ชีวิตที่พอเพียง 3581. ลอนดอน ๒๕๖๒-๒ : ๗. เรียนรู้ปัจจัยด้านเทคโนโลยี


ได้รู้จัก GIHT (Global Initiative on Health Technologies) (2) ขององค์การอนามัยโลก และในการประชุม PMAC 2021 จะเป็นโอกาสให้ได้พูดคุยกันเรื่องการนำหลักการสู่ภาคปฏิบัติ

ชีวิตที่พอเพียง 3581.  ลอนดอน๒๕๖๒-๒  : ๗. เรียนรู้ปัจจัยด้านเทคโนโลยี

๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๒  ประชุมเตรียมจัดPMAC 2021 วันที่ ๑

เอกสาร Concept Note ของ Subtheme 3 : Change in technology    สำหรับใช้เตรียมจัดประชุม PMAC2021 : The Global Health in the SDG Era fromwords to action    บอกว่าการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ไอซีที ในองค์กรอุตสาหกรรมสุขภาพล้าหลังอุตสาหกรรมอื่นๆเป็นสิบปี    เนื่องจากสารพัดปัจจัย    การประยุกต์ใช้ทางบริการสุขภาพมักริเริ่มโดยบุคลากรในระบบไม่ใช่โดยองค์กร    และยกตัวอย่างความก้าวหน้าของการใช้เทคโนโลยีไอซีที ด้านบริการสุขภาพ ได้แก่

·  Electronic medical records

·     Supply chain innovation

·     Internet of Medical Things

·     Artificial Intelligence

·     Drone for medical deliveries

·     Big data

·     Wearables

·     Precision medicine

·     Genomics

·     Point-of-carediagnostics

·     Decision support tools

·     Telemedicine and Telecare

·     Payment/billing/performance management  

ความก้าวหน้าเหล่านี้มีความเหลื่อมล้ำ    คือก้าวหน้ามากในประเทศรวย    ประเทศยากจนยังได้รับประโยชน์น้อย    และมีโอกาสที่จะถูกฉกฉวยผลประโยชน์จากธุรกิจอย่างไม่เป็นธรรม    ในการประชุมเมื่อวันที่ ๒๔ และ ๒๕ ตุลาคมจึงมีการย้ำเรื่อง ELSI (ethical, legal, socialand security implication) ของการใช้ไอซีทีด้านสุขภาพ   ซึ่งหมายรวมประเด็นความเป็นส่วนตัวของข้อมูล   

ผมได้รู้จัก The LancetCommission on Technologies for Global Health (1) ที่เผยแพร่ตั้งแต่ปี 2012   

เอกสาร Concept Note ระบุตัวอย่างการใช้ ไอซีที ใน Global Health อย่างได้ผลดีคือในการยับยั้งการระบาดใหญ่ของโรคอีโบลา ในปี 2016    โดยใช้สมาร์ทโฟนในการให้คนในชุมชนรายงานข้อมูลการระบาด   และทางระบบสุขภาพใช้ให้คำแนะนำวิธีป้องกัน    

หัวใจสำคัญอยู่ที่การใช้อย่างคุ้มค่า    กิจกรรม HTA (Health Technology Assessment) จึงมีความสำคัญยิ่ง   โชคดีที่ประเทศไทยกิจกรรมนี้มีความเข้มแข็ง   

ผมได้รู้จัก GIHT (GlobalInitiative on Health Technologies) (2) ขององค์การอนามัยโลก   และในการประชุม PMAC 2021  จะเป็นโอกาสให้ได้พูดคุยกันเรื่องการนำหลักการสู่ภาคปฏิบัติ   

ผลการประชุมกลุ่มของกลุ่มนี้ได้ข้อเสนอเป็นรูปธรรมมาก    เสนอหัวข้อของ Plenary  และParallel Session อย่างเป็นรูปธรรมคือ

Plenary : เทคโนโลยีจะช่วยการบรรลุเป้า SDG ในปี 2030 ได้อย่างไร :   แนวโน้มของเทคโนโลยีด้านบริการสุขภาพ  โอกาสและความท้าทาย

PS 1 :  ความท้าทายต่อรัฐบาลและองค์กรช่วยเหลือด้านการเงินโลกต่อการพัฒนาระบบสุขภาพในการนำและเอื้ออำนาจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี   รวมทั้งแนวทางให้ทุนเพื่อขยายเทคโนโลยีที่มีลำดับความสำคัญสูง

PS 2 : จะส่งเสริมอย่างไร ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่ในเทคโนโลยีด้านสุขภาพ    โดยที่มีการปกป้องความปลอดภัย (safety), ความเป็นส่วนตัว (privacy), และความมั่นคง (security) ของข้อมูล

PS 3 : เทคโนโลยีจะช่วยลดความไม่เท่าเทียมกันในการได้รับบริการสุขภาพได้อย่างไร

PS 4 : จะส่งเสริมการขยายตัวของเทคโนโลยีที่ดีกว่าเพื่อการบรรลุเป้าหมาย SDG ได้อย่างไร

กลุ่มนี้เสนอประเด็นเชื่อมโยงกับ Subtheme อื่นดังนี้

·     ความไม่เท่าเทียมในโอกาสใช้ประโยชน์เทคโนโลยีในผู้สูงอายุ(Demography)

·     เทคโนโลยีก่อของเสียหรือช่วยลดของเสีย (Environment)

·     บทบาทของบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีในด้านความเป็นส่วนตัวและด้านความมั่นคง (Geopolitics)

จะเห็นว่า เมื่อสวมหมวกคิดซับซ้อน  มีเรื่องให้ถกเถียงกันได้มากใน PMAC Meeting 

วิจารณ์ พานิช

 ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๒  

หมายเลขบันทึก: 673604เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2019 07:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ธันวาคม 2019 07:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท