พัฒนาวิชาชีพอาจารย์


สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ควอท. – ThailandPOD)  จัดการประชุม Retreat ที่ชะอำ ระหว่างวันที่ ๖ - ๗ กรกฎาคม ๒๕๖๒    ผมได้รับเชิญเข้าร่วมด้วย ในฐานะที่ปรึกษาของคณะกรรมการสมาคม

เป็นงานที่ทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมหรือประโยชน์สังคม ในฐานะ “ภาคประชาสังคม”    หรือภาคที่ไม่เป็นทางการ    แต่ก็มีฐานะทางกฎหมาย คือเป็นนิติบุคคล   

ภารกิจสำคัญอย่างหนึ่งของ ควอท.   คือการจัดการประชุมปฏิบัติการ ฝึกวิทยากรแกนนำในการพัฒนาสมรรถนะด้านการเรียนการสอน  ตามแนว UKPSF  

ผมมองว่า สมรรถนะวิชาชีพอาจารย์ในยุคนี้ น่าจะเป็น สมรรถนะเชิงบูรณาการ    คือบูรณาการหน้าที่หลัก ๔ ด้าน (สร้างคน  สร้างความรู้  พัฒนาสังคม  และจรรโลกคุณงามความดี) เป็นหนึ่ง (4=1)  เชื่อมโยงกันด้วยการทำงานเป็นหุ้นส่วนกับภาคีภาคชีวิตจริง(real sector engagement)   

สมรรถนะของอาจารย์มหาวิทยาลัยในศตวรรษที่ ๒๑   หรือของ “มหาวิทยาลัย ๔.๐”     ในความเห็นของผม คือ สมรรถนะในการทำงานสร้างพลังวิชาการร่วมกับหุ้นส่วนในภาคชีวิตจริง    ดังเสนอในบันทึกลงวันที่ ๑๓ กรกฎาคมที่ผ่านมา    โดยมีรายละเอียดในการปาฐกถานำของผมเรื่อง เปลี่ยนโฉมอุดมศึกษา ท้าทาย ควอท.    ซึ่งดู Ppt ประกอบการบรรยายได้ที่ ()   และฟังเสียงบรรยายได้ที่ 

audio part 1

20190815153249.m4a

audio part 2

20190815153641.m4a

การประชุมดำเนินไปแบบระดมความคิดอย่างกว้างขวาง    ในเรื่องบทบาทของอุดมศึกษาต่อบ้านเมือง และบทบาทของ ควอท. ต่อการ transform อุดมศึกษาไทย    ในสภาพที่ ควอท. มีกำลังจำกัด   

ในที่สุดนายกสมาคม (รศ. ดร. บัณฑิต ทิพากร) ก็สรุปได้ว่า จะยังคงใช้ Vision & Mission Statement เดิม ()    โดยทำงานให้เกิด impact ชัดเจนยิ่งขึ้น    จับเครื่องมือเดียวคือ PSF   หาทางให้มหาวิทยาลัยสมาชิกเป็นเจ้าภาพจัดงานที่มีความสำคัญ    และบูรณาการแนวความคิด 4=1   และจัดการเรียนการสอนโดยให้นักศึกษาเป็น co-producer ปฏิบัติงานเพื่อเรียนรู้แบบ project-based learning ในสถานประกอบการ 

หัวข้อของบันทึกนี้ ว่า “พัฒนาวิชาชีพอาจารย์” ซึ่งมีความซับซ้อน    เช้าวันที่ ๗ กรกฎาคม ที่ประชุมระดมข้อมูลเรื่องสถานการณ์ในสถาบันอุดมศึกษา    ที่เป็นบริบทสภาพแวดล้อมของอาจารย์ หรือของการพัฒนาอาจารย์ หรือการหนุนให้อาจารย์ได้พัฒนาตนเองอย่างได้ผล    และช่วยกันปรับปรุงเป้าหมายการทำงานของสมาคม    ได้เป็น ๓ ข้อ ดังต่อไปนี้

  1. 1. สนับสนุนการพัฒนานโยบายและระบบการพัฒนาอุดมศึกษา ด้วยการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์    โดยบูรณาการภารกิจหลักทั้ง ๔ ด้าน ในการสร้างคน เพื่อเป็นกำลังของประเทศ
  2. 2. สร้างเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษา    ทั้งในระดับประเทศ และระหว่างประเทศ
  3. 3. พัฒนาการให้บริการ เพื่อตอบสนองความต้องการการพัฒนาสมรรถนะของสมาชิก    ทั้งระดับสถาบันและบุคคล

ในความเห็นของผม  ขั้นตอนต่อไปคือ การนำเป้าหมายทั้ง ๓ ไปคิดยุทธศาสตร์เชิงรุกในการดำเนินการ

วิจารณ์ พานิช

๗ ก.ค. ๖๒



1 จบวันแรกด้วยการถ่ายรูปหมู่ไว้เป็นที่ระลึก

2 ระหว่างบรรยาย

3 บรรยากาศในห้องประชุม

4 ถ่ายจากอีกมุมหนึ่ง

Edu 620706 from Pattie KB

หมายเลขบันทึก: 665580เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2019 15:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 สิงหาคม 2019 18:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

กราบ ขออนุญาต นำไปเผยแพร่ต่อครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท