E22PAB
ว่าที่ร.ต. วีระพงษ์ สิโนรักษ์

นายวีระพงษ์ สิโนรักษ์ (ครั้งที่45)


ครั้งที่ 45

     วันนี้มีการถ่ายทำของสาขาวิทยาศาสตร์  ระดับประถมศึกษาคล้ายเมื่อวาน  เพียงแต่วันนี้เป็นการทดลองใช้แผนการสอนเรื่องดิน  กับเด็กระดับ ป.3  การถ่ายทำในวันนี้เป็นการถ่ายทำนอกสถานที่  เมื่อพูดถึงการถ่ายทำนอกสถานที่  ช่างภาพหลายคน (โดยเฉพาะภาพเคลื่อนไหว)  คงต้องรีบตั้งสติแล้วคิด..คิด..คิด  ถึงแผนการที่จะเตรียมการถ่ายทำ  แล้วยิ่งมีข้อมูลในการถ่ายครั้งนั้นมากเท่าไรก็ยิ่งเป็นประโยชน์ต่อการถ่ายทำมากขึ้นเท่านั้น  สิ่งแรกที่ผมคิดเกี่ยวกับการถ่ายทำนอกสถานที่ในครั้งนี้เมื่อเห็นตารางการถ่ายทำและทราบว่าเป็นนอกสถานที่ก็คือ  เรื่องของระยะเวลาที่ต้องเปิดกล้องบันทึกเทป  หรือเรื่องของพลังงานไฟฟ้าที่จะนำมาเลี้ยงกล้องให้ทำงาน  ว่าจะตลอดลอดฝั่งหรือเปล่า  เราจะต้องต่อสายไฟเข้ากับปลั๊กมั้ย  แล้วจะหาได้จากที่ไหน  สถานที่ถ่ายอยู่กลางสนามบอล  นี่เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ช่างภาพทุกคนรวมถึงนักศึกษาฝึกงานอย่างผมด้วย  คือต้องเริ่มคิดวางแผนเมื่อได้รับการมอบหมายงานมาและได้รับรู้เกี่ยวกับลักษณะและสถานที่การถ่ายทำ

     การประสานงานเพื่อขอข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน  เพราะจะทำให้เราทราบรายละเอียดของงานในแต่ละครั้งเพื่อเตรียมการวางแผน  (เข้าตำรา 3 P ขั้นที่1 ของงาน Production ทั่ว ๆไป  คือ เตรียมการวางแผน  หรือ Pre-Production)  และผมก็ได้รับคำตอบในการทำงานว่าถ่ายทำ 1 คาบเรียนเหมือนเมื่อวาน  กินเวลา 1 ชม.  และผมก็กลับมาเช็คแบตเตอรี่ซึ่งแสดงข้อมูลว่ามีไฟเหลือใช้งานได้ถึง 300กว่านาที  ซึ่งงาน 1 ชม.  มีเพียงแค่ 60นาที  หลายคนคงคิดว่าสบายๆ  ใช่ครับสบายแน่ถ้าแบตเตอรี่ไม่มีปัญหา  ผมจึงเตรียมแบตเตอรี่ไปอีก 1 ก้อน เพื่อกันปัญหาที่คาดไม่ถึงอาจเกิดขึ้นได้ 

     เรื่องการเตรียมการเกี่ยวกับการใช้งานกล้องก็เรียบร้อยแล้ว  และถึงตอนนี้เมื่อประเด็นต่าง ๆ ได้รับคำตอบและมีข้อมูลครบ  สิ่งที่ตามมาก็คือการเตรียมอุปกรณ์  ผมนำกล้อง Sony DVCAM มาตรวจสอบการทำงานต่างๆว่าเป็นปกติหรือไม่  เตรียมม้วนเทป 1 ม้วน สำหรับถ่ายทำ 1 ชม.  แบตเตอรี่แพค 2 ก้อน  และที่ขาดไม่ได้คือขาตั้ง  ซึ่งผลจากการได้มาฝึกงานที่สสวท.  และที่ช่อง 7ในส่วนงานช่างภาพ  ทำให้ได้รับคำตอบเรื่องการเตรียมอุปกรณ์ขาตั้งกล้อง  ว่าจะนำไปด้วยดีหรือไม่
ถ้าใครไม่เชื่อลองสังเกตนักศึกษาที่เรียนเกี่ยวกับการถ่ายทำ  หรือคนที่เพิ่งเริ่มต้นสัมผัสงานด้านนี้  ทุกครั้งที่มีการเตรียมอุปกรณ์จะต้องมีคำถามว่า  "ขาตั้งล่ะครับ/คะ  เอาไปมั้ย" (วึ่งใหม่ๆผมก็เคย)

    จากประสบการณ์ทำให้ได้คำตอบคือ  เอาไปเถอะครับขาตั้ง  เหลือดีกว่าขาด  ถ้าไม่ได้ใช้ก็วางไว้เฉยๆ  แต่ถ้าถึงจังหวะต้องใช้แล้วไม่มีนี่ซิ  เหล่าบรรดาช่างภาพ (มือใหม่) ทั้งหลายก็จะโชว์ฝีกมือโปร  มือนิ่งไม่สั่นไหวกันทั้งนั้น  ทั้งๆที่เรื่องมันไม่น่าจะต้องมาลำบากหรือว่าเอางานถ่ายทำครั้งนั้นเข้าไปเสี่ยงเลย  จริงมั้ยครับ

    อ้อ..ลือไปครับ  อุปกรณ์ด้านเสียง  นั้นก็คือไมค์ไร้สายและหูฟังครับ  และนี่ก็เป็นประสบการณ์ในการทำงานนอกสถานที่ของผมในวันนี้ 
เตรียมตัวให้พร้อม  ประสานงานให้แน่นอน  อุปกรณ์ต้องครบ  เท่านี้งานของเราก็จะออกมาดีไปกว่าครึ้งแล้วครับ  อ้อ!!... อีกอย่างนะครับ  สำหรับงานนอกสถานที่ก็คือ  เรื่องของเสียงแวดล้อมในขณะที่ถ่าย  ถ้ามีเวลาไปดูสถานที่ก็ไปเถอะครับ  แต่ถ้าไม่มีเวลา  ก็เตรียมอุปกรณ์ประเภทเสียงอย่างไมค์โครโฟนให้ถูกประเภทตามลักษณะการใช้งานนะครับ  จะช่วยได้เยอะ

คำสำคัญ (Tags): #ครั้งที่45
หมายเลขบันทึก: 66992เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2006 16:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท