เปลี่ยนโฉมการวิจัยของมหาวิทยาลัย



วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ผมไปเป็นประธานการประชุมคณะทำงานคลังสมองยุทธศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์    ที่การประชุมจบลงอย่างชื่นมื่น    ทีมงานที่นำเสนอ “ยุทธศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕” ได้แก่ท่านอธิการบดี ผศ. ดร. นิวัติ แก้วประดับ   รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ผศ. นพ. สุนทร วงษ์ศิริ    ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ศ. ดร. ธีระพล ศรีชนะ    และรองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและนโยบายสาธารณะ ผศ. ดร. พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ได้รับคำชมจากท่านนายกสภามหาวิทยาลัย ศ. นพ. จรัส สุวรรณเวลา  และคณะทำงานจากกรรมการสภามหาวิทยาลัย รวมทั้งผม ต่างก็ชื่นชมใน ยุทธศาสตร์นี้

แต่เราก็มีข้อเสนอแนะมากมาย

 ที่ได้รับคำชมก็เพราะยุทธศาสตร์นี้มีเป้าหมายที่ทะเยอทะยาน    แต่ก็มีแผนดำเนินการที่น่าจะบรรลุได้    ที่สำคัญคือเป็นแผนเชิงรุก โจทย์วิจัยจากความต้องการของสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคใต้    ทำงานวิจัยทั้งเพื่อตอบโจทย์ด้านประยุกต์ใช้ (local issues)   และตอบโจทย์ความก้าวหน้าของความรู้ของโลก (global knowledge)     เน้นความร่วมมือกับสารพัด engagement partners   

ส่วนที่ยังไม่ชัดคือ ความเชื่อมโยงกับบัณฑิตศึกษา     การเชื่อมโยงกับการศึกษาระดับปริญญาตรี ที่นักศึกษาเป็น co-creator    การลงทุน (ใช้เงินทุนของมหาวิทยาลัย ที่อาจเรียกว่า seed money) ริเริ่มงานวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยเพื่อใช้ผลงานเบื้องต้นเป็น “สินทรัพย์” หาหุ้นส่วนวิจัยในภายหลัง    การสร้าง mindset, platform และวัฒนธรรมการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นในลักษณะหุ้นส่วน (engagement partner) ไม่ใช่ในลักษณะผู้ให้ความช่วยเหลือ    

ข้อท้าทายคือ ทำอย่างไรจะให้บุคลากรส่วนใหญ่เข้าใจความจำเป็นที่จะต้อง transform ระบบวิจัยในครั้งนี้    และเข้าร่วมดำเนินการอย่างจริงจังแข็งขัน   

ข้อเสนอแนะของที่ประชุมคือ ท่านนายกสภาฯ แนะให้สื่อสารกับคนภายในมหาวิทยาลัยโดยใช้ shock technique   ให้เห็นว่าหากไม่เปลี่ยนแปลงใหญ่ มอ. อยู่ไม่ได้    และจะกระทบชีวิตการทำงานของสมาชิกทุกคน    ไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากช่วยกันดำเนินการเปลี่ยนแปลงคนละไม้คนละมือ    ท่านแนะให้จัดทำข้อเสนอยุทธศาสตร์นี้เป็นหนังสือ                   

วิจารณ์ พานิช

๑๗ พ.ย. ๖๒

  

หมายเลขบันทึก: 673772เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2019 17:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 ธันวาคม 2019 17:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท