated Research Practice) สำหรับเป็นเครื่องมือบูรณาการภาคทฤษฎีและการปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์ ที่สามารถผสมผสานสู่การปฏิบัติและทำหน้าที่จรรโลงศาสนธรรม ให้สอดคล้องกลมกลืนกับความจำเป็นใหม่ๆ ของสังคมไทยและสังคมโลกได้

เครื่องมือเชิงระเบียบวิธีนี้ จะเป็นวิธีทำงาน เพื่อใช้ประเมิน ถอดบทเรียน กำกับติดตามดูแลงานเชิงแนวคิด งานถ่ายทอดนโยบายสู่การปฏิบัติ งานภาคปฏิบัติเชื่อมโยงสู่งานนโยบาย และปฏิบัติการเชิงวิจัย ให้สามารถบูรณาการสิ่งสำคัญในหลายมิติในวิถีแห่งปัญญาปฏิบัติ CER ให้ผสานกลมกลืนอยู่ในทุกกระบวนการ และสามารถออกแบบพลวัตร KAP เอื้อต่อการริเริ่มไปด้วยกันบนความแตกต่างหลากหลาย ให้ยกระดับการเชื่อมโยงมิติส่วนรวมด้วยการสื่อสารและการแลกเปลี่ยนชุดความหมายที่สามารถก้าวข้ามพรมแดนความแตกต่างได้อย่างไม่จำกัด สอดคล้องกับวิวัฒนาการของวิทยาการและเทคโนโลยี ตลอดจนระบบเชิงโครงสร้างของสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่เกิดขึ้นตลอดเวลาและในอัตราที่รวดเร็วยิ่งขึ้นเป็นลำดับ

CER - Community, Communication, Education, Research เป็นองค์ประกอบพื้นฐานสำคัญของระบบปัญญา การรวมกลุ่ม การจัดการผลิตภาพชุมชนบนรากฐานการพัฒนาทางปัญญาและสุนทรียภาพ การสื่อสาร และการศึกษาเรียนรู้ของสังคม ที่จะต้องสามารถสร้างสรรค์ปัญญาปฏิบัติ ให้พลวัตรก้าวล้ำและทัดเทียมกับความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงต่างๆของโลกได้อยู่ตลอดเวลา

เครื่องมือนี้ จึงเป็นเครื่องมือเสริมพลังการเป็นผู้นำสร้างสุขภาวะชุมชนวิถีพุทธ โดยพระสงฆ์และสถาบันการศึกษาพระสงฆ์ของสังคมไทย ที่จะสนับสนุนและส่งเสริมให้พระสงฆ์ ตลอดจนคฤหัสถ์ที่มุ่งทำงานให้เป็นการปฏิบัติธรรมและกล่อมเกลายกระดับชีวิตด้านในตนเอง ให้สามารถปฏิบัติการ พัฒนาการศึกษาเรียนรู้ ผสมผสานการทำกิจพระสงฆ์เพื่อจรรโลงศาสนธรรม นำพุทธธรรมสู่สังคม บูรณาการการสร้างสุขภาพพระสงฆ์ และสร้างปัญญาปฏิบัติ พัฒนาการสื่อสาร สร้างการเรียนรู้ปวงชน เป็นผู้นำสร้างสุขภาวชุมชนวิถีพุทธ ทั้งเชิงวิชาการและภาคปฏิบัติ ทั้งเพื่อจรรโลงการพัฒนาพระศาสนา และก้าวข้ามพรมแดนศาสนา สู่ปัญญาปฏิบัติบนวิถีความแตกต่างหลากหลาย ด้วยภาวะผู้นำปัญญาปฏิบัติที่กว้างขวาง ซึ่งจะใช้เป็นชุดความรู้และแนวออกแบบกระบวนการ สร้างทักษะการทำงานอย่างบูรณาการ ให้แก่นักปฏิบัติ เครือข่ายพระนิสิตปฏิบัติศาสนกิจ เครือข่ายกระบวนกร และเครือข่ายการสนับสนุนระดับต่างๆ ตามสภาพความเป็นจริงบนวิถีชีวิตการงานต่อๆไป

วิเคราะห์เชิงเนื้อหาและออกแบบความครอบคลุมได้พอสมควรแล้ว ต่อไปก็เป็นเรื่องของการนำเอาข้อมูลและตัวอย่างของจริงจากทั่วประเทศ ที่เครือข่ายพระนิสิตปฏิบัติศาสนกิจ ของมหาวิทยาลัยจุฬาลวกรณ์ราชวิทยาลัย และกรณีตัวอย่างปัญญาปฏิบัติจากการปฏิบัติสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยอื่นๆ มาเป็นข้อมูลสำหรับการเขียน ซึ่งเพื่อให้พอทำไหว เลยจะใช้ตัวอย่างจากนักศึกษาของสาขานิเทศศาสตร์บูรณาการ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ทั้งสองส่วนนี้ จะมีนัยสำคัญต่อการเข้าถึงพรมแดนแห่งปัญญาปฏิบัติใหม่ๆ ที่สำคัญตือ ทางด้านวัฒนธรรมจิตใจและการเข้าถึงคุณค่าเชิงนามธรรม จากสิ่งที่มีอยู่แล้วภายใต้ระบบสังคมวัฒนธรรมทางวัตถุ ของสังคมไทยและโดยทั่วไปของสังคมโลก กับการเข้าถึงบทเรียนและปัญญาปฏิบัติ จากการบรรลุจุดหมายดังที่พึงประสงค์บนเงื่อนไขของการกระจายออกไปสู่ท้องถิ่นภูมิภาค และการเสริมชุดความหมายใหม่ต่อคุณภาพแห่งชีวิต จากวิถีเกษตรกรรมและวิถีการผลิตบริการ บนเงื่อนไขอันจำกัดในพื้นที่ซึ่งไกลห่างจากศูนย์กลางการพัฒนาต่างๆของประเทศ.

............................................................................................................

.............................................................................................................

.............................................................................................................

............................................................................................................

............................................................................................................

............................................................................................................



............................................................................................................



............................................................................................................



............................................................................................................



............................................................................................................



............................................................................................................



............................................................................................................



............................................................................................................




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท