ชีวิตที่พอเพียง 3617. เรียนรู้จากอุดมศึกษาไทยที่ฟูมฟักความสร้างสรรค์



ผมค้นหนังสือต่วยตูนเก่าๆ เอามาอ่านใหม่เพื่อความผ่อนคลาย พบฉบับปักษ์หลัง พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ที่ขึ้นปกรูปคุณวินทร์ เลียววาริณ    และมีเรื่องที่คุณวินทร์ เขียน ชื่อ มารู้จักสถาปัตย์จุฬาฯ (รุ่นผม)  บันทึกมุขควาย ๒๕๑๘    ที่ผมเคยเขียนบันทึกเล่าไว้ ที่นี่เรื่องการจัดการเรียนรู้แบบ สตูดิโอ โมเดล    หรือ Project-Based Learning    ว่าที่คณะสถาปัตย์จุฬาฯ จัดการเรียนการสอนแบบนี้มาตั้งแต่ก่อตั้ง    

เอามาอ่านใหม่ทั้งข้อเขียนของคุณวินทร์  และบันทึกของผม หลังเขียนบันทึกนั้น ๙ ปีเต็ม     มาถึงช่วงนี่วงการศึกษายิ่งให้ความสำคัญต่อการพัฒนาความสร้างสรรค์ยิ่งขึ้นไปอีก     แต่วงการศึกษาไทยใช้ศิลปะช่วยน้อย    ยิ่งอารมณ์ขันยิ่งไม่มีคนพูดถึงเลย    

อารมณ์ขันใช้มากในศิลปะการแสดง     และนิสิตคณะสถาปัตย์จุฬาฯ ก็ฝึกซ้อมอารมณ์ขันด้วยศิลปะการแสดงที่เป็นกิจกรรมนอกหลักสูตร    ทำให้ผมคิดว่า ทุกโรงเรียนควรส่งเสริมให้นักเรียนมีชมรมศิลปะการแสดง     ที่จัดแสดงละครที่มีมุขตลกด้วย    เพื่อให้เด็กได้ฝึกความคิดสร้างสรรค์     เอามาเสนอไว้เผื่อมีคนเอาไปทำต่อ 

วิจารณ์ พานิช    

๑ ม.ค. ๖๓


หมายเลขบันทึก: 674751เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2020 18:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มกราคม 2020 18:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท