การให้เหตุผลทางคลินิกกิจกรรมบำบัดจากกรณีศึกษา


กรณีศึกษาการให้เหตุผลทางคลินิก

กรณีศึกษา : คุณปอ(นามสมมติ) female , 83 y.o. ,Dx. Mild dementia

General appearance :

- รูปร่าง : ผอมบาง

- สีหน้า อารมณ์ : เรียบเฉยเมื่ออยู่คนเดียว ยิ้มแย้มเมื่อมีคนพูดคุยด้วย อารมณ์ดี

-  Posture : Alignmentขณะยืนและนั่งหลังค่อมเล็กน้อย

- การให้ความร่วมมือ : มีความจดจ่อสนใจดี กระตือรือร้นในการทำกิจกรรม

อาชีพเดิม : ครูสอนคณิตสาสตร์

ศาสนา : คริสต์

กิจกรรมที่ให้คุณค่า : การเข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนาคริสต์

Strengths and concerns in relation to performing occupations and daily life activity ;

จุดแข็ง : ร่างกายแข็งแรงสามารถเคลื่อนไหวร่างกายเคลื่อนย้ายตัวเองได้อย่างอิสระและมีกำลังกล้ามเนื้อในระดับGrade5

จุดอ่อน : มีปัญหาเรื่องความจำ(Short term memory) มองเห็นไม่ชัดเจน และมีอารมณ์เหงา

Areas of potential occupational disruption : การอาบน้ำ การแปรงฟันด้วยตนเอง การรู้เวลากลางวันกลางคืน

    Diagnostic reasoning 

    • Mild dementia (N.D)
    • ไขมัน ความดัน

      การวินิจฉัยทางกิจกรรมบำบัด :

      Occupational Imbalance : ไม่ได้ทำกิจวัตรประจำวันที่สำคัญด้วยตนเอง มีอารมณ์เหงาคิดถึงน้องสาว มีอาการหลงลืมว่าได้ทำกิจกรรมอะไรไปแล้วเมื่อเร็วๆนี้ ตอนกลางคืนตื่นมาเข้าห้องน้ำบ่อยทำให้การนอนหลับไม่เพียงพอ

      Interactive reasoning

      • ใช้เทคนิคRAPPORTสร้างสัมพันธภาพ ในการพูดคุยและสัมภาษณ์ผู้รับบริการโดยใช้น้ำเสียงที่ดี มองหน้าสบตา สังเกตสีหน้า อารมณ์ และรับฟังอย่างตั้งใจเข้าใจและจับประเด็น แล้วถามลึกลงไปเพื่อขยายความ ให้ผู้รับบริการได้บอกเล่าอธิบายสิ่งที่ต้องการจะพูดออกมา(Procedural reasoning)
      • ได้สอบถามผู้ดูแลเกี่ยวกับการมองเห็นของผู้รับบริการเนื่องจากการสังเกตขณะทำกิจกรรมผู้รับบริการไม่สามารถมองเห็นแผ่นแป้งก๋วยเตี๋ยวที่อยู่บนเขียงได้ และไม่สามารถหยิบไก่ยอที่อยู่ในจานได้ถูกและไปจับนิ้วนักศึกษาที่กำลังชี้อยู่แทนไก่ยอ แต่ผู้ดูแลกลับบอกว่า “ไม่นะคะสายตาก็ปกติดีเล่นกิจกรรมบิงโกอะไรก็ได้”ซึ่งขัดแย้งกับสิ่งที่ผู้บำบัดเห็น

        Narrative reasoning

        •  “วันนี้มีงานเลี้ยงอะไรกันคนเยอะแยะเลย แต่ครูไม่รู้จักนะ”   “เดินไปกลับบ้านทุกวัน บ้านเดินไปทางข้างหลังนี้ไง”   “เมื่อกี้กินหมูผัดบวบน้องสาวทำให้”

            ทั้งที่ความจริงมื้อกลางวันไม่ได้กินหมูผัดบวบและไม่ได้อยู่กับน้องสาว เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการสูญเสียShort term memory อาการของสมองเสื่อมของผู้รับบริการ

            • เมื่อเข้าไปทักสวัสดีผู้รับบริการตอบกลับมาว่า  “วันนี้มาเยี่ยมครูหรอ เรียนจบหรือยัง ดีใจจังที่มาคุยกับครู”   “น้องสาวทำอาหารให้กิน น้องสาวทำอาหารอร่อย เป็นช่างเย็บผ้าตัดชุดสวย”และเมื่อพบผู้รับบริการอีกครั้งก็จะพูดถึงน้องสาวอีก    “น้องสาวเค้าทำอันนั้นให้ ตัดชุดก็สวย ทำอาหารอร่อย” แสดงให้เห็นถึงอารมณ์เหงาอยากมีคนพูดคุย และคิดถึงน้องสาว (Loneliness)
            • “เมื่อก่อนเป็นครูสอนคณิตศาสตร์ อยู่โรงเรียนคริสเตียน เพราะเป็นคนคริสต์ เคยสอนโรงเรียนพุทธแต่ที่บ้านไม่ให้สอนเค้าอยากให้เราสอนโรงเรียนคริสเตียนมากกว่า”    “เมื่อก่อนไปโบสถ์ทุกอาทิตย์กับพ่อแม่ ไปฟังเค้าสอนฟังแล้วรู้สึกมีความสุข สงบดี” แสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญกับศาสนาคริสต์และ ให้Valueในเรื่องศาสนาคริสต์
            • “เค้าจำอะไรไม่ค่อยได้แล้วก็ชอบตื่นมาเข้าห้องน้ำบ่อยตอนกลางคืน”เป็นคำพูดของเพื่อนร่วมห้องและจากการที่ผู้บำบัดสังเกตขณะที่ผู้รับบริการนั่งรออยู่คนเดียวก็มีการลุกไปเข้าห้องน้ำหลายครั้งโดยเดินเข้าห้องผิดเพราะจำห้องตัวเองไม่ได้
            • ได้พูดคุยกับผู้ดูแลเกี่ยวกับผู้รับบริการ ผู้ดูแลเล่าว่า   “(ผู้รับบริการ)เพิ่งมาอยู่ที่บ้านพักผู้สูงอายุได้ 2 สัปดาห์ น้องสาวเป็นคนพามาส่งและบอกว่ามีอารมณ์ฉุนเฉียวโมโหบ้าง มียาที่ต้องกินคือไขมัน ความดัน ยังไม่เคยล้ม ”

            Procedural reasoning

            1.  สร้างสัมพันธภาพและพูดคุยสอบถามให้ผู้รับบริการเล่าเรื่องราวของตน(Interactive reasoning) โดยผู้รับบริการสามารถเล่าสื่อสารได้รู้เรื่องในเรื่องครอบครัว อาชีพเก่า เล่าเรื่องราวปัจจุบันของผู้รับบริการได้ แต่เมื่อไปสัมภาษณ์ผู้ดูแลก็พบว่าเรื่องราวปัจจุบันที่ผู้รับบริการเล่านั้นไม่เป็นความจริงโดยผู้รับบริการจะนำเรื่องราวจริงในอดีตมาเล่าแทน รวมทั้งตอบอายุ วันเกิดของตนเองไม่ถูกต้อง
            2.  ประเมินผู้รับบริการ
            • ประเมิน Orientation พบว่าผู้รับบริการไม่สามารถบอกวัน เวลา สถานที่ได้
            • การประเมินให้ผู้รับบริการเขียนชื่อให้ดู โดยสามารถเขียนชื่อ นามสกุลได้ถูกต้องแต่ลายมือเส้นอักษรเขียนได้สั่น และเมื่อให้ลองชี้และอ่านให้ดูก็ชี้ได้ไม่ถูกต้อง ไปชี้อีกที่ขณะอ่านและต้องก้มมามองใกล้กระดาษมาก
            • อดีตผู้รับบริการเคยเป็นครูสอนคณิตศาสตร์จึงประเมินโดยให้คิดเลข100แล้วลบไปครั้งละ7(ส่วนหนึ่งจากแบบประเมินMMSE) พบว่าสามารถคิดได้ถูกในสองครั้งแรกของการลบด้วย7 ส่วนครั้งต่อๆไปคิดช้าและคิดเลขผิด เลยเปลี่ยนเป็นลองคิดเลขง่าย ก็สามารถตอบได้เร็วและถูกต้อง
            • ประเมินการทำADL : ผู้รับบริการบอกว่าอาบน้ำ เข้าห้องน้ำ แปรงฟันเองหมดทุกอย่าง จึงให้เล่าวิธีการทำให้ดูก็สามารถเล่าได้ถูกต้อง แต่ไปถามผู้ดูแล ผู้ดูแลบอกว่า “อาบน้ำให้หมดเลยให้ผู้รับบริการถูตัวอย่างเดียว แปรงฟันก็ต้องช่วยบีบยาสีฟันเตรียมให้ ใส่เสื้อก็มีต้องช่วยติดกระดุมให้บ้าง” จึงถามต่อว่าทำไมไม่ลองให้ผู้รับบริการทำเองที่จริงคุณปอน่าจะทำได้แล้วก็อาจจะคอยมองอยู่ห่างๆ ผู้ดูแลตอบว่า “เพราะไม่กล้าปล่อยให้เขาอยู่คนเดียวกลัวเขาลื่น กลัวเขาทำไม่เรียบร้อย” ทำให้ทราบว่าผู้ดูแลเกิดความกลัวกังวลทำให้ไม่ได้เปิดโอกาสให้ผู้รับบริการได้ทำกิจกรรมด้วยตนเอง (Narrative reasoning) *โดยหากมีโอกาสพบอีกอยากสอบถามเพิ่มเติมว่าเพราะอะไรถึงกลัวว่าผู้รับบริการจะล้ม ทั้งที่ยังไม่มีประวัติล้มและตอนนั้นผู้ดูแลยังไม่ทราบว่าผู้รับบริการมองได้ไม่ชัด เพราะจะทำให้ทราบถึงปัจจัยอื่นๆที่เกิดขึ้นกับผู้รับบริการแล้วทำให้ผู้ดูแลเกิดความกังวล
            • ประเมินROMและกำลังกล้ามเนื้อ : บริเวณไหล่ แขน มือของผู้รับบริการโดยให้Active ROM พบว่าไม่มีอาการข้อติด และมีกำลังกล้ามเนื้อแขนขาอยู่ในระดับGrade5
            • ประเมินการทำงานของมือทั้งสองข้าง : ผู้รับบริการมีกระดูกนิ้วมือคดในทุกนิ้ว แต่เมื่อสอบถามบอกว่าไม่ได้มีอาการเจ็บหรือส่งผลกระทบต่อการทำกิจกรรม และได้ให้ลองทำกิจกรรมทำก๋วยเตี๋ยวลุยสวนและที่รองแก้วที่มีการหยิบจับก็ไม่ได้มีอาการเจ็บหรือส่งผลกระทบต่อการทำกิจกรรม
            • Sensory evaluation :โดยการให้ผู้รับบริการหลับตาแล้วกดที่นิ้วของผู้รับบริการ แล้วให้ผู้รับบริการบอกว่านิ้วใดที่ถูกกด พบว่าผู้รับบริการสามารถตอบได้ถูกต้องทุกครั้ง
            • ประเมินการมองเห็น : เพื่อตรวจให้แน่ใจจากการที่ผู้ดูแลบอกว่าสายตาผู้รับบริการปกติในครั้งที่แล้ว ทดสอบโดยการชูนิ้ว3นิ้วห่างจากหน้าผู้รับบริการประมาณ20เซนติเมตรแล้วให้ผู้รับบริการบอกว่ากำลังชูกี่นิ้วพบว่าผู้รับบริการมองได้ไม่ชัด โดยตอบผิดหลายครั้งต้องเอามือมาคลำดูหรือยื่นหน้ามาดูใกล้จึงตอบถูก หลังฝึกเสร็จได้ไปคุยกับผู้ดูแลผู้ดูแลก็ได้บอกว่า มองไม่ค่อยเห็นจริง
            • Mobillity :ให้ผู้รับบริการเดินกลับห้อง มีอาการเดินแบบไม่มั่นใจ เดินลากเท้า ต้องใช้มือคลำทางในครั้งแรกมีการใช้ราวจับ แล้วหันมาพูดว่ากลับบ้านก่อนนะ แล้วถามผู้บำบัดว่าเดินไปทางไหนต่อ แต่เมื่อไปพบในครั้งที่สองเห็นถึงการเดินที่มั่นใจมากขึ้นไม่ใช้มือคลำทางแล้วแต่ยังเดินลากเท้าอยู่
            • 3. การวางแผนการรักษาทางกิจกรรมบำบัด
            • ได้ทำการรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการพูดคุย สัมภาษณ์ ประเมินผู้รับบริการ มาวิเคราะห์โดยใช้ความรู้ทางกิจกรรมบำบัด และปรึกษาอาจารย์ในการวางแผนการดำเนินการทางกิจกรรมบำบัดต่อไป

            Ethical Reasoning

            • ในตอนแรกผู้ดูแลยังไม่ทราบว่าผู้รับบริการมีอาการมองเห็นได้ไม่ชัดเจนจึงได้แจ้งผู้ดูแล และประสานกับผู้ดูแลให้พาผู้รับบริการไปตรวจกับจักษุแพทย์เพื่อหาวิธีในการรักษา เพราะ อาจทำให้เกิดเหตุการที่ไม่ปลอดภัยหรือ เป็นอันตรายต่อตัวผู้รับบริการได้ รวมทั้งผู้ที่สายตาไม่ดีในผู้ที่มีอาการสมองเสื่อมหากปล่อยให้อาการแย่ลงจนถึงระยะรุนแรง อาจทำให้มองเห็นภาพหลอนตามมาได้

            Conditioning reasoning

            • จากสังเกต สัมภาษณ์ และประเมินผ่านการทำกิจกรรมทำให้เห็นถึงปัญหาต่างๆของผู้รับบริการ คือ ไม่ได้ทำกิจวัตรประจำวันที่สำคัญด้วยตัวเอง เช่น อาบน้ำ แปรงฟัน รวมทั้งมีอารมณ์เหงาดีใจเมื่อมีคนมาพูดคุยด้วย และชอบพูดถึงน้องสาว
            • เลือกใช้ PEOP Model และ MOHO Modelในการวิเคราะห์ปัญหาของผู้รับบริการ

            PEOP Model เนื่องจากต้องการวิเคราะปัญหาแบบองค์รวม และเป็นปัญหาที่เกิดจากหลายปัจจัยส่งผลร่วมกัน

            P : อาการของโรคสมองเสื่อม , สูญเสียShort term memory , ไม่สามารถOrientation , มองเห็นไม่ชัดเจน , มีอารมณ์เหงา

            E : บ้านพักผู้สูงอายุ ผู้ดูแลไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้สูงอายุ และผู้ดูแลมีหลายภาระงานทำให้ดูแลได้อย่างไม่ทั่วถึง ไม่ได้ส่งเสริมการทำกิจกรรมตามอาการและโรคของแต่ละบุคคล ทำให้ละเลยบางปัญหาของผู้รับบริการไป

            O : ไม่ได้รับการส่งเสริมการทำกิจกรรมเพื่อลดอาการหรือชะลอความเสื่อมของโรค

            P : การไม่ได้ทำกิจวัตรประจำวันที่สำคัญด้วยตนเอง

            MOHO Model เนื่องจากต้องการมองลึกลงไปถึงสิ่งที่อยู่ภายในจิตใจ ความต้องการ การให้คุณค่าของผู้รับบริการ

            Volotion : มีการให้คุณค่ากับน้องสาวและศาสนาคริสต์

            Habituation : เป็นพี่สาว ชอบพูดชมถึงน้องสาว เป็นคนมีนิสัยฉุนเฉียวบ้างกับคนที่สนิท

            Performance : เป็นคุณครูสอนคณิตศาสตร์เก่า ชอบไปโบสถ์

            เมื่อได้วิเคราะห์ถึงปัญหาต่างๆแล้วจึงนำไปตั้ง Goal

            1. ผู้รับบริการสามารถอาบน้ำและแปรงฟันได้ด้วยตนเอง
            2.  ผู้รับบริการสามารถบอกเวลา(กลางวัน-กลางคืน) สถานที่ เวลาได้
            3.  ทำกิจกรรมกลุ่มส่งเสริมสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ
            4.  ให้ความรู้และทำความเข้าใจแก่ผู้ดูแลในการดูแล และส่งเสริมการทำกิจกรรมต่างๆของผู้รับบริการ เช่น การคงไว้ซึ่งความสามารถการทำกิจกรรม การชะลอความเสื่อมของโรค การทำกิจกรรมในสิ่งที่เขาชอบ อยากทำ ที่เพิ่มคุณค่าในตัวเองและได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น

            Pragmatic reasoning

            หากมีโอกาสต้องการที่จะแนะนำเพิ่มเติม

            1. จากคู่มือแนวทางป้องกันภาวะสมองเสื่อมสำหรับผู้สูงอายุ

            สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. คู่มือแนวทางป้องกันภาวะสมองเสื่อมสำหรับผู้สูงอายุ “กินอย่างไร...ห่างไกลสมองเสื่อม”.พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพ: บริษัทสามเจริญพาณิชย์; ปี2560.

            ถ้ามีโอกาสจะแนะนำอาหารที่เหมาะโรคสมองเสื่อม คืออาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบีที่ช่วยบำรุงสมอง ช่วยเพิ่มสารสื่อประสาทซีโรโทนิน เช่น ข้าวกล้อง ข้าวหรือธัญพืชไม่ขัดสี ปลา ไข่ ผัก ผลไม้

            2. เนื่องจากผู้บำบัดมีโอกาสในการทำInterventionเพียงครั้งเดียวนำไปสู่การให้โปรแกรมผู้ดูแลในการฝึก (Home program)อ้างอิงจาก วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย

            กอบหทัย สิทธิรณฤทธิ์ พบ.. ปัญหาด้านพฤติกรรมอารมณ์และจิตใจ ในผู้ป่วยสมองเสื่อม (BPSD): แนวคิด และการรักษา. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. ปีพิมพ์2554; 56:456-9.

            ประกอบไปด้วย

            •  ให้ความรู้ผู้ดูแลถึงอาการปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตามมาในผู้ที่เป็นโรคสมองเสื่อม เช่น ความเร็วในการคิด ภาษา การทำความเข้าใจ การตัดสินใจ ความจำ อารมณ์ซึมเศร้า
            • วิธีในการดูแลและตอบสนองผู้ป่วยสมองเสื่อมได้ อย่างเหมาะสม อธิบายผู้ดูแลเกี่ยวกับ สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ สอนวิธีการพูด และปฏิบัติต่อผู้ป่วย (approachment) การปรับสภาพ แวดล้อม
            • การฝึกให้ผู้ป่วยรับรู้เวลา สถานที่และบุคคล ให้ถูกต้องตามความเป็นจริง (reality orientation) เพื่อ ช่วยให้ผู้ป่วยอยู่ในโลกของความเป็นจริงและลดความ วิตกกังวลของผู้ป่วย
            • การจัดกิจกรรมระลึกถึงความทรงจำดีๆในอดีต (reminiscence therapy) เช่น พูดคุยเกี่ยวกับช่วง วัยเด็ก วัยทำงาน หรือช่วงชีวิตที่ผู้ป่วยมีความสุขอาจใช้ รูปหรือของที่ระลึกเป็นตัวช่วยทบทวน ความทรงจำในอดีตก็ได้กิจกรรมนี้จะทำให้ผู้ป่วย ตระหนักถึงอัตลักษณ์และคุณค่าของตนเอง และอาจ ช่วยกระตุ้นความจำได้อีกด้วย
            • กระตุ้นให้ผู้ป่วยดูแลตนเองให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะในเรื่องการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น การทำความสะอาดร่างกาย การอาบน้ำ จัดเตรียมอุปกรณ์ตามลำดับก่อนหลัง  ใช้อุปกรณ์ที่คุ้นเคย สะดวก ไม่ซับซ้อน บอกเป็นขั้นตอน ช้า ๆ กำหนดเวลาอาบน้ำ  การเข้าห้องน้ำ ให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันที่เคยทำ ระวังเรื่องน้ำร้อนลวก  ให้เลือกเสื้อผ้าที่จะใส่เองเท่าที่จะทำได้ จนกระทั่งทำเองไม่ได้  จัดอาหารให้พอดีในแต่ละมื้อ  กำหนดเวลาในการอาบน้ำ การขับถ่าย โดยสังเกตดูและเลือกเวลาที่เหมาะสมกับผู้ป่วย ตามความพร้อมของผู้ป่วย  จะช่วยให้ผู้ป่วยเรียนรู้งานที่ต้องทำ ไม่สับสน  ไม่เร่งรีบ สิ่งสำคัญที่ควรระลึกเสมอ  ถ้าผู้ดูแลไม่ว่าง และเร่งรีบให้ผู้ป่วยทำตามตารางเวลาของเรา  จะเป็นสิ่งกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีความไม่พอใจ โกรธ ก้าวร้าว  เกรี้ยวกราด ได้
            • พยายามคงความสามารถของผู้ป่วยที่มีอยู่  ชะลอความเสื่อมของสมอง ซึ่งในระยะเริ่มแรกอาจจัดกิจกรรมให้ผู้ป่วยทำ การใช้ภาพเป็นตัวสื่อ ทายภาพคนดัง สมาชิกใครอบครัว หรือการจัดภาพอัลบั้มของคนในครอบครัว  การคิดเลขบวกเลข  การเล่นเกมส์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นการพัฒนาสมองของผู้ป่วย
            • การออกกำลังกาย จะช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนที่เข้าไปเลี้ยงสมอง หรือการทำสมาธิ ทำให้สมองมีความผ่อนคลาย ช่วยในการจดจำได้ดีขึ้น และสิ่งที่สำคัญอีกอย่างก็คือ การพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะ หากพักผ่อนไม่เพียงพอ จะส่งผลต่อการทำงานของสมองอย่างมาก

            SOAP Note

            ครั้งที่ 1

            S : ผู้รับบริการบอกว่าเดินไปกลับบ้านทุกวัน อาบน้ำ แปรงฟันเองทุกวัน(ซึ่งไม่เป็นความจริง)

            O : ใส่ชุดนอน ร่าเริง แสดงสีหน้าได้เหมาะสมกับเรื่องที่พูด ขณะพูดหันมองหน้าคู่สนทนา ขณะทำกิจกรรมทำอาหารมองไม่เห็นเส้นก๋วยเตี๋ยวที่อยู่บนจาน ผู้รับบริการแสดงท่าทางไม่มั่นใจขณะเดิน ยื่นมือข้างหน้าเพื่อคลำทางตอนเดิน

            A : มีความสนใจดีขณะสัมภาษณ์ มีกำลังกล้ามเนื้อGrade5 ไม่มีข้อติด ผู้ดูแลเป็นผู้ช่วยเหลือทำกิจวัตรประจำวันให้ทั้งหมด ทั้งที่ผู้รับบริการสามารถทำได้

            P : ประเมินเพิ่มเรื่องการมองเห็น ปรับอุปกรณ์ ทำสัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์ในห้องน้ำให้เห็นได้ชัดเจน ให้ผู้รับบริการได้ลองแปรงฟันและสาธิตการอาบน้ำด้วยตนเอง จัดกิจกรรมกลุ่มเกี่ยวกับMemory

            ครั้งที่ 2

            S : ผู้รับบริการยิ้มแย้มแจ่มใส บอกว่ารู้สึกหนาว(อากาศหนาว) สนุก มีความสุขที่ได้ทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกับเพื่อน

            O : ใส่กางเกงสั้นระดับเข่า ใส่เสื้อกันหนาว ขณะไปรับที่โถงกลางกำลังคุยกับเพื่อนอยู่

            A : ประเมินการมองเห็นสามารถเดินหลบสิ่งกีดขวางที่ชัดเจนได้เดินมั่นใจขึ้น ทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกับผู้อื่นดีแต่ต้องปรับใช้อุปกรณ์ที่ขนาดใหญ่สีเข้มชัดเจนจึงมองเห็น สามารถแปรงฟันและสาธิตการอาบน้ำได้ด้วยตนเองโดยมีผู้บำบัดแนะนำ

            P : ประเมินซ้ำติดตามการฝึก ทดสอบให้แปรงฟันและอาบน้ำจริงด้วยตนเองเพื่อประเมิน สอบถามความพึงพอใจ

            Story telling

                      จากกรณีศึกษาที่ฉันได้ศึกษาในครั้งนี้ ฉันรู้สึกดีใจเป็นอย่างมากที่มีโอกาสได้ทำการพูดคุยประเมินผู้รับบริการท่านนี้ ท่านถือเป็นอาจารย์ท่านหนึ่งที่ทำให้ฉันได้เกิดการเรียนรู้ ปฏิบัติจริงซึ่งเคสนี้ถือเป็นเคสที่ยาก เพราะ ผู้รับบริการมีปัญหาทั้งด้านร่างกายและด้านจิตใจ รวมทั้งมีอุปสรรคสิ่งแวดล้อมที่จำเป็นต้องจัดการและได้รับการปรับ รวมทั้งการพูดคุยกับผู้ดูแลให้รับรู้ เข้าใจ ส่งเสริมการทำกิจกรรมของผู้รับบริการ  และดูเเลผู้รับบริการได้อย่างเหมาะสม

                  ต้องขอบคุณผู้รับบริการท่านนี้ที่ทำให้ฉันได้พัฒนาตัวเอง เกิดการค้นคว้า ทบทวนความรู้ที่ได้เรียนมา รวมทั้งได้เรียนรู้เพิ่มเติม และเปิดใจ เข้าใจผู้รับบริการทั้งปัญหาภายในและภายนอก ได้เรียนรู้ว่าปัญหาของของคนคนหนึ่งที่นั้นเกิดจากปัจจัยหลายๆอย่างซึ่งทำให้นักกิจกรรมบำบัดต้องวิเคราะห์ในการใช้เหตุผลแต่และประเภทในการสนับสนุน เป็นเหตุเป็นผลกับผลเพื่อให้ได้ผลการรักษาตามต้องการ และได้ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้รับบริการให้ดียิ่งขึ้น ฉันจะนำประสบการณ์ในการครั้งนี้ไปปรับปรุงและพัฒนาตัวเองให้เป็นนักกิจกรรมบำบัดที่ดีในอนาคต

            ฮุสนา ขนาดผล

            นักศึกษากิจกรรมบำบัด

            คำสำคัญ (Tags): #กิจกรรมบำบัด
            หมายเลขบันทึก: 675629เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2020 17:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2020 17:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


            ความเห็น (0)

            ไม่มีความเห็น

            พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
            ClassStart
            ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
            ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
            ClassStart Books
            โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท