ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

KM Thesis กับคุณลิขิตมือใหม่ ตอนที่1


การเสวนา KM Thesis ในงานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติครั้งที่ 3 เป็นการนำเสนอข้อมูลวิทยานิพนธ์ที่ใช้กระบวนการ KM ในการศึกษาถือเป็นนวัตกรรมใหม่ของวงการศึกษาไทย

สวัสดีครับ พี่น้องชาว GotoKnow 

จากผลการดำเนินงานการจัดมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติครั้งที่ 3 ที่มี สคส. เป็นหัวเรือใหญ่ นับว่าประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดียิ่งครับ แต่ที่น่าประทับใจมากคือ เกิดนวัตกรรมใหม่ในวงการศึกษาไทยที่ได้นำ KM มาเป็นเครื่องมือในการทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะได้องค์ความรู้ใหม่ให้เกิดขึ้นกับการพัฒนาอย่างแท้จริง

และผมต้องขอโทษเป็นอย่างสูงยิ่งครับ ที่ได้นำเสนอผลการเสวนาเรื่อง KM Thesis  ค่อนข้างล่าช้า เนื่องจากเป็น คุณลิขิต มือใหม่หัดขับ ครับ หากท่านจะกรุณาให้ข้อเสนอแนะในการบันทึก  ผมขอน้อมรับด้วยความยินดียิ่ง และขอขอบคุณ ณ โอกาสนี้ครับ

ผลการเสวนามีดังนี้ครับ

ผู้ดำเนินรายการ : ดร.ยุวนุช ทินนะลักษณ์ นักวิชาการอิสระ

วิทยากร : 1. รศ.ดร.อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

                 2. อาจารย์ประศักดิ์ หอมสนิท จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

                3. อาจารย์ดร.อนุสรณ์ ณ อุบล มหาวิทยาลัยรังสิต

วิทยากรร่วม :

        1.อาจารย์ ดร.ถาวร พงษ์พาณิชย์ นศ..เอก มหาวิทยาลัยแม่โจ้

        2. อาจารย์ ดร.วรวรรณ วาณิชย์เจริญชัย นศ..เอก จุฬาลงกรณ์

           มหาวิทยาลัย

      3.อาจารย์ถิรชา วิเชียรปัญญา นศ..เอก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

      4. อาจารย์พรพิมล ภิรมย์โชค นศ..เอก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

     5. คุณธันยพร วณิชฤทธา นศ..โท มหาวิทยาลัยศิลปากร

เริ่มเสวนา : เวลา 11. 00 .

การจัดการความรู้ (Knowledge Management – KM) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนางานและการสร้างความรู้ในองค์กรที่กำลังเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย และในปัจจุบันได้เริ่มมีการนำมาใช้ในการทำวิจัย และวิทยานิพนธ์ (Research & Thesis) มากยิ่งขึ้น แต่สำหรับในการที่จะนำ KM มาใช้ในการทำวิทยานิพนธ์ (Thesis) นั้นยังไม่ได้มีการพูดคุยและกำหนดขอบเขตว่าจะนำ KM มาใช้ในระดับใดมากนัก จึงนับได้ว่างานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติครั้งที่ 3 ซึ่งจัดโดยสถาบันการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) เป็นการสร้างมติใหม่ของการศึกษาไทย

KM ในสถาบันการศึกษา

การนำ KM และ LO มาใช้สอนในสถานศึกษานั้นได้เริ่มมีการเรียนการสอนมาค่อนข้างนานแล้ว เช่นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีสอนมาแล้วประมาณ 8 ปี ตั้งแต่ Marquat มาเมืองไทย โดยในช่วงแรกให้นักศึกษาได้ทำเป็น Project & Strategic ในรายวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับการศึกษาในสังคมสารนิเทศ แล้วต่อมานิสิตเริ่มสนใจในการเอาแนวคิดต่างๆเหล่านี้ไปทำเป็นวิทยานิพนธ์ เนื่องจากคนเหล่านั้นเห็นความสำคัญ เห็นประโยชน์ ของการจัดการความรู้ว่าเป็นประโยชน์ต่อตนเองและหน่วยงาน ในปัจจุบันนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับ KM และ LO ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่วนมากจะเป็นนิสิตที่อยู่ในคณะมนุษย์ศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา เพราะว่าจะมองไปถึงการนำไปพัฒนาทรัพยากรบุคคล และภาควิชาการวิจัยการศึกษา เริ่มที่จะมีการนำ KM ไปใช้เพื่อศึกษาปัจจัยตัวบ่งชี้ต่างๆ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูงของหน่วยงาน

KM Thesis นำมาใช้อย่างไร

ในการนำ KM มาใช้ในงานวิจัย หรือวิทยานิพนธ์นั้นส่วนใหญ่จะมีวัตถุประสงค์เพื่อ

    1. การใช้ประโยชน์ เป็นการนำผลที่ได้จากการศึกษาไปแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งที่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับครอบครัว องค์กรหรือหน่วยงาน ชุมชน และสังคม เป็นต้น เพื่อจะได้นำแนวทางไปใช้แก้ไขปัญหาดังกล่าว

     2.เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ โดยการนำ KM มาเป็นเครื่องมือ ซึ่งวิธีการนี้จะเน้นที่วิธีคิด และแนวคิด เป็นสำคัญในการที่จะสร้างองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมาได้อย่างไรซึ่งจะต้องสร้างเครื่องมือขึ้นมาเพื่อจะวัดความสำเร็จให้เห็นชัดเจน หากระบวนการ (KPI) จะไม่ใช่การทำ KM เพื่อ KM

ขอบเขตของการนำ KM มาใช้ในการทำวิทยานิพนธ์ (Thesis)

        ในการนำ KM มาใช้ในการทำวิทยานิพนธ์ หลายๆ สถาบันได้เริ่มมีการนำ KM มาใช้ในการทำวิทยานิพนธ์กันมากขึ้น สำหรับว่าจะเอาไปใช้ในลักษณะใดนั้นก็จะแตกต่างกันออกไป สำหรับมาตรฐานของการทำ Thesis ของนักศึกษานั้น คิดว่าแต่ละสถาบันก็จะมีความใกล้เคียงกัน โดยยึดเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้กำหนดดังนี้

1. ระดับปริญญาโท ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต

2. ระดับปริญญาเอก ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต

สำหรับความเข้มข้น และความลึกก็จะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละระดับของการศึกษา เช่น ปริญญาโทอาจจะไม่ลึกมาก แต่ปริญญาเอกต้องลึก และเข้มข้นมากกว่า ขึ้นอยู่ว่าใครจะเอา KM ไปใช้ในบริบทใด แต่ในเบื้องต้น นักศึกษาที่นำ KM ไปเป็นเครื่องมือนั้นน่าจะพิจารณาดังนี้

1. ระดับปริญญาโท ในระดับปริญญาโทนี้การนำ KM ไปใช้อาจจะเป็นการพัฒนา Model เช่นเดียวกันกับระดับปริญญาเอก แต่ไม่ต้องทดลอง แต่ ต้องมี Research Methodology และการต้องสร้าง Model ให้มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งในจุฬาก็เริ่มมีการศึกษามากขึ้น ในเวลานี้มีประมาณ 9 คน ที่ทำการพัฒนาวินัยตามคุณลักษณะของ Peter Senge โดยการศึกษาตาม Model ของผู้เชี่ยวชาญ เช่น ของ Delphi หรือ Focus Group หรืออาจเป็นการนำ Model ของคนอื่นมาพัฒนาต่อให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นก็ได้ หรืออาจจะเป็นการพัฒนาชุดฝึกอบรมเพื่อนำไปพัฒนาคุณลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่มีความเกี่ยวข้องกับ LO KM ซึ่งอาจจะมีการทดลองร่วมด้วยหากสามารถทำได้ และหากเป็นงานที่ไปเกี่ยวข้องกับงานทางด้านเทคโนโลยีและสามารถนำไปทดลองพร้อมมีหน่วยงานรับรองก็จะสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

2.ระดับปริญญาเอก เป็นการศึกษาในเชิงลึก โดยการสร้างหรือพัฒนา Model ขึ้นมาแล้วนำไปทดลองของจริงเพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่ขึ้นมา ซึ่งจะต้องเป็นการสร้างตัวแปร ตัวบ่งชี้ต่างๆ หรือไม่ก็เป็นการพิสูจน์ข้อสงสัยต่างๆ ว่าจะทำอย่างไรให้ได้ KM ที่มีคุณภาพ และต้องสอดแทรกความมีเอกลักษณ์ โดยต้องไม่ซ้ำของคนอื่น

การสร้างแรงบันดาลใจในการทำวิทยานิพนธ์

ในการทำวิทยานิพนธ์ด้านการจัดการความรู้ (KM & LO) สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะทำวิทยานิพนธ์ให้ประสบความสำเร็จนั้น คือ แรงบันดาลใจ ดังนั้นคนที่จะทำวิทยานิพนธ์ไม่ว่าจะระดับปริญญาโท หรือปริญญาเอกก็ตามสิ่งแรกต้องมีใจมาก่อน เพราะการทำ KM ไม่ใช่การทำเพื่อตัวเราอย่างเดียว ซึ่งเป็นการทำเพื่อองค์กร หรือหน่วยงานเป็นหลัก และในครั้งนี้ ดร.ยุวนุช และ รศ.ดร.อรจรีย์ ได้เชิญนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ด้านการจัดการความรู้ (KM) ทั้งที่จบการศึกษาแล้วและกำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาโท ปริญญาเอก จำนวน 5 ท่านมาร่วมเล่าแรงบันดาลใจ และทำวิทยานิพนธ์ด้านการจัดการความรู้อย่างไร ให้ผู้เข้าร่วมเสวนาฟังโดยเริ่มจาก

1. อาจารย์ถาวร พงษ์พาณิชย์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก นักศึกษาระดับปริญญาเอก ภาควิชาส่งเสริมการเกษตร คณะธุรกิจการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งเดิมทีเดียวมหาวิทยาลัยจะเน้นในเรื่องของการเกษตร แต่มาระยะหลังจะมีการปรับเปลี่ยนไปตามกระแส ซึ่งปัจจุบันค่อนข้างจะมีหลากหลายสาขามากขึ้น ตามศักยภาพของอาจารย์ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยได้เปิดทำการสอนด้านรัฐศาสตร์แล้ว

        สำหรับในการทำวิทยานิพนธ์ในครั้งนี้เนื่องจากผู้วิจัยมีอายุมากแล้วจึงใจร้อน ต้องการทำเลย ไม่ต้องรอการสร้าง Model ก่อน เป็นการลงมือปฏิบัติไปพร้อมๆ กัน (Learning by Doing) สำหรับแรงบันดาลใจครั้งแรกได้มาดูการจัดงานเรื่อง KM Thesis ซึ่งจัดโดยคุณหมอวิจารณ์ พานิช เมื่อประมาณ 4-5 ปีที่แล้ว จึงมีความเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ดี มีประโยชน์ จึงได้นำไปดำเนินการ อีกประเด็นหนึ่งก็คือว่าการจัดการความรู้ในเรื่องนี้จัดโดยคุณหมอวิจารณ์ พานิช ซึ่งท่านเป็นคนดี จึงเชื่อว่าสิ่งที่ท่านทำจะต้องเป็นเรื่องที่ดีเหมือนท่าน เสมือน "คถาพจน์ ตามแนวทางพระพุทธศาสนา"

   ลักษณะของวิทยานิพนธ์ เป็นวิทยานิพนธ์สหวิทยาการ เรื่อง "การพัฒนาชุดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความตระหนักในการอนุรักษ์ และฟื้นฟูป่าไม้ของเยาวชนในชุมชนเขาสมอแคลง" สำหรับทฤษฏีที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าประกอบด้วย ทฤษฏีการศึกษา ทฤษฏีการปรับพฤติกรรมมนุษย์ ทฤษฏีการเรียนรู้ และเนื้อหาด้านสิ่งแวดล้อมจะเน้นด้านวิทยาศาสตร์ และอื่นๆ อีกค่อนข้างมาก

    เครื่องมือที่สำคัญในการวิจัยในครั้งนี้ประอบด้วย 2 อย่างคือ KM และธรรมาภิบาล สำหรับการใช้ KM นั้น เป็นการจัดการความรู้ ที่เราเชื่อว่าคนที่จะพัฒนาความตระหนักในการพัฒนาป่าไม้นั้น ไม่ใช่คนเพียงกลุ่มเดียว ซึ่งจะมีทั้งทหารกองทัพภาคที่ 3 ครู ประชาชน นักเรียน ซึ่งจะมีทุกองค์กร เราเชื่อว่าทุกคนเป็นคนดีอยู่แล้ว และทีมเราเชื่อตามคำพูดของคุณหมอวิจารณ์ ได้กล่าวไว้ ว่าการทำ KM ไม่เป็นสูญยากาศ และหลักธรรมาภิบาล เนื่องจากเราดำเนินการเป็นลักษณะการบริหารป่าไม้ และทรัพยากรธรรมชาติ ดังนั้นต้องใช้หลักการบริหารบ้านเมืองที่ดี ต้องมีความโปร่งใส มีกฎกติกาอย่างไร กระบวนการมีส่วนร่วม เป็นต้น

      การปฏิบัติงาน จะเริ่มจากการสร้างเครื่องมือ เพื่อที่จะใช้วัดประสิทธิภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการฝึกอบรม การพัฒนางานคือ Knowledge Attitude Promoter (KAP) การทำชุดฝึกอบรมต้องศึกษาการพัฒนาชุดฝึกอบรมด้วย ซึ่งในการทำวิทยานิพนธ์ในครั้งนี้มีกรอบแนวคิดค่อนข้างหลากหลาย ทฤษฎีก็มีมาก ดังนั้นคนที่ทำการศึกษาจะต้องใช้หลายศาสตร์เข้าไปผสมผสานในการดำเนินการ หลังจากนั้นการใช้ KM และ ธรรมาภิบาล เราจะแบ่งออกเป็นช่วงๆ

KM ช่วงที่ 1 ได้แก่วิทยากร โดยเราเน้นในเรื่องของความหลากหลายซึ่งจะมีหลายกลุ่ม กลุ่ม ได้แก่ทหารจากกองทัพภาคที 3 ชาวบ้าน ชุมชน และนักเรียน ตามโมเดลปลาทู ของ สคส.โดยจะได้มา Share & Learn

KM ช่วงที่ 2 ได้แก่กลุ่มเยาวชน เพื่อมา Share & Learn เป็นการฝึกอบรมการเปลี่ยนพฤติกรรมที่ดี เน้นกิจกรรมที่สนุกสนานการละเล่นกิจกรรมให้เขาเห็นความสำคัญในการอนุรักษ์ป่าไม้

     ในการทำ KM นั้นตามโมเดลปลาทู ของ สคส. คนที่สำคัญที่สุด คือ คุณอำนวย หรือนักวิจัยนั่นเอง ซึ่งจะต้องแม่นทั้งในกรอบแนวคิด ทฤษฎี และอื่นๆ ว่าเราจะเดินไปทางไหน อย่างไร

และในกระบวนการทำ KM ต้องให้ความสำคัญกับทุกคน เพื่อสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้

2. ดร.ยุวนุช ทินนะลักษณ์ นักวิจัยอิสระได้เติมเต็มในการทำ KM ว่า ในการทำ KM นั้นเชื่อว่าหลายๆ คนทำอยู่แล้ว เพียงแต่ในเรื่องที่ตนทำนั้น เป็น KM หรือไม่ อย่างไร ซึ่งเป็นการทำ KM โดยไม่รู้ตัว ดังนั้น หากว่าเราคิดว่าจะทำอะไรก็สามารถทำได้เลย หลังจากนั้นนั้นเราสามารถไปสอบถามผู้รู้ และค้นคว้าเพิ่มเติม จึงนำข้อมูลต่างๆ เหล่านั้นมาอธิบายภายหลังก็ได้ว่าอะไรเป็น Process อยู่ตรงไหน อย่างไร

        แต่ในขณะเดียวกันสำหรับนักศึกษาที่จะทำ KM Thesis นั้น คนที่จะทำ KM เราต้องรู้ก่อนว่าปัญหาที่แท้จริงของเราคืออะไร อยู่ตรงไหน แล้วเราขาดตรงไหน เพื่อจะได้เติมเต็ม ที่สำคัญเราต้องจัดการกับตัวเราก่อนก่อนที่จะไปจัดการความรู้ ถ้าหากไม่อะไรเลย ก็จะไม่รู้ว่าจะเอาความรู้อะไรไปตอบคำถามของเรา ดังนั้นขั้นแรกเราต้องรู้ก่อนว่าเราขาดอะไรเพื่อจะได้ตามหาในสิ่งที่เราไม่รู้ และที่สำคัญต้องช่วยตนเองก่อน "โยโส นมัสสิกา" (Analytical Thinking)

2.1 ย้อนอดีตครั้นจะไปเรียนฝรั่งเศส เดิมเคยทีเดียวไม่ได้อยู่ในแวดวง KM เลย เพราะเรียนมาทางด้านนิเทศศาสตร์ การสื่อสารมวลชน แล้วมาทำงานด้านประชาสัมพันธ์ที่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เห็นปัญหาของหน่วยงานเยอะมากโดยเฉพาะในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ รัฐบาลได้เรียกผู้บริหารของหน่วยงานไปตำหนิว่าเมื่อเกิดวิกฤติปัญหาแล้วไม่สามารถนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปแก้ปัญหาได้โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ ดังนั้นรัฐบาลจึงมอบหมายให้หน่วยงานได้เร่งหาแนวทางในการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นด้าน เศรษฐกิจ สังคม ชุมชน ดังนั้นในฐานะที่ตนเองทำหน้าที่ในการประชาสัมพันธ์ กลับไม่สามารถทำความเข้าใจให้ประชาชนคนไทยได้นำเอาความรู้ที่มีอยู่ใน สวทช. ที่มีอยู่อย่างมากมาย ไปใช้ประโยชน์ได้ จึงเกิดแนวคิดว่าจะทำอย่างไรที่จะที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆ ตรงนี้ได้ หลังจากนั้นจึงได้หาช่องทางในการที่จะไปศึกษาเพิ่มเติม และได้ปรึกษาผู้หลักผู้ใหญ่หลายท่าน จนกระทั่งได้รับโอกาสนั้น ซึ่งใช้เวลาอยู่นานเกือบปี หลังจากนั้นจึงได้นำแนวคิดต่างๆ ที่อยากจะศึกษาไปปรึกษากับ Advisor ที่ฝรั่งเศส และได้กลับมาปรึกษากับคุณหมอวิจารณ์ ที่ สคส. เดิมทีเดียวมีความสนใจที่จะศึกษาเรื่อง "จะวางนโยบายและแผนแม่บทชาติอย่างไรในการสร้างความตระหนักทางวิทยาศาสตร์ให้กับประชาชนทั่วไป" ค่อนข้างกว้างมาก ไม่รู้จะไปหาแนวร่วมที่ไหน จึงเริ่มติดตาม สวทช.

2.2 ปิ๊งแว้บความรู้ใหม่ เพื่อค้นหาแหล่งข้อมูลจึงได้ติดตามไปกับทีมงาน สวทช. ไปตามชุมชนต่างๆ จนกระทั่งไปเจอชุมชนในการทำผ้าย้อมคราม จึงทำให้ตนเองเปลี่ยนแนวคิดว่าจริงๆ แล้วในชุมชนมีภูมิปัญญาท้องถิ่นอยู่มากมาย จึงคิดว่าจะเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปเชื่อมชุมชนอย่างไร จึงเปลี่ยนชื่อเรื่องมาทำด้าน KM เพื่อจะได้เป็นการจัดการความรู้ให้สอดคล้องระหว่างภูมิปัญญาไทยกับ วิทยาศาสตร์ ดังนั้นในการทำ KM ต้องเน้นการ Sharing และ Networking ให้มากๆ และสุดท้ายจึงเปลี่ยนชื่อเรื่องเป็น "การสร้างความรู้ใหม่ซึ่งเกิดจากการ บูรณาการ ภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ากับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่" เพื่อจะดูว่าอะไรที่เกิดขึ้นกับชุมชน ไม่ว่าจะเป็น OTOP หรืออื่นๆ ว่าทำไมในการนำวิทยาศาสตร์เข้าไปแล้วจึงเกิดความล้มเหลว จึงได้ข้อสรุปว่า "การนำวิทยาศาสตร์สมัยใหม่เข้าไปในการพัฒนาชุมชนนั้นสำคัญที่สุดต้องให้ชุมชนนั้นเป็นผู้ริเริ่ม หรือเราจะทำอย่างไรก็ได้เพื่อที่จะเปลี่ยนกระบวนทัศน์ให้ชุมชนได้ริเริ่มที่จะมีการเปลี่ยนแปลง การนำวิทยาศาสตร์เข้าไปใช้นั้นไม่ใช่เอาความรู้ใหม่เป็นแทนที่ความรู้เดิมแต่เป็นการเอาไปใช้เพื่อบูรณาการกัน และการบูรณาการของคนที่เอาความรู้ใหม่เข้าไปต้องเข้าใจว่าภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นมีด้วยกัน สองมิติ คือมิติด้าน เทคนิค และมิติด้านโลกทัศน์ จิตวิญญาณ วิธีคิด การเคารพธรรมชาติ การเกื้อกูลกัน การช่วยเหลือกัน การการพึ่งตนเองได้" ซึ่งทั้งหมดเหล่านี้ ได้สะท้อนให้เห็นถึงแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงทั้งหมด หรือหากเป็นภาคธุรกิจ หลักธรรมาภิบาลก็จะรวมอยู่ตรงนี้เช่นกัน สิ่งต่างๆเหล่านี้เราก็สามารถนำ KM ไปใช้เป็น Model การสร้างกรอบความคิด การถอดชุดความรู้ เป็นต้น

3. อาจารย์ถิรชา วิเชียรปัญญา ซึ่งอาจารย์สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยรังสิต ปัจจุบันเป็นนักศึกษาระดับปริญญาเอกปีสุดท้าย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งอาจารย์เล่าให้ฟังว่า

3.1 แรงบันดาลใจ สำหรับแรงบันดาลใจนั้นจริงๆ แล้วตัวเนื้องานนั่นแหละที่เป็นตัวกำหนดแรงบันดาลใจ เราต้องการมุ่งจะพัฒนางานของเรา แล้วก็ดูต่อว่ามีศาสตร์อะไรบ้างที่จะมาเติมเต็มงานของเราได้ เช่น เดิมตนเองเคยทำงานสาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ แต่พอไปดูในเรื่องของการจัดการระบบสารสนเทศในเอกสารต่างๆ ก่อนเพื่อจะนำไป Review literature เสนอ Proposal ที่จุฬาฯ แล้วพอไปสืบค้นก็ไมค่อยพบการจัดการระบบสารสนเทศ (Information) ซึ่งมีแต่ Knowledge Management ตั้งแต่ปี 2543 หลังจากนั้นจึงเข้าไปสมัครสอบที่จุฬาฯ เพื่อไปค้นหาศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และค้นหาอาจารย์ที่มีความสามารถในด้าน KM เพื่อเป็น Advisorจนกระทั่งได้ไปปิ๊งท่าน รศ.ดร.อรจรีย์ เพราะอาจารย์เป็นนักฝึกอบรมชั้นเยี่ยมของเมืองไทย ตอนแรก KM ในช่วงของปี 2545 ยังไม่แพร่หลายนักส่วนมากจะเป็นการพูดคุยในเรื่องของ LO สำหรับการที่จะทำการศึกษานั้นเราต้องดูว่า วิทยานิพนธ์ของเราจะไปเติมเต็มส่วนไหนในงานของเรา และอยู่ในศาสตร์ไหน Domain ของงานคืออะไร และที่สำคัญหลังจากที่เราดำเนินการแล้วเราต้องทำความเข้าใจกับอาจารย์ที่มาร่วมเป็นกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ของเราเนื่องจากว่า อาจารย์บางท่านไม่ได้สนใจในแง่มุมเดียวกันกับเรา ซึ่งเป็นส่วนที่มีความสำคัญเช่นกัน และสิ่งหนึ่งของการทำวิทยานิพนธ์อาจจะไม่ใช่การทำผลงานที่งดงามสมบูรณ์ทั้งหมด

        จากการทำการวิจัยเรื่อง "วิทยานิพนธ์เรื่องการพัฒนาตัวบ่งชี้รวม สำหรับการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ" เป็นการวิจัยที่ดู Competitive Analysis ซึ่งจะดูจาก Factor Analysis เพื่อดูว่าปัจจัยตัวไหนที่ส่งผล สุดท้ายผลลัพธ์ที่ได้จะเป็น Model เชิงเส้นตรง แล้วดูว่าปัจจัยตัวไหนที่ส่งผลต่อการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ การพัฒนาตัวบ่งชี้รวมนี้ Concept จริงๆ ต้องทำ Factor Analysis ก่อน แล้วค่อยมาดู Variable แต่ละตัวว่าตัวใดส่งผลอย่างไร เป็นงานวิจัยที่เรียกว่า Mix Methodology ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และคุณภาพ สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพได้ข้อมูลจากสามกระบวนการ ได้แก่ Review literature ซึ่งได้ Review ทั้งของเมืองไทยและเมืองนอกกว่า 19 Model 2 ได้จาก Deep interview จาก 4 องค์กรที่ไปทำการศึกษาเพื่อดึงเอา Best Practice ออกมา 3 Focus Group โดยเอาผู้เชี่ยวชาญมา 10 ท่าน เพื่อหาตัวแปรที่สัมพันธ์ นั่นเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเขาเรียกว่า Conceptual Model ซึ่งมี Indicator อยู่ 4 กลุ่ม เรียกว่า

1) Context Indicator

2) Input Indicator

3) Process Indicator 4) Output Indicator

       จากการศึกษาเอามาจัดกลุ่ม คือ ตัวแปรของ Input คือ คนและองค์กร ตัวแปรของ Process คือการพัฒนาคนกับการพัฒนาองค์กร ตัวแปรของ Output คือ ทุนมนุษย์กับทุนองค์กร ดังนั้น Alignment ต้องมีการสอดประสานกันสำหรับตัวแปรแต่ละตัว ตัวแปรของคนได้แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ดูปัจเจกที่เป็นคุณกิจ KM Team Leader ทั้ง Input ,Process ,Output จะแบ่งเป็น 3 Level เสมอ ซึ่ง Input จะมีอยู่ 5 ตัว ประกอบด้วย

1) วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมาย

2)เป็นในเรื่องของวัฒนธรรมความเชื่อ วัฒนธรรมองค์กร

3) คือเทคโนโลยี

4) คือการสร้างแรงจูงใจ

5) คือการประเมินผล ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นตัว Input ขององค์กรที่จำเป็นจะต้องมี ถ้าเป็นในเรื่องของ Process จะต้องมี

1) กระบวนการจัดการการเปลี่ยนแปลง

2) กระบวนการสื่อสารที่เป็นกระบวนการ

3) การฝึกอบรมความรู้ที่เป็นกระบวนการสำหรับตัวบ่งชี้

 4) กระบวนการจัดกิจกรรมและการจัดการความรู้ หลังจากที่ได้กรอบแนวคิดทางทฤษฎีแล้วจึงไปสร้างแบบสอบถามเพื่อใช้งานวิจัยเชิงปริมาณเข้าไปจับอีกครั้งหนึ่ง

3.2 ปัญหาของงานวิจัยคืออะไร หลังจากที่มาอยู่ในเวทีของ สคส. แล้วได้พยายามดึงหลายหน่วยงานที่เป็นภาคีมานำเสนอ หลังจากที่นำเสนอความสำเร็จ แล้วเรานำมาวิเคราะห์เพื่อลงไปศึกษา พอไปถึงบางครั้งกลับพบว่าไม่สามารถศึกษาได้เนื่องจากเขาไม่ยอม Share และจากหลายครั้งได้ลงไปศึกษาหน่วยงานราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ ก็ไม่สามารถศึกษาได้เนื่องจากเขาบอกว่าเป็นความลับ ถึงแม้จะบอกว่าเป็นภาพรวมก็ตาม ประเด็นที่ 2) พอเราลงไปแล้วไม่มีผลสำเร็จที่เกิดขึ้นจริงให้เราเก็บ นี่จึงถือว่าเป็นปัญหาที่ทำให้ระยะเวลายืดไปเรื่อยๆ และตอนนี้ก็ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว กำลังดำเนินการจัดทำรูปเล่ม หรือหากจะสรุปผลของการศึกษาก็สามารถอธิบายได้เลยว่าปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการจัดการความรู้ประกอบด้วย

1. ผู้นำ (Leader) เนื่องจาก KM เป็นนวัตกรรมใหม่ของสังคมไทย

2. เป้าหมายต้องชัดเจน (Vision, Mission)

3. การสื่อสาร

โปรดติดตามตอนจบในวันพรุ่งนี้ครับ

ขอบคุณครับ

อุทัย   อันพิมพ์

11 ธันวาคม 2549

หมายเลขบันทึก: 66544เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2006 21:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เรียน  พี่น้องชาว GotoKnow ครับ

ต้องขอโทษด้วยนะครับ พอ Copy จาก WordPad มาวางแล้วดูไม่สวยงามเท่าไหร่ครับ

ผมพยายามปรับแล้วถึง 3 รอบครับ

อุทัย

  •        อาจารย์ อุทัย ครับ แล้วเราจะนำสิ่งเหล่านี้มาใช้กับเพื่อนๆ นักศึกษา บูรนาการศาสตร์อย่างไรบ้างครับ
  • นักศึกษาทุกคนต้องสกัดข้อมูลที่คุณอุทัยเสนอมา เป็นกรอบความคิดในการทำงานของตนเอง
  • แล้วนำกรอบไปกำหนดแผนการทำงาน
  • นำแผนการทำงานทั้งหมดเขียนเป็นเค้าโครง
  • นำเค้าโครงเสนอคณะกรรมการที่ปรึกษา
    ขอบพระคุณอาจารย์มากครับที่บันทึกมาแบ่งปัน

ดีใจจังที่ อ.สรุปประเด็นต่าง ๆ มาเป็นแนวทางที่ชัดเจนขึ้น ตัวเองได้มีโอกาสเข้าร่วมในห้อง KM Thesis ด้วยได้ประโยชน์มากเพราะทำวิทยานิพนธ์ด้านนี้อยู่ ขอบคุณที่ได้แบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท