ชีวิตที่พอเพียง 3641. PMA 2020 : PMAC 2020 / UHC 2020 : PL 1 – Implementation Challenges and Innovative Solutions for UHC 2030



ดูประเด็นหลัก และรายชื่อวิทยากรได้ที่ (๑)    ประเด็นสำคัญคือ หากดำเนินการตามแนวทางปัจจุบัน ไม่บรรลุเป้า UHC  ของโลกในปี 2030 ตามที่กำหนดไว้ใน SDG 3.8 อย่างแน่นอน    จึงต้องหาวิธีการที่แตกต่าง หรือเป็นนวัตกรรม

ผมชอบมาก ที่เขาบอกว่า strategic direction ยังคงเดิม คือเน้นที่ การสาธารณสุขมูลฐาน (PHC – Primary Health Care)    ที่ต้องเปลี่ยนคือ strategic focus    เปลี่ยนจุดโฟกัสจากโรค เป็นโฟกัสที่คน    เน้นพัฒนาระบบสุขภาพที่เน้นให้บริการคน    มุ่งสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของคน    มุ่งสร้างศรัทธาของคนต่อระบบ  ให้ใช้บริการอย่างถูกต้องสมเหตุสมผล    ไม่ใช้อย่างสุรุ่ยสุร่ายฟุ่มเฟือย  

และผมขอเพิ่มว่า  คนต้องหมั่นดูแลบำรุงรักษาสุขภาวะของตนเอง    ให้แข็งแรง ก็จะเท่ากับช่วยกันประหยัดค่าใช้จ่ายในการซ่อมสุขภาพ    ค่าสร้างสุขภาพถูกกว่าค่าซ่อมมาก    ความท้าทายในการดำเนินการ UHC จึงอยู่ที่การจัดระบบให้คนสร้างสุขภาพตนเองให้มากที่สุด  

ผมจึงดีใจ ที่ในวันที่ ๒๘ มกราคม ช่วงบ่าย มี Side Event 049 :  Empowering UHC through population-based health promotion จัดโดย สสส.    และมีการเอ่ยให้เอาใจใส่การสร้างเสินมสุขภาพในหลากหลายโอกาส   

UHC จะได้ผลดี จึงไม่ใช่การดำเนินการเฉพาะวงการสุขภาพหรือวงการสาธารณสุขเท่านั้น    ต้องดำเนินการใน sector อื่นๆ ด้วย เช่นระบบคมนาคม    ผมไปเห็นที่ประเทศในกลุ่ม นอร์ดิก  ที่เขาแบ่งถนนเป็น bike lane ส่งเสริมให้คนขี่จักรยานไปทำงาน    ซึ่งเป็นการส่งเสริมการออกกำลังกายประจำวัน  มีผลดีต่อสุขภาพ และยังเป็นการลดมลพิษในอากาศอีกด้วย   

มลพิษในอากาศจาก PM 2.5 เป็นผลร้ายต่อ UHC ของไทยอย่างแน่นอน    น่าจะมีคนทำวิจัย คาดการณ์ผลกระทบต่อสุขภาพ และค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพระยะยาว  

ข้างบนนั้น เขียนก่อนการประชุม    ในวันประชุม  ๓๑ มกราคม ๒๕๖๓    ๑๔.๐๐ - ๑๕.๐๐ น.    มีรองผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก Nakao Yamamoto เป็นผู้ดำเนินรายการ    ท่านบอกว่าในโลกนี้ แต่ละปีมีคนสิ้นเนื้อประดาตัว จากการจ่ายค่าบำบัดความเข็บป่วย ๑๐๐ ล้านคน    เป็นปัญหาที่ต้องเอาชนะให้ได้    ปัญหานี้ประเทศไทยกล่าวได้ว่าหมดไปแล้ว จากการมีระบบคุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้าในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นต้นมา   

แต่เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ผมก็ได้ฟังจากคนที่รู้จักสนิทสนมท่านหนึ่ง ที่แม่เป็นมะเร็ง melanoma ที่เท้า    ลามไปที่ปอด   ขายบ้านราคาสองล้านเศษและหมดเงินไปแล้ว จากค่ายาคีโมชนิดใหม่       

Keynote Speech

เขาเชิญ Beverly Ho  ผู้ช่วยปลัดกระทรวงสาธารณสุข ด้าน UHC  ของประเทศฟิลิปปินส์ มาพูด keynote    สรุปได้ว่า

ประเทศฟิลิปปินส์ ออกกฎหมายคุ้มครองสุขภาพถ้วยหน้าในปี ๒๕๖๒    ให้เป็นระบบที่เน้นการสาธารณสุขมูลฐาน    และเน้นการสร้างเสริมสุขภาพ    ประเด็นท้าทายได้แก่    กลไกดำเนินการให้บรรลุผล    ข้อจำกัดของระบบราชการ    การร่วมมือกับภาคธุรกิจเอกชนในการพัฒนาระบบกำกับดูแล    และการพัฒนาคนทำงานในระบบที่ไม่ใช่วิชาชีพด้านสุขภาพ     

Panel Discussion

Ghana   วิทยากรคือ Kaku Awonoor, Director, Ghana Health Services     บอกว่าความท้าทายหลักๆ ได้แก่

  • วิธีดำเนินการให้บรรลุผล
  • กำลังคนด้านสุขภาพ  ที่มีจำนวนเพียงพอ   และมีสัดส่วนวิชาชีพเหมาะสม    รวมทั้งการสร้าง อสม.
  • โครงสร้างพื้นฐาน, logistics, และ supply systems
  • การกำหนด health service packages  
  • การจัดระบบ ได้แก่ระบบโครงสร้างของ UHC และ PHC    ระบบกำกับดูแล    ระบบข้อมูล  และบูรณาการระหว่างบริการปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ
  • ความเท่าเทียม (equity)  

แคนาดา    วิทยากรคือ Erica Di Ruggiero  Director, Global Health & Associate Professor

Dalla Lana School of Public Health, University of Toronto   บอกว่าความท้าทายของ UHC ได้แก่

  • การดำเนินการ UHC ที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพ ตาม Ottawa Charter, 1986   ที่จะต้องปฏิรูปเชิงระบบ ยังทำน้อย
  • ยังดำเนินการโดยมุ่งผลระยะใกล้ มากกว่ามองผลระยะยาว
  • การดำเนินการแบบ evidence-based ยังไม่แข็งแรง    ยังไม่ได้จับเรื่อง social determinants of health มากพอ
  • ยังเน้น social equity น้อยไป

ภาคประชาสังคม   วิทยากรคือ Justin Koonin, President, ACON,  Australia   บอกว่าข้อท้าทายหลักคือ การดำเนินการ UHC ให้ได้ผลต้องร่วมมือกันหลายฝ่าย   แต่มีฝ่ายที่เป็นขั้วตรงข้าม ไม่ไว้วางใจกัน หรือรังเกียจกัน   และการบรรลุสภาพ “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” ไม่ใช่ประเด็นทางเทคนิค   แต่เป็นประเด็นทางการเมือง  

Takao Toda  Vice President for Human Security and Global Health, JICA     บอกว่าประชาชนมีความคาดหวังจาก UHC เพิ่มขึ้นๆ    เป็นคล้ายภาพลวงตา (mirage) ที่วงการ UHC ต้องวิ่งไล่   โดยที่มาตรการที่ให้ผลสูงยิ่งต่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพ อาจอยู่นอก UHC  เช่น มาตรการด้านโภชนาการ    ท่านเสนอให้ panel คุยกันเรื่องการเปลี่ยน mindset เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย UHC      

    


วิจารณ์ พานิช  

๑๗ ม.ค. ๖๓


   

หมายเลขบันทึก: 675862เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2020 17:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มีนาคม 2020 17:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท