อุดมศึกษาคู่ชุมชน ข้อเสนอของ ศ. ดร. นพ. สุรศักดิ์ บูรณตรีเวทย์


อุดมศึกษาคู่ชุมชน  ข้อเสนอของ ศ. ดร. นพ. สุรศักดิ์ บูรณตรีเวทย์

ผมได้รับอีเมล์ ต่อไปนี้จาก ศ. ดร.นพ. สุรศักดิ์ บูรณตรีเวทย์   และได้ขอนำมาเผยแพร่ต่อ

 

เรียนท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

 

ผมฟังที่คุณทิม พิธาพรรคอนาคตใหม่ อภิปรายไม่ไว้วางใจทำให้ผมคิดว่ามีแนวทางที่ทางสถาบันอุดมศึกษาสามารถมีส่วนร่วมกับธุรกิจรากหญ้าในชุมชนได้ผมเห็นว่าโครงการ startup เป็นโครงการที่ดีสามารถที่จะนำ startup มาผนวกกับร้านค้าในชุมชนที่มีอยู่ทั่วประเทศได้หรือไม่ครับ(ผมไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง startup เท่าไร)หากให้สถาบันอุดมศึกษาจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับ startup หรือการค้าอะไรก็แล้วแต่โดยลงไปร่วมกับเจ้าของร้านค้าในชุมชน ช่วยให้เจ้าของร้านค้าในชุมชนได้รับการ upskillsเกี่ยวกับ e-business นิสิตนักศึกษาก็จะได้เรียนรู้จากร้านค้าจริงๆไม่ต้องทำร้านค้าเสมือน ร้านค้าชุมชนก็ได้รับการ upskills ด้วยทำให้เกิดการพัฒนาธุรกิจเล็กๆ ในชุมชนได้ต่อไป นอกเหนือจากร้านค้ายังสามารถนำไปใช้กับเกษตรกรและอาชีพต่างๆ ในชุมชนได้ด้วยให้เป็น smart- (จริงๆ แล้ว คนในชุมชนก็ smart อยู่แล้วในเรื่องที่เขาทำประจำจะทำให้นิสิตนักศึกษาได้เรียนรู้ภูมิปัญญาเหล่านั้น) หรือ e-นั้นๆ ได้

 

ผมมานั่งทบทวนภายหลังหลังจากได้เขียนFB เปิดผนึกนี้แล้วทำให้นึกขึ้นได้ว่าผมยังมองไม่รอบด้าน จริงๆ แล้วสามารถทำให้รอบด้านได้โดยการให้ทุกคณะลงไปร่วมกับชุมชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้รอบด้านทำให้ชุมชนเกิดความรอบรู้ไม่ว่าด้านสุขภาพ กฎหมาย การเลี้ยงชีพ การเมือง และอื่นๆ

 

นอกจากนี้สถาบันอุดมศึกษาควรมีการจัดกระบวนการให้นิสิตนักศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับ social enterprise จิตสาธารณะจากประสบการณ์จริงมีหลายๆ กิจการที่ทำเป็น social enterprise ในปัจจุบัน เช่นธรรมธุรกิจ ที่ อ ยักษ์ (ท่านอดีต รมช เกษตร) อ โจน ร่วมกันทำ และมีอีกหลายๆแห่งที่มีภูมิปัญญาชาวบ้านควรให้นิสิตนักศึกษาได้เรียนรู้ด้วย.

ขอบพระคุณครับ

 

หมายเลขบันทึก: 675851เขียนเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2020 18:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2020 18:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

In Queensland Australia, there is a long running program for high school students to gain work experience from local businesses for some 2 weeks before graduation. The program is well received by parents, students and businesses. Many students continue with the local businesses and further their higher education part-time.

I understand that during the work experience period, students are not paid but covered by work insurances and work safety and enjoy many employment benefits of the particular businesses.

In Queensland Australia, there is a long running program for high school students to gain work experience from local businesses for some 2 weeks before graduation. The program is well received by parents, students and businesses. Many students continue with the local businesses and further their higher education part-time.

I understand that during the work experience period, students are not paid but covered by work insurances and work safety and enjoy many employment benefits of the particular businesses.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท