สิ่งแวดล้อมผ่านสายตานักศึกษากิจกรรมบำบัด


                  สิ่งแวดล้อม...คำที่ทุกคนรู้จักและคุ้นหูกันเป็นอย่างดีในความหมายของสิ่งต่าง ๆ ที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพที่อยู่รอบตัวมนุษย์ ทั้งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น แต่ในทางกิจกรรมบำบัดนั้น การมองสิ่งแวดล้อมจะมีความหมายและความลึกมากกว่านั้น โดยในทางกิจกรรมบำบัดมักจะใช้คำว่า “บริบท” หรือ context ในการพูดถึงสิ่งแวดล้อมที่มีความสัมพันธ์ต่อบุคคลและมีความสำคัญต่อบทบาทชีวิตของบุคคลๆหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจง 

                  ในคาบเรียนหนึ่ง หากคุณได้โจทย์ ให้มองออกไปนอกหน้าต่างห้องเรียนแล้วจดบันทึกสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตอย่างละ10 อย่าง ในระยะเวลาๆหนึ่ง ขั้นตอนการทำงานก็เป็นไปอย่างง่าย เพียงใช้ร่างกายเคลื่อนไปใกล้หน้าต่าง ใช้ตาสังเกตสิ่งต่างๆภายนอกหน้าต่างนั้น อาจจะมองใกล้บ้างไกลบ้าง เพื่อให้ได้จำนวนตามที่โจทย์กำหนด แต่การเป็นนักเรียนกิจกรรมบำบัดนั้น การมองออกไปหาจำนวนสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ไม่ใช่แค่การทำตามโจทย์ที่ได้ แต่เป็นหนึ่งในการเรียนรู้ที่จะฝึกฝนให้เป็นคนช่างสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัวให้เก่งขึ้น เพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์แผนการทำ intervention ในอนาคต ซึ่งถือเป็นหนึ่งในทักษะที่นักกิจกรรมบำบัดพึงมี

จากโจทย์การสังเกตสิ่งแวดล้อมนอกหน้าต่างห้องเรียน นำมาสู่การเข้าสู่บทเรียนเกี่ยวกับ กรอบการทำงาน EHP หรือThe Ecology of Human Performanece Framework. ซึ่งเป็นกรอบการทำงานที่ให้ความสำคัญกับการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถของบุคคลๆหนึ่งกับบริบทรอบตัวเขา ที่ต่างส่งผลซึ่งกันและกันอย่างซับซ้อน

โดยกรอบการทำงาน EHP จะแบ่งเป็นองค์ประกอบต่างๆได้ดังนี้

  1. Person คือตัวบุคคลที่มีความเฉพาะเจาะจง ซึ่งต่างมีประสบการณ์ชีวิต ทักษะ และความสามารถที่แตกต่างกันออกไป โดยจะขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม บริบทที่สัมพันธ์กับบุคคลนั้น
  2. Context หรือ บริบท สามารถเป็นได้ทั้ง ความเชื่อ สถาที่อยู่อาศัย ช่วงระยะเวลาที่มีความสำคัญกับบุคคลนั้นรวมถึงสภาพสังคม โดยcontextและpersonนั้นจะส่งกระทบซึ่งกันและกันอยู่เสมอ
  3. Task หรือ Capacities คือ การทำงานที่ต้องใช้ทักษะและความสามารถ หรือ ประสบการณ์ชีวิตจากตัว person เพื่อพิชิตเป้าหมายและ ใช้ประโยชน์จาก context ในการสนับสนุนการทำงานไปพร้อมๆกัน
  4. Performance คือ ความสามารถในการทำงาน โดยแต่ละคนจะมี ช่วงความสามารถ ( performace range ) ต่างกันไปขึ้นอยู่กับประสบการณ์ในอดีตและความเอื้ออำนวยของบริบท

จากการศึกษาเกี่ยวกับ หลักการของ EHP framework แล้ว การทำกิจกรรมของนักกิจกรรมบำบัดนั้นจะต้องไม่สูญเปล่า ต้องนำกิจกรรมมาประยุกต์ให้เกิดความหมาย ดังนั้นจากกิจกรรมสังเกตสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต จึงถูกนำมาต่อยอดเป็นกิจกรรมกลุ่มต่อมา คือ การนำคำทั้ง20คำนั้นมาใช้ในการทำงาน (Task) แบ่งเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่

 Task 1 : แต่งกลอน

Task 2 : แต่งเพลง 

Task 3 : แต่งสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ 

โดยทั้ง 3 งานนี้ ต้องถูกนำมาทำในรูปแบบวิดีโอความยาวไม่เกิน3นาที และเสร็จภายในระยะเวลาเพียง44นาทีเท่านั้น

การทำงานกลุ่มได้เริ่มขึ้นทันทีเมื่อได้รับโจทย์มา ฉันและเพื่อนร่วมเดือนเกิดอีกสองคน ได้ทำการแบ่งหน้าที่ไปตามความถนัดและทักษะที่ตนเองมีความมั่นใจ รวมไปถึงการใช้ประสบการณ์ในวัยมัธยมที่ผ่านมา ส่วนงานที่ฉันเลือกทำคือ  Task 3 การแต่งและพูดสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ ฉันได้นำศัพท์คำว่า “ฝุ่น” จากกิจกรรมสังเกตมาใช้ในการแต่งฉันเขียนสุนทรพจน์เกี่ยวกับสภาพอากาศที่เป็นมลพิษ เนื่องจากฝุ่นละอองpm2.5 ได้ดังนี้

“This becomes such a good honor for me to have a speech about health promotion and prevention as an Occupational therapy student. 


Since I have studied an Ecology of Human Performance or EHP model, 

I learned how to be more observant following the purpose of EHP model. 

I noticed outside the class’s window. I saw birds flying through the hazy sky. The sky is grey due to the high level of tiny particles called PM2.5.  

PM2.5 are harmful since they are able to travel deeply into the respiratory tract, reaching the lungs.

When outside levels of PM2.5 are elevated. There are some ways to reduce exposure are to limit indoor and outdoor activities that can produce fine particles and avoid doing activities in areas where the particles level are high. 

Also you can wear the earloop masks which are made specifically for prevent the tiny sizes of PM2.5, for example, a N95 mask. 

Thank you.”

นอกจากนี้ภายในกลุ่ม เรายังได้ช่วยกันระดมความคิดเกี่ยวกับประเด็นที่เราจะพูดถึง ทั้งในกลอน เพลง และสุนทรพจน์ จนได้ข้อสรุปว่าจะเป็นประเด็นเกี่ยวกับสภาพอากาศและท้องฟ้า อีกทั้งเรายังได้ช่วยกันแก้ไขส่วนที่ติดขัดและปัญหาในงานของเพื่อนร่วมกลุ่มด้วย 

การได้ทำงานกลุ่มภายใต้โจทย์ที่ท้าทายความสามารถในระยะเวลาอันจำกัดนั้น ถือเป็นหนึ่งในประสบการณ์ชีวิตที่แปลกใหม่ สำหรับนักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่1อย่างฉันมาก 


โดยจากประสบการณ์ในครั้งนี้ จะสามารถจำแนกการทำงานของทักษะร่างกายได้เป็นหัวข้อย่อยได้อีก 3 ส่วน ดังนี้

  1. Sensorimotor คือการรับรู้ความรู้สึกและการแสดงออกมาเป็นขั้นตอนต่างๆ

 1.1 Visual - การมองเห็นสิ่งต่างๆที่อยู่นอกหน้าต่างห้องเรียน

1.2 Laterality - การใช้มือขวาเขียนจดบันทึก

1.3 Visual-motor integration - การเดินไปสังเกตสิ่งต่างๆบริเวณหน้าต่างและจดบันทึก

1.4 motor control - การควบคุมร่างกายให้อยู่นิ่งในขณะที่ถ่ายทำวิดีโอ 


2. Cognitive - ความสามารถในการรับรู้และเข้าใจของสมอง

    2.1 Level of arousal - ความตื่นตัวในการวางแผน แบ่งงาน และลงมือทำทันทีหลังจากได้รับโจทย์

    2.2 Orientation - การรับรู้ว่าตนเองเกิดเดือนอะไรและต้องไปอยู่กลุ่มเดียวกับใคร / การรู้ว่าตนเองอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องทำงานเป็นกลุ่มในระยะเวลาอันสั้น

    2.3 Recognition - การรับรู้ว่าสิ่งที่มองเห็นคือ นก ท้องฟ้า ฝุ่น ฯ

    2.4 Attention span - มีสมาธิจดจ่อกับ taskที่ตนได้รับ ภายในระยะเวลาการเตรียมตัวก่อนอัดวิดีโอ / การมีสมาธิจดจ่อในการพูดสุนทรพจน์

    2.5 Initiation and Termination of activity - การรู้ว่าควรลงมือทำทันทีที่ได้รับโจทย์และรู้ว่าต้องหยุดทำscriptก่อนครบ44นาทีเพื่อจะได้ทันอัดคลิปวิดีโอ

    2.6 Memory - สามารถระลึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในห้องเรียนได้ก่อนนำมาเขียน blog

    2.7 Sequencing - มีการจัดลำดับความคิดโดยมีการแบ่งงานตามความถนัดก่อน แล้วจึงร่างscript และมีการจัดลำดับการพูดก่อน-หลังในคลิปวิดีโอ

    2.8 Problem solving - รู้จักการแก้ปัญหาเมื่อไม่สามารถนึกคำศัพท์ภาษาอังกฤษได้ก็เปิดdictionary และให้เพื่อนช่วย / ช่วยเสนอประเด็นให้เพื่อนเอาไปแต่งกลอน

    2.9 Learning - เกิดความเรียนรู้เกี่ยวกับการหาข้อมูลในinternetเกี่ยวกับ pm2.5เป็นภาษาอังกฤษ / เกิดการเรียนรู้การทำงานเป็นทีม การใช้brainstorming ในการเลือกหัวข้อ

    3. Psychological คือ ความสามารถในการควบคุมอารมณ์และการมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม

      3.1 Values - การให้คุณค่ากับเรื่องการดูแลสุขภาพ ทำให้มีการนำเรื่องมลพิษทางอากาศมาเป็นหัวข้อในสุนทรพจน์ที่ให้ประโยชน์ส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้อื่น

      3.2 Coping skills - สามารถจัดการความเครียดในการทำงานได้ โดยการจัดการงานอย่างเป็นขั้นตอน รู้จักการมองความผิดพลาดให้เป็นเรื่องสนุกและหาทางแก้ไขใหม่

      3.3 Time management - สามารถทำงานได้ตรงตามจุดประสงค์ของการเสริมสร้างสุขภาพและป้องกันโรคให้แก่ผู้อื่น( Health promotion & prevention ) ภายในระยะเวลาที่กำหนด 

      3.4 Self-control - สามารถควบคุมตนเองให้มีสมาธิจดจ่อในการทำงาน และรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนในกลุ่มได้รวมถึงให้คำแนะนำ ช่วยเหลือเพื่อนเมื่อเพื่อนต้องการ


      หากมีข้อผิดพลาดประการใด ผู้เขียนกราบขออภัยมา ณ ที่นี่ด้วยค่ะ

      ขอขอบพระคุณค่ะ

      หมายเลขบันทึก: 673036เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2019 01:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2019 01:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


      ความเห็น (0)

      ไม่มีความเห็น

      พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
      ClassStart
      ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
      ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
      ClassStart Books
      โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท