Clinical reasoning




น้องก้อน (นามสมมติ) , Dx. Autism spectrum disorder (ASD), อายุ 4 ปี 11 เดือน , เพศชาย

Occupational profile

             ผู้รับบริการมีอาการไม่มองหน้าสบตา สีหน้าเรียบเฉย ไม่แสดงอารมณ์ แสดงพฤติกรรมซ้ำๆ ไม่พูดสื่อสาร ไม่สามารถบอกความต้องการได้ สามารถฟังคำสั่งสั้นๆง่ายๆได้ หลีกเลี่ยงการถูกสัมผัส มีช่วงความสนใจต่ำ ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นเวลานานได้ วอกแวกง่าย จะแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเมื่อถูกขัดใจ ผู้รับบริการได้รับการวินิจฉัยแพทย์ ระบุว่า เป็น Autism spectrum disorder (ASD) เริ่มเข้ารับการรักษาเมื่อ อายุ 2 ปี โรงพยาบาลวิชัยเวช และ อายุ 4 ปี โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ โดยปัจจุบันเข้ารับการรักษาทางกิจกรรมบำบัดโดยนักกิจกรรมบำบัดและแก้ไขปัญหาการสื่อสารโดยนักแก้ไขการพูดเพื่อส่งเสริมการสื่อสาร ผู้รับบริการรับประทานยา Respiridone 0.5 mg ก่อนนอนเป็นประจำ ผู้รับบริการสามารถช่วยเหลือตนเองในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้บ้าง จากการสัมภาษณ์ผู้ปกครอง ในส่วนของการอาบน้ำและการเข้าห้องน้ำผู้รับบริการสามารถอาบน้ำได้โดยมีคุณแม่คอยช่วยเหลือเล็กน้อย การแต่งตัวผู้รับบริการสามารถแต่งตัวเองได้ โดยมีคุณแม่คอยช่วยเหลือเล็กน้อย  ในเรื่องของการรับประทานอาหารผู้รับบริการสามารถรับประทานอาหารด้วยตนเองได้ กลืนได้ สามารถตักข้าวด้วยตนเองได้โดยการใช้ช้อน ในด้านของการเล่นผู้รับบริการไม่สามารถเล่นของเล่นได้ตามพัฒนาการ ไม่สามารถเล่นแบบสลับ (take turn) ร่วมกับผู้อื่นได้ ไม่สามารถเล่นบทบาทสมมติ (pretend play)ในบทบาทต่างๆได้  แต่สามารถเล่นแบบ parallel play ปัจจุบันผู้รับบริการอาศัยอยู่กับพ่อและแม่โดยพ่อและแม่ให้ความใส่ใจดูแลผู้ริบบริการเป็นอย่างดี ให้การสนับสนุนผู้รับบริการในการเข้ารับการบำบัดรักษาต่างๆ ซึ่งจากการสอบถาม ความต้องการของผู้ปกครองคือการให้ผู้รับบริการสามารถเรียนร่วมกับผู้อื่นได้ โดยสิ่งที่คำนึงเป็นหลักคือเรื่องของการสื่อสาร และการช่วยเหลือตนเองเพื่อให้ผู้รับบริการสามารถสามารถช่วยเหลือตนเองได้

Scientific clinical reasoning

Diagnostic clinical reasoning:

               ผู้รับบริการได้รับการวินิจฉัยแพทย์ ระบุว่า เป็น Autism spectrum disorder (ASD) และเริ่มเข้ารับการักษาเมื่ออายุ 2 ปี โดยในส่วนของ deficit in social communication and social interaction มีอาการไม่มองหน้าสบตา สีหน้าเรียบเฉย ไม่แสดงอารมณ์ ไม่พูดสื่อสาร ไม่สามารถบอกความต้องการได้ และ restrictive repetitive pattern of behavior มีอาการแสดงพฤติกรรมซ้ำๆ พฤติกรรมและความคิดไม่ยืดหยุ่น มีปัญหาการควบคุมอารมณ์ ตามเกณฑ์วินิจฉัย DSM-5

การวินิจฉัยทางกิจกรรมบำบัด : Occupational Deprivation ผู้รับบริการมีปัญหาทางด้านการสื่อสาร ภาษา การเข้าสังคมและปัญหาทางด้านพฤติกรรมทำให้ขาดโอกาสในการเข้าสังคมและการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น

Procedural clinical reasoning

-  ในครั้งแรกให้ผู้รับบริการได้เล่นของเล่นที่อยากเล่น แล้วนักศึกษาก็มีส่วนร่วมกับการเล่นนั้นเพื่อเป็นการสร้างสัมพันธภาพระหว่างนักศึกษาและผู้รับบริการ โดยมีการสังเกตพฤติกรรมต่างๆร่วมด้วย และมีการพูดคุยกับผู้ปกครองเพื่อเป็นการสร้างสัมพันธภาพกับผู้ปกครอง

-  ประเมินเพื่อหาปัญหาและการวางแผนการแก้ไขปัญหาต่างๆโดยวิธีการทางกิจกรรมบำบัด โดยประเมิน

       1. Evaluation of Sensory Processing  เพื่อประเมินปัญหาด้าน Sensory processing โดยประเมินความถี่ในการแสดงพฤติกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางด้าน Sensory processing โดยให้ผู้ปกครองเป็นผู้ทำแบบประเมิน จากการทำแบบประเมินร่วมกับการสังเกตพบว่า มีปัญหา Sensory over responsivity ต่อเสียงและการสัมผัส โดยถ้าได้ยินเสียงดังจะแสดงพฤติกรรมยกมือปิดหู วิ่งหนี และไม่ชอบการกอดรัด สัมผัสจากคนแปลกหน้า และนอกจากนี้มี Seek proprioceptive sense โดยจะแสดงพฤติกรรมสะบัดมือและกระโดดบ่อยครั้ง 

       2. ประเมินภายใต้กรอบอ้างอิง Developmental Frame of Reference จากการสอบถามผู้ปกครองและการสังเกตพฤติกรรมพบว่า มีพัฒนาการล่าช้าในด้านภาษา เนื่องจากไม่สามารถพูดสื่อสารได้ ทำให้มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกันทั้งด้านการรับรู้ภาษาและด้านการใช้ภาษา ในส่วนของกล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ สังคมและการดูแลตนเองผู้รับบริการมีพัฒนาการที่ล่าช้ากว่าวัย

       3. ประเมินการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต ( ADL ) โดยการสอบถามจากผู้ปกครองและการสังเกตพบว่าผู้รับบริการสามารถอาบน้ำ แต่งตัว เข้าห้องน้ำด้วยตนเองได้โดยมีผู้ปกครองช่วยเหลือเล็กน้อย ในส่วนของการรับประทานอาหารผู้รับบริการสามารถรับประทานอาหารด้วยตนเองได้ กลืนได้ สามารถตักข้าวด้วยตนเองได้โดยการใช้ช้อน โดยมีผู้ปกครองดูแลเรื่องความสะอาด  ในเรื่องของการเคลื่อนย้ายตนเองผู้รับบริการสามารถทำได้ด้วยตนเอง

       4. ประเมินด้านการเล่น ( Play ) โดยการสังเกตจากการทำกิจกรรมพบว่าผู้รับบริการไม่สามารถเล่นได้ตามพัฒนาการ โดยไม่สามารถเล่นแบบ take trun , cooperative , pretend play ได้ โดยส่วนใหญ่ผู้รับบริการมักจะเล่นแบบ Parallel play

-  เมื่อรวบรวมข้อมูลจากการประเมินแล้ว นำเอาข้อมูลต่างๆเพื่อตั้งเป้าหมายถึงการบำบัดรักษาและวางแผนในการบำบัดรักษา โดยหลังจากการสอบถามความต้องการของผู้ปกครองและการประเมินทางกิจกรรมบำบัดแล้ว ทำให้ได้ข้อสรุปว่าแผนการรักษานั้นจะส่งเสริมด้านการสื่อสาร พฤติกรรม การช่วยเหลือตนเอง และการเล่น เพื่อให้ผู้รับบริการมีพัฒนาการต่างๆที่ใกล้เคียงกับวัย สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเองได้ และสามารถช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับวัย

    Interactive clinical reasoning

                       สร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการโดยการให้ผู้รับบริการทำกิจกรรมที่อยากทำ และนักศึกษาเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้นๆโดยมีสีหน้าท่าทางที่ยิ้มแย้ม แจ่มใส ใช้น้ำเสียงที่เหมาะสมในการพูดคุยกับผู้รับบริการ ไม่บังคับผู้รับบริการ ไม่ตัดสินผู้รับบริการ ส่งเสริมและช่วยเหลือผู้รับบริการในการทำกิจกรรมต่างๆเพื่อให้ผู้รับบริการเกิดความไว้วางใจ เพื่อให้มีสัมพันธภาพที่ดีต่อนักศึกษา และการสร้างสัมพันธภาพกับผู้ปกครอง เริ่มจากการแนะนำตัว บอกวัตถุประสงค์ต่างๆ โดยการใช้สีหน้า ท่าทาง สายตา น้ำเสียงที่เหมาะสมและสุภาพ มีการถามคำถามและรับฟังเรื่องต่างๆจากผู้ปกครองอย่างตั้งใจ และเมื่อมีการสร้างสัมพันธภาพที่ดีแล้วนักศึกษาก็ได้พูดคุยในเชิงลึกมากขึ้น ( Narrative clinical reasoning ) เพื่อสร้างความเข้าใจต่อผู้รับบริการและผู้ปกครองมากขึ้น เพื่อให้เห็นถึงความต้องการ ความรู้สึกของผู้ปกครองมากขึ้น และทำให้เห็นถึงปัญหาที่ชัดเจนขึ้น เพื่อนำไปประกอบการวางแผนการรักษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

    Conditional clinical reasoning

                     จากการรวมรวมข้อมูลผ่านการสังเกต สัมภาษณ์และทดสอบ และระบุปัญหา เพื่อวางแผนการบำบัดรักษาสำหรับผู้รับบริการ เพื่อส่งเสริมการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตของผู้รับบริการ โดยคำนึงถึงบริบทจริงที่ผู้รับบริการอาศัยอยู่ทั้งบ้านและสังคมที่อาศัยอยู่ จึงใช้ Developmental frame of reference ร่วมกับกรอบอ้างอิง Sensory integration เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของผู้รับบริการให้มีพัฒนาการที่ใกล้เคียงกับวัย และสามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้ได้ในบริบทชีวิตจริง โดยใช้ Developmental frame of reference ในการกระตุ้นพัฒนาการของผู้รับบริการทั้งด้านภาษาและการสื่อสาร ด้านสังคมและอารมณ์ ด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก และด้านความคิดความเข้าใจเพื่อให้เกิดความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ และใช้กรอบอิงอ้าง Sensory integration เพื่อการบูรณาการประสาทรับความรู้สึก ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้เกิดการเรียนรู้และเกิดพฤติกรรมที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดรักษาผู้รับบริการให้มีพัฒนาการที่สมวัย และสามารถทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้ เนื่องจากข้อมูลสิ่งเร้า ( sensory information ) เป็นพื้นฐานสำคัญต่อการเรียนรู้และพฤติกรรม ทำให้ผู้รับบริการเกิดการตอบสนองที่เหมาะสมกับความสามารถ การนำเอากรอบอ้างอิงทั้งสองมาประยุกต์ใช้ร่วมกันจะทำให้การบำบัดรักษามีประสิทธิภาพที่มากขึ้นและช่วยให้ผู้รับบริการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในบริบทจริงของผู้รับบริการ

    Pragmatic clinical reasoning

                     จากการที่นักศึกษาได้ปรึกษากับอาจารย์เกี่ยวกับการบำบัดรักษากรณีศึกษานั้นทำให้ได้คำแนะนำคือ    ในการวางแผนการรักษานั้นต้องเริ่มจากการแก้ไขปัญหาที่ส่งผลต่อปัญหาอื่นๆและทำสำเร็จได้ก่อนนักศึกษาจึงเลือกเป้าประสงค์การบำบัดรักษาทางด้านการสื่อสารบอกความต้องการขึ้นมาเป็นอันดับแรกเพราะว่าส่งผลต่อเป้าประสงค์อื่นๆ ซึ่งเป็นเป้าประสงค์ที่ทั้งนักศึกษาและผู้ปกครองเห็นว่าสำคัญ และมีเป้าประสงค์อื่นๆที่ต้องได้รับการแก้ไขเพื่อจะนำไปสู่ความต้องการของผู้ปกครองคือการให้ผู้รับบริการสามารถเรียนร่วมกับผู้อื่นได้ ได้แก่ การควบคุมพฤติกรรมที่เหมาะสม การช่วยเหลือตนเองในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตต่างๆ และการเล่น โดยในแต่ละเป้าประสงค์นั้นจะส่งเสริมเรื่องของความสนใจจดจ่อ การฟังคำสั่ง การทำตามคำสั่ง ปรับการรับความรู้สึกที่ไม่เหมาะสมของผู้รับบริการควบคู่ไปด้วยเนื่องจากผู้รับบริการมีปัญหาบกพร่องในเรื่องต่างๆข้างต้นด้วย เพื่อให้การบำบัดรักษานั้นมีประสิทธิภาพกับผู้รับบริการมากที่สุด และจากการปรึกษา อาจารย์แนะนำเรื่องการให้ Home program เนื่องจากผู้รับบริการเข้ารับการบำบัดรักษาค่อนข้างน้อย เพียงแค่สัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง การให้ Home program จึงเป็นส่วนสำคัญในการบำบัดรักษา ซึ่งการให้ Home program นั้นเพื่อให้ผู้รับบริการได้มีการบำบัดรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยให้ผู้ปกครองนำคำแนะจากนักกิจกรรมบำบัดไปปรับใช้กับบริบทจริง เพื่อให้ผู้รับบริการได้เกิดการเรียนรู้และนำไปใช้ในบริบทจริงได้ และจากความต้องการของผู้ปกครองที่ต้องการให้ผู้รับบริการสามารถเรียนร่วมกับผู้อื่นได้ แนะนำให้มีการจัดทำ Individual Education Program ( IEP ) ในบริบทโรงเรียน โดยการวางแผนการเรียนสำหรับผู้รับบริการโดยเฉพาะเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้รับบริการ โดยอาจจะมีบางวิชาที่ได้เรียนร่วมกับนักเรียนทั่วไปเพื่อเป็นการฝึกทางด้านสังคมให้แก่ผู้รับบริการ ซึ่งการจัดการทางด้านการเรียนนี้ขึ้นอยู่กับพัฒนาการของผู้รับบริการ และต้องคำนึงถึงความสามารถสูงสุดของผู้รับบริการว่าสามารถที่จะเข้าร่วมโปรแกรม Individual Education Program ( IEP ) ได้หรือไม่ เพื่อที่จะวางแผนและบำบัดรักษาผู้รับบริการ

    SOAP NOTE

    13/02/62 , น้องก้อน (นามสมมติ) , เพศชาย ,  Dx. Autism spectrum disorder (ASD), อายุ 4 ปี 11 เดือน

    S : ผู้รับบริการยังไม่คุ้นชินกับนักศึกษา สื่อสารโดยใช้ท่าทางเช่น แบมือ คือขอ แต่ไม่พูดบอกความต้องการ

    O : ผู้รับบริการสามารถทำตามคำสั่งได้ แต่ผู้บำบัดต้องกระตุ้นอยู่บ่อยครั้งจึงจะสามารถทำกิจกรรมจนสำเร็จได้ ผู้รับบริการอยู่ไม่นิ่ง วอกแวกง่าย กระโดดและสะบัดมือบ่อยครั้ง ไม่ชอบให้สัมผัสร่างกาย ไม่มองหน้าสบตา

    A : Short attention span, ไม่สามารถพูดสื่อสารบอกความต้องการได้, มีพฤติกรรมกระตุ้นตัวเอง

    P : สร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการ เพิ่มช่วงความสนใจ และฝึกการสื่อสารบอกความต้องการ และให้ home program เรื่องการสื่อสารบอกความต้องการ

    13/03/62 , น้องก้อน (นามสมมติ) , เพศชาย ,  Dx. Autism spectrum disorder (ASD), อายุ 4 ปี 11 เดือน

    S : ผู้รับบริการเริ่มพูดบอกความต้องการได้ เช่นคำว่า เอา , ไม่เอา โดยทำท่าทางประกอบ เริ่มมีสัมพันธภาพที่ดีมากขึ้น เล่นกับนักศึกษามากขึ้น

    O : ผู้รับบริการมีการกระโดดและสะบัดมืออยู่บ่อยครั้ง วอกแวกง่าย แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมเมื่อได้ยินคำว่าไม่ จากผู้บำบัด มองหน้าสบตามากขึ้น ไม่หลีกหนีเมื่อนักศึกษาสัมผัสร่างกายโดยการกอด สามารถทำตามคำสั่งได้โดยผู้บำบัดกระตุ้นอยู่บ่อยครั้ง

    A : Short attention span, มีปัญหาการแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม, มีพฤติกรรมกระตุ้นตัวเอง

    P : เพิ่มช่วงความสนใจให้มากขึ้น, ยับยั้งพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและพฤติกรรมกระตุ้นตัวเอง และให้ home program เรื่องการสื่อสารและการยับยั้งพฤติกรรม

    Story telling

                     จากกรณีศึกษาน้องก้อน(นามสมมติ) เพศชาย อายุ 4 ปี 11 เดือน ได้รับการวินิจฉัยเป็น Autism spectrum disorder (ASD)  ในครั้งแรกที่ได้ไปนั้นรู้สึกตื่นเต้นและประหม่าเพราะเป็นการได้ observe กรณีศึกษาเป็นครั้งแรก ทำให้ไม่รู้ว่าเมื่อเจอผู้รับบริการควรจะทำอะไรอย่างไรบ้าง แต่เมื่อได้รับคำแนะนำจากพี่นักกิจกรรมบำบัดก็ทำให้เห็นแนวทางในการให้การบำบัดรักษาที่ชัดเจนมากขึ้น การได้ไป observe และวิเคราะห์กิจกรรมการรักษาโดยใช้วิธีการทางกิจกรรมบำบัดนั้นทำให้ได้นำความรู้ที่ได้เรียนมาประยุกต์ใช้กับผู้รับบริการ ซึ่งในการวิเคราะห์นั้นถือเป็นเรื่องที่ยากมากเพราะเป็นครั้งแรกที่ได้ทำ แต่เมื่อได้ลงมือ ได้มีการปรึกษากับเพื่อนในกลุ่ม ปรึกษากับอาจารย์ ทำให้ได้ความรู้เพิ่มเติมจากในห้องเรียนเพิ่มขึ้นเยอะมากๆ เห็นถึงกระบวนการทางกิจกรรมบำบัดตั้งแต่การรวบรวมข้อมูล ประเมิน การวางแผน การให้การบำบัดรักษา การประเมินซ้ำ นั่นทำให้เข้าใจในเนื้อหาบทเรียนได้มากขึ้น ซึ่งการไป observe ผู้รับบริการนั้นในตอนแรกๆมีปฏิสัมพันธ์กับผู้รับบริการค่อนข้างน้อย แต่หลังจากการสร้างสัมพันธภาพที่ดีแล้ว ทำให้มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีขึ้น ทำให้เห็นว่าการสร้างสัมพันธภาพเป็นสิ่งสำคัญในการให้การบำบัดรักษา โดยตอนแรกๆนั้นผู้รับบริการจะไม่ชอบให้กอด ไม่ชอบให้แตะตัว แต่หลังๆผู้รับบริการมาเล่นด้วยมากขึ้น และให้แตะตัวให้กอดได้ ทำให้รู้สึกดีมากๆ เพราะเหมือนเป็นการที่ผู้รับบริการเปิดใจให้นักศึกษามากขึ้น และสำหรับผู้ปกครองของผู้รับบริการนั้นเต็มใจที่จะให้นักศึกษาได้เรียนรู้ถึงวิธีการทางกิจกรรมบำบัดผ่านกรณีศึกษานี้ ซึ่งผู้ปกครองนั้นได้ตอบคำถามที่นักศึกษาสงสัย และให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้รับบริการเพิ่มเติมและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกับนักศึกษา ทำให้นักศึกษารู้สึกประทับใจเป็นอย่างมาก และการได้ทำกรณีศึกษาครั้งนี้ทำให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์ ได้รับคำแนะนำที่มากขึ้น ในครั้งแรกที่ได้ทำกรณีศึกษานี้คือเมื่อปี 2 เทอม 2 ( ประมาณเดือนมีนาคม พ.ศ.2562 ) ครั้งนั้นนักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ โดยใช้องค์ความรู้ที่เรียนในตอนนั้น อาจจะมีขาดตกบกพร่องไปบ้าง เนื่องจากเป็นการทำกรณีศึกษาครั้งแรกและยังเข้าใจเนื้อหาความรู้ทางกิจกรรมบำบัดได้ไม่ดีพอ แต่เมื่อได้กลับมาทำกรณีศึกษานี้อีกครั้งในวิชา clinical reasoning ซึ่งเป็นการนำเอาการให้เหตุผลทางคลินิกมาปรับประยุกต์ใช้กับกรณีศึกษานี้ ทำให้เห็นถึงข้อบกพร่องในครั้งก่อน และได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ให้ทำการแก้ไขจุดที่บกพร่องนั้นเพื่อให้สิ่งที่ออกมามีประสิทธิภาพมากที่สุด และได้ทำให้เข้าใจความเป็นไปของกระบวนการทางกิจกรรมบำบัดมากขึ้น ในการมองผู้รับบริการว่าแต่ละกระบวนการนั้นมีอะไรมาเกี่ยวข้องบ้าง เกี่ยวข้องอย่างไร และจะส่งผลต่อกระบวนการอื่นๆอย่างไรบ้าง ทำให้เกิดความคิดที่เป็นระบบมากขึ้น มีหลักการและมีเหตุผลมากขึ้น ซึ่งทำให้นักศึกษาได้พัฒนาตนเองมากยิ่งขึ้น และจะได้นำความรู้ที่ได้รับจากการเรียนไปปรับใช้กับการทำงานเป็นนักกิจกรรมบำบัดที่ดี ให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้นและเพื่อทำให้ผู้รับบริการมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น


    หมายเลขบันทึก: 675602เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2020 19:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2020 20:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (1)
    พิชญาอร มังกรกาญจน์

    (ขออนุญาตรุ่นพี่นะคะ ^^) จากการศึกษากรณีศึกษา “น้องก้อน” เด็กชายอายุ 4 ปี 11 เดือน มีภาวะ Autism spectrum disorder และในคาบเรียนได้ทำกิจกรรมสรุปเคสสั้น ๆ ภายในเวลา 1 นาที โดยให้มีใจความครบถ้วนสมบูรณ์ ในการลองครั้งแรกไม่สามารถพูดได้ทันภายในระยะเวลาที่กำหนด พูดเร็วเกินไป และการเรียงลำดับใจความยังค่อนข้างวกไปวนมาจับจุดยาก และควรเพิ่มเรื่องการวางแผนทางกิจกรรมบำบัด ดังนั้น ในการลองครั้งที่ 2 จึงได้จัดเรียงลำดับหัวข้อใหม่ เริ่มจากประวัติ อาการในช่วงแรก พฤติกรรมต่าง ๆ ที่แสดงออก และความสามารถเบื้องต้น จากนั้นก็เป็นเรื่องข้อมูลที่ได้จากการประเมิน เพื่อนำไปวางแผนการบำบัดและปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมต่อไป ดังย่อหน้าต่อไปนี้

    “ผู้รับบริการเป็นเด็กชายอายุ 4 ปี 11 เดือน มีภาวะ Autism spectrum disorder อาศัยอยู่กับพ่อแม่ที่ให้ความใส่ใจดูแลอย่างดี เข้ารับการรักษากับโรงพยาบาลตั้งแต่อายุ 2 ปี อาการในช่วงแรกไม่พูดสื่อสารบอกความต้องการ ไม่ชอบการถูกสัมผัส มีช่วงความสนใจต่ำ มีพฤติกรรมซ้ำ ๆ และแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมเมื่อถูกขัดใจ ไม่สามารถเล่นกับเพื่อนได้ แต่สามารถทำกิจวัตรพื้นฐานอย่างการอาบน้ำ ทานข้าวด้วยตัวเองได้โดยมีคุณแม่ช่วยเหลือเล็กน้อย

    หลังจากได้สัมภาษณ์และประเมิน พบว่ามีปัญหาเพิ่มเติมด้าน sensory over responsivity มี Seek proprioceptive sense และมีพัฒนาการล่าช้า ดังนั้นในการวางแผนทางกิจกรรมบำบัด จะเริ่มที่กระตุ้นพัฒนาการด้านภาษาและทักษะการสื่อสาร พร้อมใช้กรอบอ้างอิง Sensory integration เพื่อปรับลดประสาทความรู้สึกให้ตอบสนองอย่างเหมาะสม ซึ่งจะยับยั้งพฤติกรรมกระตุ้นตัวเองที่ไม่เหมาะสมได้ โดยมีการให้ home program เพิ่มเติมเนื่องจากผู้รับบริการมีเวลาน้อย พร้อมแนะนำการจัดทำ Individual Education Program ( IEP ) ในโรงเรียน เพื่อเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้รับบริการ โดยอาจจะมีบางวิชาที่ได้เรียนร่วมกับนักเรียนทั่วไปเพื่อเป็นการฝึกทักษะทางด้านสังคมให้แก่ผู้รับบริการด้วย”

    เมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรมที่ 1 อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทดลองการตั้งคำถามตาม Three-track mind หัวข้อ Procedural Reasoning (เน้น How to) ที่ได้เรียนไปในวิชา PTOT 229 นักศึกษามีความสนใจในเรื่องที่เด็กมีปัญหาด้าน sensory over responsivity และการบำบัดด้วย Sensory integration จึงได้ตั้งคำถามว่า “การบำบัดด้วย Sensory integration ในเด็ก ASD ควรมีเทคนิคอย่างไรเพื่อให้เด็กมีส่วนร่วมในการบำบัดได้อย่างเหมาะสมที่สุด” ค่ะ

    พิชญาอร มังกรกาญจน์ 6323012 เลขที่ 11

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท