การให้เหตุผลทางคลินิกกับกรณีศึกษา


กรณีศึกษา : คุณอา (นามสมมุติ) เพศ ชาย อายุ 43ปี Dx.Spinal cord injury (T10)

ผู้รับบริการอาศัยอยู่กับภรรยาและลูกสาวที่ห้องเช่า โดยมีอาชีพเป็นพ่อค้าขายของที่ตลาดนัดไฟฟ้า อำเภอนครชัยศรีและ ขับวินมอเตอร์ไซค์ จนเมื่อปี 2560ประสบอุบัติเหตุทางรถมอเตอร์ไซค์ จนทำให้เกิดความพิการ ระหว่างการรักษาได้เจอกับทีมศูนย์การดำรงค์ชีวิตอิสระของคนพิการ(IL) ทำให้ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทั้งด้านการฝึกฟื้นฟูตนเองการกลับไปประกอบอาชีพต่างๆ ทำให้คุณอาได้เห็นว่ามีคนสามารถทำได้ จึงทำให้เป็นแรงผลักดันพัฒนาตนเอง หลังจากนั้นประมาณ 1ปี สามารถดูแลตนเองได้และกลับมาประกอบอาชีพเป็นพ่อค้า โดยมีภรรยามาคอยช่วยขาย กิจวัตรประจำวันคือตื่นเช้ามาออกกำลังกาย ทำกายภาพ สิบโมงกินข้าว อาบนำ้ เตรียมของที่จะนำมาขาย บ่ายสองออจากบ้านมาตั้งร้านที่ตลาด เปิดตั้งแต่บ่ายสามโมงถึงประมาณสามทุ่มก็กลับบ้าน 

Diagnostic reasoning

- ด้านการวินิจฉัยทางการแพทย์ : ผู้รับบริการได้รับการวินิจฉัยเป็น Paraplegia due to SCI T10 เมื่อปี2560 จากอุบัติเหตุมอเตอร์ไซต์ล้ม โดยมีอาการสำคัญคือ กล้ามเนื้อขาทั้งสองข้างอ่อนแรงและบกพร่องด้านการรับความรู้สึก

- ด้านการวินิจฉัยทางกิจกรรมบำบัด : จากการสังเกตผู้รับบริการเคลื่อนไหวโดยใช้ Standard wheelchair ไม่สามารถขยับร่างกายส่วนที่ตำ่กว่าเอวและไม่สามารถรับรู้ความรู้สึกได้ เนื่องจากสังเกตเห็นรอยแผลไหม้บริเวณผิวหนังหน้าแข้งข้างซ้ายของผู้รับบริการ

Occupational Disruption : ผู้รับบริการต้องหยุดทำงานหารายได้เพื่อพักรักษาตัวเป็นเวลา 1ปี และหลังจากฟื้นฟูร่างกายแล้วจึงกลับไปทำงานต่อ

Procedural reasoning

ประเมินจากการสังเกตและสัมภาษณ์ผู้รับบริการ

  • BADL : สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง 
  • IADL :  - Meal preparation ผู้รับบริการสามารถทำอาหารได้ด้วยตนเอง                                        - ผู้รับบริการสามารถจัดการดูแลเสื้อผ้า ซักผ้าได้ด้วยตนเอง                                                 - Technology ผู้รับบริการสามารถจัดการสั่งซื้อของออนไลน์เพื่อนำมาขาย
  • Work : มีอาชีพเป็นพ่อค้าขายเครื่องใช้ไฟฟ้ากับของเล่น ที่ตลาดนัดรถไฟฟ้า
  • Social participation : ตอนเย็นมีสังสรรค์กับเพื่อนๆกลุ่มในตลาดเป็นประจำ 
  • ผู้รับบริการมีการพูดคุยปรึกษากับทีมIL เกี่ยวกับกระบวนการทำใบขับขี่รถยนต์สำหรับผู้พิการ และมีการวางแผนซื้อรถคันใหม่เพื่อให้ง่ายต่อการดัดแปลงและค่าใช้จ่ายที่น้อยลง

Interactive reasoning 

ได้มีการสร้างปฏิสัมพันธ์โดยใช้ Therapeutic use of self กับผู้รับบริกการ ตั้งแต่การยิ้มแย้ม แสดงท่าทางเป็นมิตรชวนพูดคุยบทสนทนาในเรื่องที่สนใจและรับฟังผู้รับบริการอย่างลึกซึ้ง ใช้สายตาท่าทางที่แสดงถึงการให้ความสนใจระหว่างพูดคุย เวลาผู้รับบริการเล่าเรื่องราวต่างๆ

Narrative reasoning

ผู้รับบริการเล่าให้ฟังว่า "ก่อนที่จะมาพิการก็ทำแต่งาน จนเกิดอุบัติเหตุทำให้คิดได้ว่าเรายังไม่ไปเที่ยวต่างจังหวัดกับครอบครัวเลย","อยากขับรถไปเที่ยวต่างจังหวัดเอง เพราะแฟนขับไม่แข็งได้แค่เดินหน้าถอยหลัง","จะปรับรถตอนนี้ก็ไม่ได้ เพราะเป็นเกียร์กระปุกต้องใช้เงินเยอะ"

    Conditional reasoning

    ใช้Recovery Model ในการให้ความรู้ผู้รับบริการเกี่ยวกับนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการขับรถ ให้ได้เข้าไปมีส่วนร่วมสัมผัสจริงๆ เช่นหาPeer support คือทีมIL ที่เขาสามารถขับรถได้จริง ดูว่าทำไมเขาถึงสามารถขับรถแบบนี้ได้ แล้วถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ และจะต้องขั้นตอนกระบวนการอย่างไรที่จะถูกกฎหมาย ตั้งแต่การดัดแปลงสภาพรถ , ผ่านการทดสอบทางสายตา การตัดสินใจ การขับรถผ่านเครื่องจำลอง เพื่อให้ได้ใบรับรองแพทย์ในการยืนยันว่าสามารถขับรถได้ , การอบรมและทดสอบจริงที่กรมการขนส่งทางบกทั้งข้อสอบปฏิบัติจริงและข้อเขียน โดยทำควบคู่ไปกับการฝึก Function ที่ต้องใช้ในการขับรถ และในทุกๆครั้งต้องถามถึงความหวังของผู้รับบริการว่ายังมีอยู่ไหม เพื่อให้เห็นถึงความตั้งใจ ทำตามแผนขั้นตอนที่จะสามารถขับรถได้

    SOAP note

    S : จากการพูดคุยผู้รับบริการบอกว่าในตอนนี้สามารถปรับตัวได้แล้ว มีความรู้สึกเฉยๆกับความพิการของตนเอง

    O : ผู้รับบริการเพศชาย w/ Paraplegia มีรอยแผลบริเวณหน้าแข้งข้างซ้าย สามารถเข็น Standard wheelchair ได้อย่างคล่องแคล่วที่ตลาด มีสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส 

    A : ผู้รับบริการมีความรู้เกี่ยวกับการดัดแปลงรถยนต์เบื้องต้น 

    P : ตรวจเช็คว่าผู้รับบริการมีความรู้ด้านวิธีการที่จะสามารถขับรถได้ , การปรับเปลี่ยนสภาพรถ , ค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ และร่วมกันวางแผนด้านการจัดการเงิน , ความพร้อมของทักษะที่ต้องใช้ในการขับรถ

      Pragmatic reasoning

      จากการพูดคุยแลกเปลี่ยนกับอาจารย์ได้คำแนะนำดังนี้

      • ตรวจเช็คว่าผู้รับบริการมีความรู้ด้านวิธีการ ขั้นตอนที่จะสามารถขับรถได้ , การปรับเปลี่ยนสภาพรถและค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้
      • ประเมินความสามารถของผู้รับบริการที่จำเป็นต่อการขับรถ เช่น การเคลื่อนย้ายตัวจากwheelchair ไปนั่งบนรถและลงจากรถ , การควบคุม Hand function , Visual field , การตัดสินใจ
      • จำลองสถานการณ์ โดยเริ่มจากทั่วไปเช่น เบรคเมื่อเจอไฟสีเหลืองสีแดง , เบรคฉุกเฉินกระทันหัน เมื่อมีคนข้ามถนนหรือหมาตัดหน้ารถ 
      • ดู Response time ความเร็วในการตอบสนอง และ Reaction time ช่วยเวลาที่ร่ายกายเริ่มตอบสนองทันทีเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน (working memory)
      • สะท้อนกลับว่ามีตรงไหนที่ยังไม่พร้อมขับรถและบอกวิธีการฟื้นฟูเพื่อทำให้พร้อมต่อการขับรถจริง
      • ให้ผู้รับบริการรวมกันวางแผนด้านการจัดการเงินในแต่ละเดือนและวางแผนฝึกความพร้อมทักษะที่ต้องใช้ในการขับรถ

      Story telling

      กรณีศึกษานี้เป็นกรณีที่ได้เลือกมาจากการไปลงพื้นที่ชุมชนร่วมกับทีมIL เพื่อไปดูผู้พิการที่สามารถดำรงค์ชีวิตได้อย่างอิสระและเคสที่ได้ก็ยังมีอาชีพเป็นพ่อค้าอีกด้วย ซึ่งทำให้รู้สึกตื่นเต้นที่จะได้ไปเห็น เรียนรู้จากผู้พิการโดยตรงหลังจากที่ได้เจอทำให้รู้สึกว่าเรายังเลือกตั้งคำประเด็นยังไม่ครอบคลุม ไม่เจาะลึกรายละเอียดในสิ่งที่ผู้รับบริการเล่าให้ฟัง แต่เท่าที่ฟังคุณอา ทำให้เห็นถึงความไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค ตั้งแต่การฝึกช่วงแรกๆที่มีความยากลำบาก ได้ฝึกเริ่มตั้งแต่ความสำเร็จเล็กก็เป็นกำลังใจที่สำคัญที่ทำให้อยากพัฒนาตนเองต่อไปจนปัจจุบันคุณอาสามารถที่จะดำรงค์ชีวิตได้ด้วยตนเองอย่างอิสระ เป็นผู้พิการต้นแบบที่ได้สอนเราได้เห็นถึงความพยายามในการใช้ชีวิตต่อไป ความรู้สึกประสบการณ์ที่เคยเจอ การมองโลกตามความเป็นจริงและอยู่กับปัจจุบัน นอกจากนี้ทำให้เห็นว่าการจะดัดแปลงอุปกรณ์นอกจากจะมีความรู้แล้วปัจจัยด้านเศรษฐฐานะการเงินก็เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ทำสำเร็จได้ สิ่งต่างๆเหล่านี้ที่ได้ถ่ายทอดให้พวกเราฟังเป็นประสบการณ์เรียนรู้ที่ไม่สามารถหาได้จากในห้องเรียน ขอบคุณค่ะ

      นศ.กบ.กัญญาณัฐ แก้วมณีวรรณ 6023003

      หมายเลขบันทึก: 675631เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2020 18:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2020 21:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


      ความเห็น (2)

      ในวันนี้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการ brief case ว่าภายในหนึ่งนาทีเราต้องพูดอะไร อย่างไรบ้าง เพื่อให้สามารถสื่อสารให้กับผู้อื่นได้รู้และเข้าใจอย่างมีประสิทธิภาพ โดยต้องคงความเป็นเอกลักษณ์หรืออัตลักษณ์ของ OT เอาไว้ด้วย นั่นก็คือมีการใช้ศัพท์ของ OT, การให้ความสำคัญกับสิ่งที่ผู้รับบริการต้องการที่จะทำหรือคาดหวังไว้, ความสามารถ บริบท สภาพแวดล้อมของผู้รับบริการ เป็นต้น

      ประโยคที่ผมได้คิด กลั่นกรอง และทดลองพูดในวันนี้ โดยผมได้จด key word สำคัญเอาไว้และเมื่อถึงเวลาพูดก็จะพูดโดยขยายความ “ผู้รับบริการ เพศชาย อายุ 43 ปี อยู่กับภรรยาและลูกสาวที่ห้องพัก dx. Paraplegia due to SCI T10 จากอุบัติเหตุรถล้ม ไม่สามารถขยับและรับความรู้สึกที่ขาได้ ผู้รับบริการต้องหยุดทำงานเพื่อรักษาตัว 1 ปี แต่ตอนนี้กลับไปทำงานได้แล้ว ทำ ADL ได้ ส่วน IADL สามารถทำอาหารได้ ซักผ้าได้ และมีการสั่งซื้อของออนไลน์เพื่อนำมาขาย เนื่องจากผู้รับบริการเป็นพ่อค้าขายของที่ตลาด ในตอนเย็นมีการสังสรรค์กับเพื่อนที่ตลาด มีความต้องการที่จะขับรถยนต์ เพื่อไปเที่ยวกับครอบครัว และมีแพลนที่จะซื้อรถคันใหม่และดัดแปลงเนื่องจากผู้รับบริการมีความรู้เรื่องการดัดแปลงรถเบื้องต้นด้วย”

      อีกสิ่งที่ได้ทำก็คือการฝึกตั้งคำถาม Three-Track Mind ซึ่งในระดับ Procedural เป็นการถามเพื่อนร่วมวิชาชีพ หรือสหวิชาชีพ ได้เรียนรู้ว่าการตั้งคำถามควรชี้ตรงจุด เป็นประโยคความเดียว ไม่ซับซ้อน ใช้คำว่า“อะไร, อย่างไร, …” เช่น ผู้รับบริการไม่ให้ความร่วมมือในการบำบัดอย่างไร, ผู้รับบริการมีทักษะในการขับรถระดับใด และในระดับ Interactive เป็นการถามกับผู้รับบริการโดยตรง หรือจากญาติ คล้ายกับ Procedural แต่ต้องพิจารณาระดับของคำถามให้ตรงกับความสามารถของผู้รับบริการในการตอบ เช่น ถ้าเป็นเด็กอาจจะถามแล้วมีตัวเลือกให้ ถ้าเป็นผู้ใหญ่อาจจะใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้ผู้รับบริการได้แสดงความคิดเห็นและทำให้เราสามารถเห็นสิ่งที่ผู้รับบริการต้องการได้

      อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้ผมรู้สึกว่าทำให้ผมได้สนุกและท้าทายกับคาบนี้คือได้ฟังเพื่อนพูด แล้วลองฝึกทำความเข้าใจด้วยตนเองว่า เราสามารถที่จะจับใจความได้หรือไม่ สามารถเข้าใจในสิ่งที่เพื่อนต้องการจะสื่อจริงๆหรือไม่

      ขอบคุณครับ 🙏🏻🙏🏻🙏🏻

      กันต์ นิมิตรประเสริฐ 6323009

      (แก้ไข)ในวันนี้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการ brief case ว่าภายในหนึ่งนาทีเราต้องพูดอะไร อย่างไรบ้าง เพื่อให้สามารถสื่อสารให้กับผู้อื่นได้รู้และเข้าใจอย่างมีประสิทธิภาพ โดยต้องคงความเป็นเอกลักษณ์หรืออัตลักษณ์ของ OT เอาไว้ด้วย นั่นก็คือมีการใช้ศัพท์ของ OT, การให้ความสำคัญกับสิ่งที่ผู้รับบริการต้องการที่จะทำหรือคาดหวังไว้, ความสามารถ บริบท สภาพแวดล้อมของผู้รับบริการ เป็นต้น

      ประโยคที่ผมได้คิด กลั่นกรอง และทดลองพูดในวันนี้ โดยผมได้จด key word สำคัญเอาไว้และเมื่อถึงเวลาพูดก็จะพูดโดยขยายความ “ผู้รับบริการ เพศชาย อายุ 43 ปี อยู่กับภรรยาและลูกสาวที่ห้องพัก dx. Paraplegia due to SCI T10 จากอุบัติเหตุรถล้ม ไม่สามารถขยับและรับความรู้สึกที่ขาได้ ผู้รับบริการต้องหยุดทำงานเพื่อรักษาตัว 1 ปี แต่ตอนนี้กลับไปทำงานได้แล้ว ทำ ADL ได้ ส่วน IADL สามารถทำอาหารได้ ซักผ้าได้ และมีการสั่งซื้อของออนไลน์เพื่อนำมาขาย เนื่องจากผู้รับบริการเป็นพ่อค้าขายของที่ตลาด ในตอนเย็นมีการสังสรรค์กับเพื่อนที่ตลาด มีความต้องการที่จะขับรถยนต์ เพื่อไปเที่ยวกับครอบครัว และมีแพลนที่จะซื้อรถคันใหม่และดัดแปลงเนื่องจากผู้รับบริการมีความรู้เรื่องการดัดแปลงรถเบื้องต้นด้วย”

      อีกสิ่งที่ได้ทำก็คือการฝึกตั้งคำถาม Three-Track Mind ซึ่งในระดับ Procedural เป็นการถามเพื่อนร่วมวิชาชีพ หรือสหวิชาชีพ ได้เรียนรู้ว่าการตั้งคำถามควรชี้ตรงจุด เป็นประโยคความเดียว ไม่ซับซ้อน ใช้คำว่า“อะไร, อย่างไร, …” เช่น ผู้รับบริการไม่ให้ความร่วมมือในการบำบัดอย่างไร, ผู้รับบริการมีทักษะในการขับรถระดับใด และในระดับ Interactive เป็นการถามกับผู้รับบริการโดยตรง หรือจากญาติ คล้ายกับ Procedural แต่ต้องพิจารณาระดับของคำถามให้ตรงกับความสามารถของผู้รับบริการในการตอบ เช่น ถ้าเป็นเด็กอาจจะถามแล้วมีตัวเลือกให้ ถ้าเป็นผู้ใหญ่อาจจะใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้ผู้รับบริการได้แสดงความคิดเห็นและทำให้เราสามารถเห็นสิ่งที่ผู้รับบริการต้องการได้

      สุดท้ายที่ทำให้ผมรู้สึกว่าทำให้ผมได้สนุกและท้าทายกับคาบนี้คือได้ฟังเพื่อนพูด แล้วลองฝึกทำความเข้าใจด้วยตนเองว่า เราสามารถที่จะจับใจความได้หรือไม่ สามารถเข้าใจในสิ่งที่เพื่อนต้องการจะสื่อจริงๆหรือไม่

      ขอบคุณครับ 🙏🏻🙏🏻🙏🏻

      กันต์ นิมิตรประเสริฐ 6323009

      พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
      ClassStart
      ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
      ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
      ClassStart Books
      โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท