ชมรมตามรอยเท้าพ่อ_ (๙) ผักตบชวาพร้อมนำไปทำปุ๋ย


ขอย้อนกับไปต้นเดือนธันวาคมปีที่แล้ว วันที่เราช่วยกันกักผักตบชวาไว้ในพื้นที่รับน้ำเสียที่ไหลลงสระข้างอาคารราชนครินทร์ ยาวมาถึงวันนี้ วันที่ผักตบชวากำลังเติบงามตามปริมาณสารอาหารที่อุดมสมบูรณ์ที่ไหลลงในสระ  ...  ทุกคนที่เคยผ่านมาทางนี้ คงจะเห็นชัดแล้วว่า ผักตบชวาสามารถแก้ปัญหาน้ำเสียส่งกลิ่นเหม็นได้แล้วอย่างดียิ่ง "อธรรมสามารถปราบอธรรม" ได้จริง ... 

ผักตบชวาจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เปลี่ยนสารอาหารในน้ำให้กลายเป็นใบสีเขียว เมื่อมีอายุแก่เต็มที่ จากที่เป็นพระเอกช่วยบำบัดน้ำเสีย ผักตบจะกลายเป็นสาเหตุให้เกิดน้ำเสียเสียเอง ดังนั้น ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป งานใหญ่ของเราคือการหาทางควบคุมและจัดระเบียบผักตบชะวาไม่ให้ขยายใหญ่ไปจนเป็นปัญหา 

แนวทางในการจัดการที่สำคัญ มีดังนี้ 

  • นำไปทำปุ๋ยหมัก ...  ผมเองเริ่มทะยอยนำเอาผักตบชวามาทำปุ๋ยแล้ว ... แผนการสำคัญคือ ทำอย่างไรให้ใครก็ตามที่ต้องการผักตบไปทำปุ๋ย สามารถมาเอาไปได้โดยไม่ต้องทำเรื่องขออนุญาตแต่อย่างใด 
  • นำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น นำไปทอเป็นภาชนะหรือเครื่องจักรสาน นำไปทำเป็นกระถางปลูกต้นไม้ ฯลฯ  ... แนวทางนี้ คิดมานานแล้ว แต่ยังไม่คืบหน้านัก  ถ้าผู้บริหารเอาจริงน่าจะดี ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้เรื่องนี้ เชิญปราชญ์ชาวบ้าน ...ซึ่งมีอยู่ใกล้ ๆ ในอำเภอเมืองมหาสารคาม ต.บ้านเกิ้ง วังไผ่ นี่เอง...มาเป็นวิทยากรสอนนิสิต  นิสิตที่ทำเรื่องนี้เป็น จะมองออกว่าควรจะพัฒนาอย่างไร และค้าขายทำเป็นธุรกิจอย่างไรได้ในอนาคต 
  • นำไปเป็นส่วนประกอบของการเกษตรอื่น ๆ เช่น การเพาะเห็ด ทำเป็นอาหารสัตว์ เป็นต้น ... แนวทางนี้ได้ทดลองทำบ้างแล้ว แต่ยังไม่สำเร็จ ... สำเร็จเมือ่ไหร่ จะมาเล่าให้ฟังครับ 

สุดท้ายนี้ ขอเชิญชวนผู้อ่านทุกท่านที่ต้องการนำผักตบชวาไปใช้ประโยชน์ มาเอาผักตบชวาส่วนที่กำลังเจริญเติบโตเต็มที่ไปใช้ประโยชน์ตามที่ท่านต้องการเถิด 

หมายเลขบันทึก: 675855เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2020 06:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มีนาคม 2020 06:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท